"อังกฤษทำลายพม่าอย่างไร? สมัยอาณานิคม"
Jeerachart Jongsomchai / ก่อนที่จะเกิดสงครามกับพม่าครั้งที่ 3 ในปี 1885 นั้น "อังกฤษ" ก็ต่อยชก "พม่า" ให้ช้ำไปเรื่อยๆ กัดให้กร่อนไปเรื่อยๆ ทีละนิด เช่นการดึงคนพม่าโดยเฉพาะเชื้อชาติอื่น เผ่าต่างๆมาเป็นคนใต้อาณัติตัวเอง และเปลี่ยนศาสนามาเป็นคริสต์ ปล่อยข่าวลือข่าวเท็จต่างๆนานาให้ร้ายราชวงศ์พม่า ( ที่การออกข่าวลวงที่ดีที่สุด ต้องมีความจริงผสมอยู่ด้วย ที่เหลือ 80-90% เป็นข่าวเท็จ ) เช่นมีการปล่อยข่าวลือจากอังกฤษว่า พระเจ้าสีป่อ กษัตริย์องค์สุดท้ายนั้น ติดน้ำจันท์ (สุรา) อย่างหนัก ทั้งๆที่พระองค์เป็นพุทธมามกะที่เคร่งครัดและไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย เพื่อทำให้คนพม่าแยกตัวออกจากสถาบันที่เขาอิงอยู่
หลังจากเนรเทศกษัตริย์พม่าพระเจ้าสีป่อและนางศุภยลัตออกจากประเทศไปอยู่ที่อินเดียได้แล้ว "อังกฤษ" ก็ได้เริ่มทำลายรากเหง้าอำนาจที่เหลือของพม่าทันที โกดยการเปลี่ยนโครงสร้างหลายอย่าง
อำนาจที่หนึ่งคือ "สถาบันกษัตริย์" นั้นหลุดไปอยู่อินเดียแล้ว คราวนี้เป็น "สถาบันศาสนา" ก่อนอังกฤษมานั้นการศึกษาของพม่าคล้ายของไทย คือวัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และ "พระ" ก็ยังมีบทบาททางการเมืองด้วยเช่น พระดีๆดังก็เป็นหัวหน้าทางการเมืองได้อย่างดีด้วย และอังกฤษต้องการทำลาย โดยการสนับสนุนให้มิชชันนารีเข้ามาสร้างโรงเรียน และสร้างการศึกษาที่แยกออกจากวัฒนธรรมพม่าและศาสนาพุทธ และ เปิดการเรียนการสอนที่ไม่เกี่ยวกับพุทธแต่บางที่ก็เกี่ยวกับศาสนาคริสต์ที่ค่อยๆซึมเข้ามาแทนอย่างช้าๆแนียนๆ
หลังจากแยกคนพม่าออกจากศาสนา คนก็ไร้ราก ไร้ความดีไร้ศีลธรรม ไร้ศรัทธาแล้ว ไม่มีศีลธรรมมาควบคุม ( ที่ปัจจุบันนี้เขาก็ยังทำอยู่อย่างเนียนๆ เช่นให้เงินหนุนนักการเมืองในประเทศย่านนี้ ยกเลิกและถอดการเรียนการสอนวิชา หน้าที่พลเมือง วิชาศีลธรรม วิชาประวัติศาสตร์ ออกไป ทำให้เด็กรุ่นนี้ไร้ราก นึกว่าตัวเองและบ้านเมืองเกิดมาจาดหน่อไม้ หรือว่าซื้อได้มาจากเซเว่นอีเลเว่น แต่ประเทศเขาเองมีการเรียนประวัติศาสตร์อย่างละเอียด ) ก็เข้ามาเรื่อง "การบ้านการเมืองราชการ" คนอินเดียคน แองโกลเบอมิส ( หรือลูกครึ่งยุโรปและพม่า ) คนกะเหรี่ยงและเผ่าต่างๆ จะได้เข้ามาเป็นข้าราชการของหน่วยงานใหม่ที่อังกฤษสร้างขึ้นเลย ทำให้คนหลายเผ่าเติบโตและคานอำนาจกันเอง แต่คนพม่าน้อยมาก
