การทดลองเรื่องความไม่ยุติธรรม โดยการให้อาหารลิง
เรื่อง สองมาตรฐาน แปลกใจไหมครับ ว่าทำไมเราถึงยอมรับความอยุติธรรมไม่ได้ เอาตัวอย่างการทดลองมาให้ดูครับ เรื่องของความอยุติธรรม หรือความลำเอียง ในการทดลองลิงสองตัว ถูกเลี้ยงไว้ด้วยกัน แต่ให้อาหารต่างกัน
อันหนึ่งเป็นองุ่นอร่อยๆ อีกอันหนึ่งเป็นแตงกวาจืดๆ ลองสังเกตอาการของลิงดูนะครับ ว่าเมือมันได้ของที่ไม่เหมือนกัน โดยที่ไม่มีเหตุอันสมควร ผลจะเป็นอย่างไร (ที่จริงเมื่อก่อนแสนดีเคยเห็นอันที่มันทดลองรุนแรงกว่านี้นะ เอาลิงทั้งสองตัวจับไว้ในกรงเดียวกัน แล้วมันทะเลาะกันตอนหลังด้วย) เห็นไหมครับ นี่ขนาดการ “ ได้ ” ของที่ต่างกัน
แล้วเห็นถึงความไม่ยุติธรรม ยังเป็นแบบนี้เลย แล้วยิ่งถ้าเป็นการ “ลงโทษ” ( punishment) ที่ไม่ยุติธรรม ผลมันยิ่งกว่าการได้รับมากมายนักครับ มันก่อให้เกิดความแตกแยกอย่างรุนแรงได้เลยทีเดียว นี่ขนาดเกิดกับสัตว์ ที่ไม่ได้คิดอะไรมากเท่ามนุษย์นะครับ มาดูคำว่า อคติ กันนะครับ อคติ แปลว่า ไม่ใช่ทางไป ไม่ควรไป
ในภาษาไทยหมายความถึง ความลำเอียง ความไม่ยุติธรรม ความไม่เป็นธรรม อคติเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ยังมีกิเลส เป็นที่มาของปัญหาในเรื่องของความยุติธรรม เป็นสาเหตุให้ความถูกใจอยู่เหนือความถูกต้อง พุทธศาสนาแบ่งอคติออกเป็น 4 ประเภท ตามพื้นฐานแห่งจิตใจ คือ
1. ฉันทาคติ ความละเอียงเพราะความรักใคร่ หมายถึง การทำให้เสียความยุติธรรม เพราะอ้างเอาความรักใคร่หรือความชอบพอกัน ซึ่งมักเกิดกับตนเอง ญาติพี่น้อง และคนสนิทสนม หรือเพราะมีผลประโยชน์บางอย่างที่ได้รับ ทำให้เป็นพวกเดียวกัน เวลาตัดสินใจอะไร จึงเข้าข้างไว้ก่อน
2. โทสาคติ ความละเอียงเพราะความไม่ชอบ เกลียดชัง อิจฉาริษยา หรือโกรธ
3. ภยาคติ ความลำเอียงเพราะความกลัว หมายถึง เสียความยุติธรรม เพราะมีความหวาดกลัว หรือเกรงกลัวภยันตราย อาจจะมีคนปักธงให้ทำบางอย่าง ถ้าไม่ทำแบบนี้แล้วจะมีปัญหา หรือ ระแวง กลัวว่าเขาจะไม่อยู่ในอำนาจ จึงถือว่าไม่ใช่พวกฉัน
4. โมหาคติ ความลำเอียงเพราะความไม่รู้ เช่น รู้ข้อมูลน้อย ฟังความข้างเดียว ใช้หูข้างเดียวคิด ไม่เปิดใจฟังความจากด้านตรงข้าม (หรือที่เราชอบเรียกว่า พวกอยู่ในกะลา) ทำให้เวลาตัดสินใจ ก็เอาเฉพาะข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนมาตัดสิน เลยทำให้ตัดสินใจผิด หรืออาจจะ ไม่รู้ ด้วยทิฐิมานะและสติปัญญา
