ชาวนาอินเดียเลิกปลูกข้าว GMO หันมาปลูกข้าวออร์แกนิกได้มากและยั่งยืนไม่ต้องมีหนี้สินรุงรังถึงฆ่าตัวตาย 30 นาทีต่อคน
สุมันต์ กุมาร ชาวนาอินเดียแห่งรัฐพิหาร ปลูกข้าวออร์แกนิกได้ 22.4 ตันต่อ 6.17 ไร่
อินเดียปฏิวัติการปลูกข้าวออร์แกนิกพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องปลูกข้าวแปลงพันธุกรรม(GMO)เลี้ยงผู้คน เผยระบบการปลูกยังจะช่วยไม่ให้ชาวนาเป็นหนี้ ในปี 2009 พบว่าชาวนาอินเดียฆ่าตัวตาย 30 นาทีต่อคนหลังจากเป็นหนี้บริษัทปุ๋ยและซื้อเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอ
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2016 วิทนีย์ เว็บบ์ (Whitney Webb) เขียนไว้ใน hwaairfan.wordpress ว่าชาวนายากจนอินเดียปลูกข้าวออร์แกนิก
สามารถเพิ่มปริมาณได้มากกว่าการปลูกข้าวแปลงพันธุกรรมหรือ GMO (genetically modified food) เป็นการพิสูจน์อีกว่าไม่จำเป็นที่โลกนี้ต้องปลูกข้าวแปลงพันธุกรรมเพื่อเลี้ยงประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น
ในปี 2050 มีการประเมินว่าประชากรของโลกจะเพิ่มเป็น 9.6 พันล้านคน จากปัจจุบันประมาณกว่า 6 พันล้านคน ดังนั้นบริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพและบริษัทเกษตรเคมี(agrochemical)ระบุว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปลูกพืชจีเอ็มโอเพื่อตอบรับประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามมีคำถามว่าเรามีความจำเป็นด้วยหรือที่จะปลูกพืชจีเอ็มโลกเลี้ยงพลโลก ?
เมื่อตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์แล้วคำตอบก็คือไม่จำเป็น เพราะพืชจีเอ็มโอไม่ได้เพิ่มผลผลิต อีกทั้งบ่อยครั้งเข้าไปทำลายพืชที่ปลูกใกล้เคียงซึ่งไม่ใช่พืชจีเอ็มโอ และยังจะทำให้ผลผลิตของพืชเหล่านี้ลดลงอีกด้วย
แม้กระทั่งกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) โดยทั่วไปมีผลประโยชน์ร่วมกับบริษัทเกษตรเคมียังยอมรับว่าพืชจีเอ็มโอที่ปลูกมา 15 ปีไม่ได้ผลผลิตเพิ่ม ( อ่านที่ http://www.reuters.com/article/usda-gmo-report-idUSL1N0LT16M20140224 ) อีกทั้งไม่ได้นำพืชเหล่านี้ไปเลี้ยงคนผู้หิวโหยแต่อย่างใด
ในสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ผลิตพืชจีเอ็มโอมากที่สุดในโลกพบว่า 40 % ของข้าวโพดที่ปลูกได้ส่งไปผลิตน้ำมันเอทานอล,และถั่วเหลืองจีเอ็มโอที่ปลูกได้นำไปเป็นอาหารสัตว์
อาจมีผู้ถกเถียงว่าการเลี้ยงสัตว์ด้วยพืชจีเอ็มโอจะเพิ่มการผลิตเนื้อสัตว์ให้ได้มากขึ้นและราคาถูกลง แต่ในความเป็นจริงการผลิตเนื้อสัตว์ในปัจจุบันกลับไม่ยั่งยืนและยังทำลายสภาพแวดล้อมอีกด้วย นอกจากนี้เนื้อสัตว์ที่ถูกเลี้ยงโดยอาหารจากพืชจีเอ็มโอนั้นมีคุณภาพต่ำและคุณภาพไม่สมบูรณ์