อังกฤษแบ่งแยกแคว้น เป็นส่วนต่างๆตามชนกลุ่มน้อยส่วนใหญ่นั้นๆ เช่นรัฐยะไข่ ที่มีคนเชื้อสายผสมอินเดียมานานเป็นพันปีก็รัฐหนึ่ง รัฐฉานก็ของไทยใหญ่ รัฐของคะถิ่น รัฐกะเหรี่ยงเป็นต้น ทำให้เกิดการแยกกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งคนเผ่าต่างๆก็ชอบใจ จะได้เป็นอิสระและเอกราชจากคนพม่ากลุ่มใหญ่เสียที อังกฤษก็หลอกใช้ตรงนี้ ได้ประโยชน์ทั้งคู่
"ด้านการทหาร" อังกฤษไม่เอาคนพม่ามาเป็นทหาร แต่ให้คนเชื้อสายแขกเช่น อินเดีย เป็นส่วนใหญ่เป็นทหาร หรือกะเหรี่ยง คอยตรวจจับดูแลคนพม่าเจ้าของดินแดนเสียเอง ที่สร้างความไม่พอใจให้คนพม่ามีต่อคนเชื้อสายอินเดียและแขกในเวลาต่อมา
"ด้านการค้าเศรษฐกิจ" หลังจากที่ขุดคลองสุเอซในปี 1869 นั้นมีการขนส่งสินค้าไปยุโรปผ่านเส้นทางนี้ สั้นง่ายสะดวกประหยัดไม่ต้องอ้อมอาฟริกา ทำให้การค้าในยุโรปของประเทศเจ้าอาณานิคมเติบโตมาก ทำให้ "อังกฤษ" พยายามเร่งการค้าข้าวในพม่า ทั้งในแง่การขยายพื้นที่ปลูกข้าว อังกฤษได้ให้สิทธิ์ "คนอินเดีย" เป็นผู้ออกเงินกู้ราคาแพงให้คนพม่าท้องถิ่นไปกู้มาลงทุนทำการค้า ปลูกข้าว แล้วเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูง จนเมื่อเกิดวิกฤติภัยธรรมชาติ ที่ดินของชาวนาเหล่านั้นก็เป็นของคนอินเดีย ที่มีอังกฤษชักใยอยู่เบื้องหลังเกือบหมด
เมื่ออังกฤษมาถึง เศรษฐกิจของพม่าถูกบีบคั้นด้วยเศรษฐกิจโลกและกลายเป็นส่วนหนึ่งของการส่งออกของอาณานิคม มีการส่งเสริมให้ปลูกข้าวในที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี เนื่องจากขณะนั้น ข้าวเป็นที่ต้องการของยุโรป และมีการอพยพผู้คนจากที่สูงลงมายังที่ลุ่มเพื่อปลูกข้าว ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจของประชากร
หลังจากมีการเปิดคลองสุเอซ ความต้องการข้าวจากพม่าเพิ่มมากขึ้น มีการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น ในการเตรียมที่ดินเพื่อการปลูกข้าว ชาวนาพม่ามักจะยืมเงินจากพ่อค้าอินเดียในอัตราดอกเบี้ยที่สูง เกิดการขูดรีด มีการนำแรงงานชาวอินเดียเข้ามาเป็นปัจจัยการผลิตเนื่องจากได้ค่าแรงต่ำ และได้เข้ามาแทนที่ชาวนาพม่า
"อังกฤษ" ฉลาดในการลดแรงกดดันจาก "จีน" ที่เมื่อก่อน "พม่า" ต้องส่งบรรณาการไปให้จีน เมื่ออังกฤษมาถึงและปกครองพม่า อังกฤษก็ยังคงส่งบรรณาการนี้อยู่ในนามพม่า เพื่อไม่อยากสร้างศัตรูเพิ่มทำศึกหลายหน้า คนพม่าในตอนนั้นต้องหลบไปอยู่ทางเหนือโดยตั้งเป็นกองโจรติดอาวุธปล้นสะดมกินไปวันๆ ในชื่อที่ว่า 'dacoity' ( armed robbery หรือโจรติดอาวุธ ).
