“สะพานน้ำ” แห่งเดียวในประเทศไทย พร้อมเหตุผลที่สร้างสะพานแห่งนี้ ? (ชมคลิป)
เป็นสะพานแห่งแรกของไทย “สะพานระบายน้ำ” เป็นสะพานน้ำที่มีแห่งเดียวในประเทศไทยเลยก็ว่าได้
พาไปชมภาพสพานแห่งนี้กันครับ ส่วนที่ตั้งของสะพานแห่งนี้ก็ตั้งอยู่ที่ จังหวัดสมุทรปราการ เส้นสุขุมวิทสายเก่า ผ่านเมืองโบราณ ไปทาง อ.คลองด่าน
ซึ่งสะพานนี้เป็นโครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคลองระบายน้ำสายหลักของพื้นที่บริเวณโดยรอบสนามบิน
โดยการเร่งระบายน้ำจากคลองสำโรงไปยังชายทะเล และสูบระบายออกสู่ทะเลโดยตรง ทำให้สามารถลดสภาวะน้ำท่วมและความเสียหายจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิผล
ซึ่งสะพานนี้ ออกแบบให้สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 100 ลบ.ม./วินาที มีงบประมาณในการก่อสร้าง 10,465.089 ล้านบาท
เพื่อเป็นคลองระบายน้ำสายหลักของพื้นที่บริเวณโดยรอบสนามบิน โดยการเร่งระบายน้ำจากคลองสำโรงไปยังชายทะเล
และสูบระบายออกสู่ทะเลโดยตรง ทำให้สามารถลดสภาวะน้ำท่วมและความเสียหายจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิผล
เพื่อสามารถติดตามสภาพน้ำหลากและการทำงานของเครื่องสูบน้ำในการบริหารจัดการ น้ำหลากทั้งระบบลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง
เพื่อเป็นถนนเชื่อมโยงถนนสุขุมวิท-เทพารักษ์ และถนนบางนา-ตราด
ทำให้สามารถช่วยลดปัญหาการจราจรของจังหวัดสมุทรปราการซึ่งปัจจุบันมีปัญหา ค่อนข้างมาก และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อสนามบินสุวรรณภูมิเปิดดำเนิน
เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้บางส่วนสำหรับทำการเกษตรหรือกิจกรรมอื่นในบริเวณใกล้เคียง
เพื่อช่วยเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและระบบนิเวศของจังหวัดสมุทรปราการ
เป็นสพานแห่งแรกและเดียวของประเทศไทย ที่สร้างขึ้นเพื่อระบายน้ำระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ
อาคารสะพานน้ำยกระดับและอาคารทิ้งน้ำรูปตัดตัวยู ท้องคลองกว้าง 25.0 ม. สูง 3.15 ม. ยกสูง 5.0 ม. ข้ามคลองชายทะเลและถนนสุขุมวิท
หากจะไปดูจุดที่น้ำลงสู่ทะเล ต้องข้ามถนนสุขุมวิท ไปอีกฟากหนึ่ง
ความเชี่ยวกรากของสายน้ำที่ปล่อยจากสะพานน้ำยกระดับ เมื่อมองจากจุดปลายน้ำ
กระแสน้ำไหลผ่านทางระบายน้ำที่ค่อนข้างกว้าง ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายที่น้ำไหลลงทะเล
บริเวณปลายน้ำ มีคนทอดแห่จับปลาด้วย
สะพานข้ามคลองชายทะเล สะพานข้ามคลองสำโรง
ระบบโทรมาตรอุทกวิทยา สถานีหลัก จำนวน 1 สถานี สถานีหลักรอง จำนวน 1 สถานี สถานีสนามที่ใช้ระบบ
Fiber Optic จำนวน 23 สถานี สถานีสนามที่ใช้ระบบวิทยุสื่อสาร จำนวน 12 สถานี สถานีสนามที่ใช้ระบบ GPRS จำนวน 14 สถานี
ชมคลิป