ตัวอย่างอินเดียปลูกพืชออร์แกนิกได้ผลดีกว่าจีเอ็มโอ
ข้อเขียนระบุว่า หลักฐานล่าสุดที่ข้าวจีเอ็มโอไม่มีประสิทธิภาพมีตัวอย่างจากพื้นที่ยากจนที่สุดในอินเดีย ที่รัฐพิหาร เกษตรกรอินเดียสามารถทำลายสถิติการปลูกข้าวโดยไม่ต้องใช้เกษตรเคมีหรือจีเอ็มโอ
ในปี 2013 นายสุมันต์ กุมาร(Sumant Kumar)และครอบครัวปลูกข้าวอินทรีย์หรือข้าวออร์แกนนิกได้ 22.4 ตันข้าวเปลือกต่อ 1 เฮกต้าร์หรือประมาณ 6.17 ไร่ ( 1 เฮกต้าร์หรือฮาเท่ากับ 2.47 เอเคอร์คูณ 2.5 เพราะ 1 เอเคอร์เท่ากับ 2.5 ไร่) หรือได้ผลผลิตมากกว่าการปลูกพืชจีเอ็มโอและยังต้องเสียเงินค่ายาฆ่าแมลงราคาแพงอีกด้วย
ข้าวเป็นอาหารหลักของคนค่อนโลก นายกุมารไม่ใช่เพียงคนเดียวหรือครอบครัวเดียวเท่านั้นที่ปลูกข้าวออร์แกนิกได้มาก ส่วนครอบครัวอื่นในชุมชนก็ปลูกได้มากเช่นกันตกประมาณกว่า 17 ตันข้าวเปลือกต่อเฮกตาร์
การปลูกข้าวออร์แกนิกด้วยวิธีใหม่นี้รู้จักกันในนามระบบการปลูกข้าวที่ทำให้หนาแน่นมากขึ้น( System of Rice Intensification =SRI) วิธีการปลูกข้าวแบบนาดำโดยทั่วไปที่นาจะต้องมีน้ำขัง แต่ระบบ SRI จะปลูกต้นกล้าข้าวให้ห่างกันเป็นตารางอย่างมีระเบียบ โดยที่น่าไม่ต้องใช้น้ำขังแต่จะเป็นดินชุ่มชื้น โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดินอีกทั้งการปราบวัชพืชก็ทำตามปกติไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงที่มีเคมี
เทคนิคการปลูกเช่นนี้จะชวยให้เกษตรกรสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่บางครั้งก็เอาแน่ไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งก็คือชาวนาไม่ต้องหันไปใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงที่ทำจากเคมี
รายงานข่าวเปิดเผยว่าก่อนที่จะหันมาปลูกข้าวออร์แกนิกนั้นชาวนาอินเดียก็ได้รับการเสนอให้ปลูกข้าวจีเอ็มโอมาตั้งแต่ปี 2002 ทำให้ชาวนาอินเดียต้องพบกับหนี้สินรุงรังเพราะใช้เมล็ดพันธุ์จีเอ็มโออีกทั้งต้องซื้อยาฆ่าแมลงราคาแพง ทำให้ชาวนาหลายรายต้องฆ่าตัวตาย
ในปี 2009 ชาวนาอินเดียเป็นหนี้สินจำนวนมาก จากตัวเลขพบว่ามีการฆ่าตัวตายเพื่อหนีหนี้สินและความทุกข์ยาก 30 นาทีต่อราย
กล่าวโดยสรุปการหันมาปลูกข้าวแบบออร์แกนิกอย่างถูกวิธีนอกจากจะทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้นแล้ว ชาวนายังไม่ต้องเป็นหนี้สิน อันเป็นกรรมวิธีที่ยั่งยืนแบบอัตโนมัติและแบบธรรมชาติ สิ่งนี้จะช่วยให้ชาวนาทั่วโลกฟื้นตัวกลับมาได้