ไม่ถอนชื่อ อาจโดนคดีพรบ.คอมพิวเตอร์
จากกรณีที่รัฐบาลได้ออกมา ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นระยะเวลา 1 เดือน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ทั้งนี้ทางรัฐบาลยังได้ให้สิทธิ์ลูกจ้างของสถานประกอบการ หรือ ผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดจากไวรัส สามารถลงทะเบียนขอรับเงินเยียวยาช่วยเหลือจากรัฐบาล จำนวน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน รวมเป็นเงิน 15,000 บาท จนมีประชาชนแห่ลงสมัครขอรับเงินอย่างมากมาย
ต่อมา มีข่าวออกมาอย่างหนาหู ถึงเงื่อนไขข้อกฎหมาย ในการลงทะเบียน www.เราไม่ทิ้งกันกัน.com ในหัวข้อ “ข้อความตกลงยินยอมของผู้ที่ประสงค์จะได้รับสิทธิตามมาตรการฯ” หากฝ่าฝืนเสี่ยงโดนคดีฐาน “กรอกข้อมูลหลอกหลวง เพื่อหวังเงิน จะเข้าข่ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งมีโทษขั้นสูงจำคุก 3 ปี ปรับ 6 หมื่นบาท นอกจากนั้นจะเข้าข่ายเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ซึ่งมีโทษขั้นสูงจำคุก 6 เดือน ปรับ 1 หมื่นบาท” ทำให้ประชาชนต่างพากันเกรงกลัว ต่างออกมาสอบถามอยากจะขอยกเลิก อย่างมากมาย
และล่าสุด วันที่ 6 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา มีรายงานว่า นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ได้ออกมากล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนมากถึง 24.2 ล้านคน ซึ่งขอบคุณประชาชนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แต่เยอะมาก
ขณะนี้หลายคนแสดงความรับผิดชอบเข้าไปยกเลิกหลังทราบว่าตนเองไม่มีคุณสมบัติ หากตัวเองลงไปแล้วไม่ใช่ ไปถอนออกได้เลยครับ เพราะว่าถ้าไม่ใช่ ด้านหนึ่งเขามี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ การให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จมีโทษด้วย แล้วทำให้เกิดกระบวนการยุ่งยากที่จะต้องมาจัดการ ถ้าท่านเป็นคนลง ท่านก็เป็นคนเอาออกซะ ถ้าเอาออกไปซักเป็นล้าน ภาระงานของเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังก็จะได้ลดน้อยลง การไปช่วยเหลือเยียวยากับคนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจะได้เร็วขึ้น