หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
News บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ฟังเพลง “สรรเสริญพระบารมี” ฉบับบันทึกเสียงครั้งแรกในโลก !!!!

โพสท์โดย 7years

         โฉมหน้านักดนตรี "คณะนายบุศย์มหินทร์" ที่ร่วมบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีในการบันทึกเสียงครั้งแรกของโลก ที่ประเทศเยอรมัน

         จากกรณีที่มีการเชิญชวนพสกนิกรชาวไทย ร่วมร้องเพลง "สรรเสริญพระบารมี" เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันเสาร์นี้ 22 ตุลาคม 2559 เวลา 13.00 น. ณ บริเวณถนนหน้าพระลาน กำแพงพระบรมมหาราชวัง โดยจะมีการบันทึกภาพแห่งประวัติศาสตร์จาก "ท่านมุ้ย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล" เพื่อนำไปฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศและสถานีโทรทัศน์ทุกช่องของประเทศ

การบันทึกเสียง "เพลงสรรเสริญพระบารมี" ที่มีการจัดทำขึ้นครั้งแรกในโลก เมื่อปี พ.ศ. 2443 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ซึ่งการบันทึกเสียงในครั้งนั้นเป็นการบันทึกบนกระบอกเสียงของเอดิสันชนิดไขขี้ผึ้งสีน้ำตาลอ่อนหรือที่เรียกว่า Edison brown blank wax cylinder โดยเสียงดนตรีบรรเลงจากคณะนายบุศย์มหินทร์ (Boosra Mahin) หรือเจ้าหมื่นไววรนาถ และบันทึกเสียงโดย ด๊อกเตอร์ คาร์ล สตุ๊ฟ (Dr. Carl Stumpf) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการศึกษาเรื่องของเสียงและการบันทึกเสียงในประเทศเยอรมนี

Dr. Carl Stumpf ผู้บันทึกเสียง

รหัสกระบอกเสียงที่ถูกบันทึกเสียง

ใบประกาศประชาสัมพันธ์สถานที่บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี


สำหรับประวัติความเป็นมาของเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้น ในเว็บไซต์วิกิพีเดียได้ให้รายละเอียดว่า...เพลงสรรเสริญพระบารมี มีเค้าโครงว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเพลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่ก่อนแล้ว ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จฯลงท้องพระโรงและเสด็จฯขึ้น มีชื่อเรียกว่า “สรรเสริญนารายณ์” แต่ในบ้างแหล่งระบุชื่อเพลงว่า “เสด็จออกขุนนาง”

       
           แต่เพลงสรรเสริญพระบารมีในฐานะเพลงชาตินั้น เริ่มปรากฏในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยมีการใช้เพลง ก็อดเซฟเดอะคิง ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี และเพลงชาติของอังกฤษ บรรเลงเป็นเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ ตามแบบอย่างการฝึกทหารของอังกฤษ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ใช้ทำนองเพลงนี้แต่งคำร้องสรรเสริญพระบารมีถวายโดยให้ชื่อว่า “จอมราชจงเจริญ”
       
           จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเกาะชวาในปี พ.ศ. 2414 ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สิงคโปร์นั้น ทหารอังกฤษได้ใช้เพลง “ก็อดเซฟเดอะคิง” บรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จฯ ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าทั้งอังกฤษและไทยต่างใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงเดียวกัน ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองปัตตาเวีย ชาวฮอลันดาที่ตั้งอาณานิคมที่นั้น ได้ถามถึงเพลงประจำชาติของไทย เพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จฯ พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทย ให้แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จฯเพื่อใช้แทนเพลง “ก็อดเซฟเดอะคิง”
       
           ตอนนั้น คณะครูดนตรีไทยจึงได้เสนอเพลงบุหลันลอยเลื่อน (หรือเพลงทรงพระสุบิน) ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายเฮวุดเซน (Heutsen) ครูดนตรีในกรมทหารมหาดเล็กชาวฮอลันดา เรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ให้เป็นทางดนตรีตะวันตก และได้ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414 [6] (ดร. สุกรี เจริญสุข ได้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพลงเดียวกันกับเพลงสรรเสริญเสือป่า ซึ่งใช้เป็นเพลงเกียรติยศของเสือป่าในสมัยรัชกาลที่ ๖
       