เพราะเมื่อคนคิดด้วยทิฐิแทนเหตุผลที่ถูกต้อง ทำให้ลำเอียงได้ นี่คือที่มาของ 2 มาตรฐาน หรือสำหรับคนที่เอียงบ่อยๆ จะเรียกว่าไร้มาตรฐานก็ได้นะครับ เอียงจนไม่รู้ตัวว่าเอียง หรือจะทำอย่างนี้ซะอย่าง ใครจะทำไม ก็ฉันพวกคนดีออก มีอำนาจซะอย่าง ซึ่งโดยหลักๆก็แบ่งได้เป็น 2 อย่าง คือ พวกฉัน และ ไม่ใช่พวกฉัน ถ้าคนลำเอียง ที่มีคุณธรรมน้อย ใจหยาบ และมีอำนาจ ก็จะพยายามทำลายที่ไม่ใช่พวกฉัน ด้วยการหาเรื่องทุกอย่าง เล็กน้อยแค่ไหนก็จะทำให้ผิดให้ได้
เช่นพระบางรูปแถววัดอ้อใหญ่ ก็ฟ้องมันเข้าไป เอะอะอะไรฟ้อง เพราะแบคดี ไม่กลัวอะไร บางคนก็อ้างกฎหมายมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการกำจัดฝ่ายตรงข้าม แม้เล็กน้อยแค่ไหนก็เอาผิดได้ เช่น ลวดหนามที่มีขายทั่วไปก็หาว่าเป็นยุทธภัณฑ์ได้ รับบริจาคก็หาว่ารับของโจร หาว่ายักยอกทรัพย์ ฯลฯ
เช่นเดียวกันครับ ถ้าเป็นพวกเดียวกัน ก็ต่อให้ผิดแค่ไหน ก็จะพยายามช่วยให้ไม่ผิด ทั้งกล้องเสีย กล้องดัมมี่ เซิฟเวอร์พัง เอกสารจมน้ำ รอยผูกคอที่ไม่ใช่ถุงเท้าก็จะให้เป็นถุงเท้าให้ได้ หรือ แม้แต่บางคนต้องโทษเป็นกบฏซึ่งมีโทษประหาร ก็ทำเป็นดองเรื่องเอาไว้ นานๆ จนคนลืม หรือหมดอายุความ แต่ถ้าเป็นฝ่ายตรงข้ามก็ตามจิกตลอด ทุกอย่างเป็นคดีด่วนพิเศษ หรือบางคนบอกว่าอีกฝ่ายไปรับข้อกล่าวหาอย่างกล้าหาญ ก็แน่นอนสิครับ จะต้องไปกลัวอะไร ก็เพราะพวกฉันซะอย่าง รับข้อกล่าวหาก็เหมือนไปรับพัสดุแค่นั้นแหละ หรือถ้าผู้มีอำนาจกลัวว่าจะลำเอียงน่าเกลียดเกินไป
ก็จะให้รับโทษบ้างเล็กๆน้อยๆ ให้คนเห็นว่า นี่ไง ลงโทษแล้ว ฉันไม่ลำเอียงนะ แต่ก็ลงโทษแบบขำๆ สบายๆ เช่นโทษกบฏแต่เอาแค่เรื่องโทษทำสนามหญ้าเสียหาย ให้ชดใช้นิดหน่อย 555 ง่ายๆคือ ผู้มีอำนาจใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกำจัดฝ่ายตรงข้าม และกำจัดอย่างถูกกฎหมายเสียด้วย เพราะ “ เนียน” เนื่องจากกฎหมายและสื่อ อยู่ในมือพวกตัวเอง จะทำอะไรก็แค่อ้างกฎหมาย ยิ่งถ้าเป็นพระ ยิ่งลำบากเลยนะครับ เพราะแค่ข้อกล่าวหา ก็สามารถจับสึกโดยอ้างว่าเพื่อสอบสวนได้แล้ว
ดูเรื่องจับสึกโมเดลเพิ่มเติมนะครับ http://goo.gl/tYQwwP โดยปกติคนเราชอบความความยุติธรรม และเกลียดความลำเอียง วิธีแก้อคติ ง่ายนิดเดียวครับ คือให้ลองคิดว่า ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์เดียวกับเขา แล้วอีกฝ่ายเป็นผู้มีอำนาจ เราจะทำอย่างไร จะรู้สึกอย่างไร จะชอบไหม ง่ายๆคือ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ถ้าทุกคนรู้สึกว่า ไม่ยุติธรรม เลือกปฏิบัติ ตุกติก รับรองครับ ไม่มีทางปรองดองได้หรอกครับ และผู้ทำก็จะมีวิบากกรรมด้วย ซึ่งก็ต้องโดนคืนกลับแน่สักวันหนึ่ง เพราะกฎแห่งกรรม มันยุติธรรมกว่าไงครับ