ด่วน!2016ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มนุษย์สามรถอยู่อาศัยได้!
พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีดาวเคราะห์นอกระบบรายชื่อ
ดาวฤกษ์แม่ดาวฤกษ์ พร็อกซิมาคนครึ่งม้า กลุ่มดาว คนครึ่งม้า ไรต์แอสเซนชัน (α) 14h 29m 42.94853s เดคลิเนชัน (δ) −62° 40′ 46.1631″ ความส่องสว่างปรากฏ (mV) 11.13 ระยะห่าง 4.224 ly
(1.295[1] pc) ชนิดสเปกตรัม M6Ve[2] มวล (m) 0.123 (± 0.006)[3] M☉ รัศมี (r) 0.141 (± 0.007)[4] R☉ อุณหภูมิ (T) 3042 (± 117)[3] K ความเป็นโลหะ [Fe/H] 0.21[5] อายุ 4.85[5] พันล้านปีลักษณะทางกายภาพมวลอย่างต่ำ (m sini) 1.27+0.19
−0.17[1] M⊕ รัศมี (r) ≥1.1 (± 0.3)[6] R⊕ ฟลักซ์การแผ่รังสีของดาว (F⊙) 0.65[1] ⊕ อุณหภูมิ (T) 234 Kองค์ประกอบวงโคจรกึ่งแกนเอก (a) 0.0485+0.0041
−0.0051[1]AU ความเยื้องศูนย์กลาง (e) <0.35[1] คาบโคจร (P) 11.186+0.001
−0.002[1] d ระยะมุมจุดใกล้ศูนย์กลางที่สุด (ω) 310 (± 50)[1]° ครึ่งแอมพลิจูด (K) 1.38 (± 0.21)[1] m/sข้อมูลการค้นพบค้นพบเมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ค้นพบโดย วิธีตรวจจับ ดอปเพลอร์สเปกโทรสโกปี สถานที่ที่ค้นพบ หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป
พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี (อังกฤษ: Proxima Centauri b) หรือเรียก พร็อกซิมา บี(อังกฤษ: Proxima b ) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบในเขตอาศัยได้ โคจรรอบดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้า ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระแดงในกลุ่มดาวคนครึ่งม้าถือเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด โดยห่างจากโลกราว 4.2 ปีแสง(1.3 พาร์เซก หรือ 40 ล้านล้านกิโลเมตร) ทำให้ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่มีศักยภาพต่อการอยู่อาศัยได้ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุดเท่าที่รู้จัก
ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ค้นพบโดยคณะนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ประกาศการค้นพบในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 หลังการค้นพบไม่นานนักวิจัยของสถาบันที่วิเคราะห์ศักยภาพในการอยู่อาศัยได้เสนอว่าดาวเคราะห์ดวงนี้อาจเป็นสถานที่ที่มีสภาพเอื้อต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดการสำรวจดาวเคราะห์โดยใช้หุ่นยนต์ตามโครงการสตาร์ช็อต (Starshot) หรืออย่างน้อยที่สุดภายในศตวรรษหน้า
ดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกค้นพบโดยใช้วิธีวัดความเร็วแนวเล็ง เมื่อพบว่าเกิดการเคลื่อนดอปเพลอร์ของเส้นสเปกตรัมของดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้าเป็นช่วง ๆ ทำให้ทราบว่ามีวัตถุอื่นที่กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงนี้ ความเร็วแนวเล็งที่วัดได้เมื่อเทียบระหว่างดาวฤกษ์ดังกล่าวกับโลกแปรค่าประมาณ 2 เมตรต่อวินาที[1]