           ต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนมาใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับของพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางคกูร หรือ ครูมีแขก) ครูดนตรีคนสำคัญ ที่ได้ประดิษฐ์ทำนองขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อราว พ.ศ. 2416 ภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชภิเษกครั้งที่ 2 ได้ไม่นาน ซึ่งได้เค้าทำนองมาจากเพลงสรรเสริญนารายณ์ของเก่า และได้เรียบเรียบเสียงประสานสำหรับดนตรีตะวันตกโดยปโยตร์ ชูรอฟสกี (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2431 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบและได้ออกบรรเลงครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการในปีเดียวกัน ต่อมาทรงนิพนธ์เนื้อร้องของเพลงนี้อีกหลายเนื้อร้องเพื่อขับร้องในกลุ่มต่าง ๆ กัน เช่น ทหาร นักเรียนชาย นักเรียนหญิง เป็นต้น แต่มีเนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกสำนวนหนึ่งที่เป็นพระนิพนธ์ในพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สำนวนนี้เป็นสำนวนสำหรับทหารเรือขับร้องโดยเฉพาะ
       
           เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันนั้น เดิมทีเป็นเนื้อร้องที่พระองค์ได้นิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้ายว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
       
           ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เพลงสรรเสริญพระบารมีไม่ได้ใช้ในฐานะเพลงชาติอีกต่อไป แต่ยังคงใช้ในฐานะของเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ มีอยู่ช่วงหนึ่งมีการตัดทอนเพลงนี้ให้สั้นลง แต่ได้ยกเลิกการใช้แล้ว โดยบทร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์แก้ไขเมื่อ พ.ศ. 2456

 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
7years's profile


โพสท์โดย: 7years
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
28 VOTES (4/5 จาก 7 คน)
VOTED: ตาตั้มเกเร, cutiebarbie, 7years
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท โอนซ้ำ 3 รอบ แจกรอบแรก ต.ค. นี้‘ดิไอคอนกรุ๊ป’ แจง ‘แซม-กันต์-มิน’ เป็นผู้ช่วยการตลาด ‘โดม-บอย’ แค่พรีเซนเตอร์หนุ่มญี่ปุ่นเมียสี่! ตั้งเป้ามีลูก 54 คน!โหนกระแสธุรกิจดัง "บอส" เบี้ยว! อดีตแม่ข่ายลุกขึ้นสู้ แต่ชาวเน็ตกลับสนใจ...อย่างอื่น?ถึงฆาต! งูเหลือมยักษ์ 4 เมตร บุกกินไก่อิ่มแปล้ ถูกฝูงหมารุมขยำดับฟอร์ด แพรรี่ เปิดใจครั้งแรกหลังยุติความสัมพันธ์ เผยเหตุผลการเลิกราคนแห่สงสัย ไม่เคยเห็นคนแต่งชุดข้าราชการ ขึ้นรถเมล์-รถไฟฟ้า ผู้รู้เฉลยความลับรถบรรทุกทรานส์ฟอร์เมอร์ รถจัดงานเลี้ยงเคลื่อนที่ในจีนความแตกต่างของ ขายตรง กับ แชร์ลูกโซ่เป็นอย่างไร?นุสฟยอร์ด (Nusfjord): หมู่บ้านเก่าแก่ที่มีวิวสุดปังบนเกาะโลโฟเทนพายุเฮอริเคนถล่มมะกัน นายกเทศมนตรีเตือน "ไม่อพยพ ตายแน่"เบื้องหลังภาพวาดชื่อว่า "ปัญหาที่เราทุกคนต้องเผชิญ" การเหยียดสีผิวใน รร.
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
‘ดิไอคอนกรุ๊ป’ แจง ‘แซม-กันต์-มิน’ เป็นผู้ช่วยการตลาด ‘โดม-บอย’ แค่พรีเซนเตอร์คนแห่สงสัย ไม่เคยเห็นคนแต่งชุดข้าราชการ ขึ้นรถเมล์-รถไฟฟ้า ผู้รู้เฉลยความลับฟอร์ด แพรรี่ เปิดใจครั้งแรกหลังยุติความสัมพันธ์ เผยเหตุผลการเลิกราเลขเด็ด เลขมาเเรง เลขดัง "รวมหวยเด็ดสำนักดัง vol.14" งวดวันที่ 16 ตุลาคม 2567
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
ข่าวฉาว กรรมการสาว กับ อดีตฟีฟ่า อายุห่าง 37 ปี มีเพศสัมพันธ์กันไม่ได้จบหมอ? บอสหมอเอก ตรวจไม่เจอชื่อในระบบ แพทยสภา‘ดิไอคอนกรุ๊ป’ แจง ‘แซม-กันต์-มิน’ เป็นผู้ช่วยการตลาด ‘โดม-บอย’ แค่พรีเซนเตอร์‘พิธา’ ป้อง ‘อิ๊งค์’ อ่านไอแพด พูดผิดเป็นเรื่องธรรมดา เนื้อหาสำคัญกว่า
ตั้งกระทู้ใหม่