แม้การค้าข้าว ไม้สัก แร่ธาตุ ของพม่าจะเจริญเติบโตมากแค่ไหน แต่คนพม่าเอง ไม่มีส่วนได้ผลประโยชน์ในครั้งนี้เลย มีแต่เจ้านายใหญ่ชาวอังกฤษ ลูกครึ้งแองโกลเบอร์มิส และลูกน้องคนสนิทอย่างอินเดียที่กอบโกยผลประโยชน์จากการค้านี้ไป ทำให้คนพม่าเกลียดชังคนอังกฤษ คนอินเดียและเชื้อสายแขกมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็มีคนเชื้อสายแขกอพยพเข้ามาในพม่ามากขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน ตามนโยบาย "กลืนชาติ" ของอังกฤษ และยังเป็นการคานอำนาจของทั้งสองเชื้อชาติเองด้วย
ซึ่งนับจากนั้นมาพัฒนาการทางวัฒนธรรมและศาสนาของพม่าก็ถูกตัดขาดและทำลายตลอดมา ที่ต่างจากอังกฤษและพวกพ้องก็ได้กอบโกยเอาความมั่งคั่งจากดินแดนพม่า และ คนพม่า ไปมากมาย โดยที่เจ้าของดินแดนไม่ได้อะไรเลย
และบทสรุปจะเห็นว่า "การทำลายแบบซอฟท์พาวเวอร์" ( การทำลายที่ไม่ใช่อาวุธทางการทหาร ) หรือ "การทำลายวัฒนธรรม ศาสนา ศีลธรรม ประเพณี" ต่างๆนั้นเป็นอีกวิธีหนึ่ง พอสิ่งเหล่านั้นหายไป คนพม่าก็ไม่เห็นคุณค่า ไปเปลี่ยนศาสนาตามอังกฤษ หรืออินเดีย ทำให้ความเข้มแข็งของผู้คนก็ต่ำลง เพราะศรัทธาความเชื่อมั่นภายในใจต่ำลงเพราะถูกทำลาย โดยระบบใครมือยาวสาวได้สาวเอาแบบทุนนิยมสุดโต่ง
ทำให้นึกถึงบ้านเรา ที่ถอดวิชา "ประวัติศาสตร์" ( แบบที่โจชัง หว่อง ฮ่องกง ถูกล้างสมองให้ถอดวิชาศีลธรรมออกจากโรงเรียนมัธยม ) วิชา "ศีลธรรม หน้าที่พลเมือง" หายไป สิ่งเหล่านี้เองที่มีผลทำให้เด็กรุ่นใหม่ของไทย เป็น "คนไร้ราก" เป็นเด็กที่คิดว่าตัวเองเกิดจากกระบอกไม้ไผ่ จากเซเว่นอีเลเว่น เกิดจากห้างสรรพสินค้า ไม่มีความเข้าใจในที่มาที่ไปของบ้านเมือง ประเทศ ชุมชนของตน หรือแม้แต่ไม่สนใจที่มาของครอบครัวตนเอง พ่อแม่มาเจอกันได้อย่างไร ลำบากแค่ไหน ( และพ่อแม่หลายคนก็ไม่สนใจที่จะเล่าให้เด็กเกิดความกตัญญู ให้ลูกเรียนและเล่นเกมอย่างเดียว )
คนในอดีตเคยบอกว่า "การเจริญเติบโตที่แท้จริงนั้น ขณะที่ใบอ่อนของต้นไม้ดีดตัวแผ่กิ่งก้านออกสู่อากาศเบื้องบนนั้น รากต่างๆในเบื้องล่างก็ต้องแทงลงลึกไปในดินดำที่รองรับต้นไม้ อย่างแตกแขนงกว้างและลึกด้วยเช่นกัน"
เพราะ "ถ้าคนไร้ราก" รากไม่แทงลึกลงดิน ยิ่งต้นไม้โตขึ้นสูงมากเท่าไร่ ยิ่งง่ายต่อการโค่นล้มมากเท่านั้น
.