ฟ้าทะลายโจร ขอถอนงานวิจัยเพื่อรอวิจัยซ้ำ
หลายคนตอนนี้คงสงสัยกันว่า สรุปแล้วฟ้าทะลายโจร ยังคงรักษาโควิดเพื่อลดอาการเกิดปอดอักเสบได้หรือไม่นั้น ?
จะสรุปคร่าวๆให้อ่านดังนี้ :
ด้านนายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว..ได้เผยว่านักวิจัยได้ขอถอนงานที่กำลังตีพิมพ์สมุนไพร "ฟ้าทะลายโจร" นั้นหลักฐานยังไม่พอ ต้องรอวิจัยซ้ำกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น
โดยทีมผู้วิจัย (ชาวไทย) ได้สุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ (อาร์ซีที) สรุปได้ว่าฟ้าทะลายโจรใช้รักษาโควิด19 แล้วมีผลดีลดการเกิดปอดอักเสบนั้น ได้ขอถอนนิพนธ์ต้นฉบับของตนเองที่รอตีพิมพ์กลับคืนจากคลังวารสารรอตีพิมพ์ (medRxiv) ก่อน
ด้วยเหตุผลว่ามีความผิดพลาดในการคำนวณค่านัยสำคัญของความแตกต่าง (p-value)
ส่วนค่า p-value คืออะไร คือ ตัวเลขที่บอกเราว่าผลลัพธ์ที่ออกมาแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่มที่ทดลองนั้น มีโอกาสสรุปผิดหรือไม่เกิดขึ้นจริงตามนั้นกี่เปอร์เซ็นต์
แม้ค่า p-value สรุปผลไม่แตกต่างจากยาหลอก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ฟ้าทะลายโจรจะรักษาไม่ได้
เพียงแต่ต้องทำการวิจัยซ้ำขยายกลุ่มให้ใหญ่มากขึ้น เพื่อทำวิจัยให้เพิ่มอีกนิดเดียวจะได้กระจ่างมากขึ้นนั่นเอง
ซึ่งนายแพทย์สันต์กล่าวว่า...
"มีผู้ตัดเอาบทความของผมครึ่งบรรทัดไปโพนทะนาผ่านทางหนังสือพิมพ์และสื่อต่างๆ ว่า ฟ้าทะลายโจรใช้รักษาโควิดไม่ได้ ผลเสียแล้วควรต้องเลิกใช้ไป..โน่นเลย ผู้คนก็พากันตกใจ ซึ่งเป็นการตัดบทความของผมเอาไปแค่บรรทัดเดียว"
ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ทำการวิจัยแบบย้อนหลัง 2 กลุ่มคือ
กลุ่มหนึ่งใช้ฟ้าทะลายโจร 309 คน พบว่ากลุ่มที่ได้ฟ้าทะลายโจรเป็นปอดบวม 3 คน (0.9%)
กลุ่มที่ไม่ได้ฟ้าทะลายโจร 526 คน เป็นปอดบวม 77 คน (14.64%)
ซึ่งเป็นความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในรูปของรายงานสรุป (short communication) ในวารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อีกด้านหนึ่งก็มีการทำวิจัยการใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด-19 ในรูปของการวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ (อาร์ซีที) ซึ่งถือว่าเป็นระดับหลักฐานชั้นสูงสุดของการวิจัยทางการแพทย์
โดยใช้ผู้ป่วย 57 คน สุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่ม 1 = 29 คน ให้กินฟ้าทะลายโจรมีเนื้อยาแอนโดรกราโฟไลด์ 180 มก. กินต่อกัน 5 วัน
กลุ่ม 2 = 28 คน ให้กินยาหลอก โดยใช้การเกิดปอดอักเสบ (pneumonia) เป็นตัวชี้วัด
พบว่ากลุ่มที่กินยาหลอกเกิดปอดอักเสบ 3 คน (10.7%)
แต่กลุ่มที่กินฟ้าทะลายโจรไม่เกิดปอดอักเสบเลย (0 คน)
เป็นความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.039)
ซึ่งได้ส่งไปตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติเผยแพร่นิพนธ์ต้นฉบับล่วงหน้าในเว็บไซต์งานวิจัยรอการตีพิมพ์ (medRxiv)
แต่ต่อมาคณะผู้วิจัยพบความผิดพลาดในการคำนวณค่า p-value จากที่เคยคำนวณได้ 0.039 นั้นผิดไป ซึ่งที่ถูกต้องเป็น p=0.1 จึงได้ขอถอนนิพนธ์ต้นฉบับกลับมาแก้ไขความผิดพลาดใหม่ดังกล่าว
ดังนั้นการใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโรคโควิด-19 ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้ผล ฟังให้ดีนะ
เพียงแต่ “ยังไม่มั่นใจว่ามันได้ผลจริงหรือเปล่า” ไม่เหมือนกับ “ใช้แล้วไม่ได้ผล”
แต่ฟ้าทะลายโจรมันมีความพิเศษกว่า Favipiravir ตรงที่แค่ทำวิจัยซ้ำขยายกลุ่มตัวอย่างให้ใหญ่ขึ้นอีกนิดเดียว ก็จะได้กระจ่างว่าได้ผลหรือไม่ได้ผลต่างจากยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่
ซึ่งจากทางผู้รู้สถิติคำนวณคร่าวๆถ้าพิจารณาการเป็นปอดบวมของผู้ใช้และผู้ไม่ใช้ฟ้าทะลายโจรในงานวิจัย retrospective cohort ที่ได้รายงานไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เพียงแค่ขยายกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย RCT ไปให้ได้กลุ่มละ 40 คน คือ ขยายอีกกลุ่มละ 10 คน ก็จะกระจ่างมากขึ้น
เพียงแค่ขอถอนงานวิจัยเอามาวิจัยซ้ำกับกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้นแล้วแก้ไขใหม่เพื่อให้หลักฐานมีมากเพียงพออีกนิดก็เท่านั้น