บทวิเคราะห์: 15 ปีหลังจากเหตุวินาศกรรม 9/11 สหรัฐฯจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง?
บทวิเคราะห์: 15 ปีหลังจากเหตุวินาศกรรม 9/11 สหรัฐฯจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง?
ถึงแม้ว่าเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน 2001 หรือ 9/11ในสหรัฐฯจะผ่านพ้นมาเป็นเวลา 15 ปีแล้ว แต่เหตุการณ์ก่อการร้ายรุนแรงครั้งประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ที่นำพามาแต่ความโศกเศร้าและความเสียหายก็ไม่เคยเลือนหายไปจากใจของประเทศมหาอำนาจแห่งนี้
ท่ามกลางการเตือนให้ระแวงระวังของมนุษยชาติ ผู้คนก็เริ่มตระหนักว่าการต่อต้านก่อการร้ายนำไปสู่การก่อการร้ายมากขึ้น และชี้ให้เห็นว่าสหรัฐฯจำเป็นจะต้องปรับปรุงแก้ไขนโยบายต่อต้านก่อการร้าย หรือแม้แต่นโยบายทางการทูตเสียใหม่
อย่างแรก ต้องทราบก่อนว่าสงครามไม่เคยเป็นทางออกของการถอนรากถอนโคนการก่อการร้าย ในทางกลับกัน มันอาจจะนำไปสู่การสร้างพื้นที่เพาะพันธุ์ของกลุ่มก่อการร้ายด้วยซ้ำ
หลังจากเหตุก่อการร้าย 9/11 รัฐบาลสหรัฐฯที่ถือป้ายต่อต้านก่อการร้ายก็หาข้ออ้างจบสิ้นประเทศที่เขาคิดว่าได้สนับสนุนก่อการร้าย ต่อมาในปี 2003 สหรัฐฯจึงบุกอิรัก และโค่นล้มซัดดัม ฮุสเซน ให้เหลือไว้แต่ความรุนแรง การจราจล และความขัดแย้งแบ่งแยก ซึ่งก่อให้เกิดกลุ่มก่อการร้าย เช่น กลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส)
เหตุการณ์ที่ใกล้เคียงกันก็เกิดขึ้นในลิเบีย ซีเรียและประเทศอื่นๆในภูมิภาค ซึ่งกองกำลังที่นำโดยสหรัฐฯได้แทรกแซงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศภายใต้ข้ออ้างของประชาธิปไตย ซึ่งความจริงแล้วเป็นความตั้งใจเพื่อผลประโยชน์อย่างเห็นแก่ตัว
อย่างที่สอง เป็นความจริงที่สงครามก่อการร้ายที่นำโดยสหรัฐฯก่อให้เกิดการก่อการร้ายมากขึ้น ซึ่งยุโรปที่เป็นพันธมิตรต้องเผชิญกับความรุนแรงมานับไม่ถ้วนจากการก้าวที่ผิดพลาดของสหรัฐฯ
เหตุการณ์ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือไม่ได้เป็นเพียงผลที่เกิดจากปัญหาวิกฤตด้านมนุษยธรรมและผู้ลี้ภัยครั้งรุนแรงในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่2 แต่ก็ยังนำพามาซึ่งเหตุการณ์โจมตีจากกลุ่มก่อการร้ายอย่างรุนแรงและบ่อยขึ้นในยุโรปซึ่งเป็นดินแดนที่เคยสงบสุข
ตั้งแต่เยอรมนีถึงฝรั่งเศส จากเบลเยียมถึงอังกฤษ ก็ล้วนแต่ทนทุกข์กับเหตุการณ์ก่อการร้ายทั้งสิ้น อีกทั้งฝรั่งเศสได้กลายเป็นเป้าหมายหลักของกลุ่มก่อการร้าย โดยมีผู้เสียชีวิตจากการโจมตีหลายร้อยศพแล้วในช่วงสองปีที่ผ่านมา
อย่างที่สาม ประชาคมโลกจะต้องความร่วมมือกันเพื่อแก้ไขสถานการณ์และถอนรากถอนโคนสาเหตุที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ก่อการร้าย
เนื่องจากกลุ่มก่อการร้ายนั้นแพร่กระจายไปทั่วโลก เจาะลึกในแต่ละภูมิภาค และใช้อินเตอร์เน็ต ดังนั้นประเทศต่างๆทั่วโลกควรจะต้องร่วมมือต่อต้านก่อการร้ายในเชิงลึกและเกาะติดสถานการณ์ ในขณะที่สหรัฐฯเองก็จะต้องละทิ้ง “แนวคิดแบบสงครามเย็น” (Cold War mentality) และนโยบายต่อต้านก่อการร้ายแบบสองมาตรฐาน
อย่างที่สี่ การต่อต้านก่อการร้ายจะต้องบรรลุผลประโยชน์ของทุกประเทศ รวมถึงจีนและสหรัฐฯ ซึ่งถึงแม้ในตอนนี้ความร่วมมือต่อต้านการก่อการร้ายได้ปรากฏให้เห็นผลในด้านบวก แต่อย่างไรก็ตามหวังว่าจะมีความร่วมมือต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายระดับทวิภาคีเพิ่มขึ้นอีก หลังจากประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐฯ ได้ยืนยันว่า “ขบวนการอิสลามเตอร์กีสถานตะวันออก” (East Turkestan Islamic Movement : ETIM) เป็นกลุ่มก่อการร้าย จากการประชุมหารือกับประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ระหว่างงานประชุมสุดยอด G20 ในนครหางโจวที่ผ่านมา
(ผู้เขียน: Zhu Junqing / บรรณาธิการ: huaxia)