ซึมเศร้าหรือไบโพลาร์ อธิบายสมองส่วนลิมบิก โดยเปรียบเทียบกับผู้ติดยาเสพติด (อาจทำให้คนผู้ป่วยเข้าใจโรคได้เพิ่มขึ้น)
สมองส่วนลิมบิกคือ อยู่บริเวณส่วนกลางของสมอง ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมน.... โดปามีน นอร์อะดรีน่ารีน อะดรีน่ารีน และเซโรโตนิน ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับโรคทางอารมณ์(โรคซึมเศร้าหรือไบโพลาร์) หรือโรคอื่นๆเช่น โรควิตกกังวล โรคความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ หรืออื่นๆ
- แล้วยาเสพติดเปรียบเทียบให้เข้าใจกับโรคเหล่านี้ได้อย่างไร?
ยาเสพติด เช่น ยาบ้า(เมทแอมเฟตามีน20-25%) ยาไอซ์(เมทแอมเฟตามีน100%) หรือสารเสพติดอื่นๆ เช่น เหล้า บุหรี่
ยาเสพติดจะกระตุ้นสมองส่วนลิมปิกให้หลั่งโดปามีน เมื่อเสพบ่อยๆ ก็จะทำให้สมองส่วนนี้ทำงานได้มากกว่าปกติ(ไวต่อสิ่งเร้า เช่น เมื่อมีความสุขเล็กน้อยก็จะสุขมากเกินจริง หรือเมื่อเครียดเล็กน้อยก็จะเครียดมากเกินจริง คือ หลั่งโดปามีนและอะดรีน่ารีนมากกว่าเกินจริง)
เมื่อเสพได้ระดับหนึ่งซีโรโตนินก็จะต่ำลง ทำให้ วนคิด วิตกกังวล และควบคุมอารมร์โกรธไม่ได้ เมื่อเสพนานเกินไปหรือมากเกินไปอย่างต่อเนื่อง สมองส่วนนี้ก็จะทำงานหนักมากเกินไป ทำให้สมองบาดเจ็บ มีอาการหลงผิดชั่วคราว(เก่งเกินไปจริง) หรือหวาดระแวงชั่วคราว(กลัวเกินจริง)
ถ้ายังไม่รักษาด้วยการหาหมอและกินยา เพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนเหล่านี้(การรักษาก็คือ กินยารักษาโรคซึมเศร้าหรือไบโพลาร์นั่นเอง) สมองส่วนนี้ก็จะบาดเจ็บมากขึ้นและถูกทำลายในที่สุด ทำให้มีอาการหลงผิดหรือหวาดระแวงถาวร ไม่สามารถกลับเป็นปกติ หรือคล้ายไอคิวต่ำขึ้นกับความรุนแรงของการถูกทำลายเนื้อสมอง
*เช่น ยาไอซ์มีสารกระตุ้นมากกว่ายาบ้า4-5เท่า ทำให้ผู้เสพยาไอซ์สมองจะเสียหายเร็วกว่ายาบ้า คือ ใช้งานสมองส่วนนี้หนักกว่านั้นเอง
- คล้ายกับผู้ป่วยโรคทางอารมณ์(ซึมเศร้าหรือไบโพล่าร์)
ที่ใช้งานสมองส่วนนี้นานเกินไป เช่น ใช้เวลาคิดเรื่องเครียดยาวนานเกินไป/1วัน(หลั่งอะดรีน่ารีนมากเกินไป) หรือใช้เวลาคิดถึงเรื่องสุขยาวนานเกินไป/1วัน(หลั่งโดปามีนมากเกินไป) จากพฤติกรรมนี้..... ก็จะทำให้ซีโรโตนินต่ำในที่สุด ก็ยิ่งวนคิดเรื่องเครียดเพิ่มขึ้น หรือวนคิดเรื่องสุขเกินจริงเพิ่มขึ้นไปอีกนั่นเอง(เชื่อว่าตัวเองเก่งเกินจริงจนขาดความรอบคอบ คล้ายคนเมาทำงาน) และควบคุมอารมร์โกรธไม่ได้(ไม่ว่าโกรธตัวเองหรือผู้อื่น)
ดังนั้น.... เมื่อผู้ป่วยเข้าใจกลไกนี้ ผมหวังว่าผู้ป่วยจะตั้งใจกินยา ตั้งใจควบคุมพฤติกรรมการใช้สมองส่วนนี้ไม่ให้มากเกินไป(ต้องพัก) เพื่อให้ยาช่วยควบคุมระดับการหลั่งฮอร์โมนจากสมองส่วนนี้ จนสมองส่วนนี้สามารถกลับมาหลั่งฮอร์โมนตามระดับปกติในที่สุดครับ(ก็คือ หายจากอาการหรือกินยาเพื่อควบคุมอาการได้)
การรักษาช่วยได้อย่างไร
1. ยาในกลุ่มลดการนำเข้าNa2+ที่เซลล์สมองส่วนนี้ ทำให้ผิวเซลล์ไม่เพิ่มประจุ+เข้าไป ส่งผลให้เซลล์สมองส่วนนี้หลั่งโดปามีนหรืออะดรีน่ารีนลดลง
ให้สมองค่อยๆปรับตัว ไม่ให้ตอบสนองต่อความไวจากสิ่งเร้ามากเกินไป ไม่ว่าสุขหรือเครียด(ลดการหลั่งโดปามีนและอะดรีน่ารีน) จนสมองสามารถตอบสนองได้ตามระดับปกติ(ไม่มากเกินไปเหมือนตอนมีอาการ)
2. ยาในกลุ่มคลายกังวล เพิ่มการนำเข้าCl-เข้าเซลล์โดยกระตุ้นตัวรับกาบ้า ทำให้ผิวเซลล์มีประจุลบเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เซลล์สมองส่วนนี้ ลดการหลั่งอะดรีนารีน จึงทำให้ลดความกังวลและง่วงนอน ให้สมองและร่างกายได้นอนหลับพักผ่อนเต็มที่
3. ยากลุ่มยับยั้งการดูดกลับของซีโรโตนิน เพื่อให้ลดการวนคิด ลดความวิตกกังวล ช่วยในการนอนหลับ และช่วยควบคุมความโกรธ
เมื่อตั้งใจรักษาต่อเนื่องนานพอ(สมองค่อยๆลดความไวต่อสิ่งเร้า) ก็จะทำให้สมองกลับมาหลั่งฮอร์โมนเหล่านี้ได้ในระดับปกติ การควบคุมอารมณ์ก็จะปกติ ก็จะสามารถมองเห็นความสุขต่างๆในชีวิต(ไม่มีอาการโกรธง่าย วนคิด วิตกกังวล นอนไม่หลับ กลัวหรืออื่นๆอีก)
ปล. ผู้ป่วยมักจะเข้าใจผิด คิดว่ายากินแล้วต้องหายทันที หรือคิดไปเองว่ายาทำให้เกิดอาการ อาการมึน สมองช้าหรืออื่นๆ
ความจริงแล้ว..... เกิดจากอาการของโรคครับ(ใช้สมองหนักต่อเนื่องอย่างหนัก จนสมองมันล้า) หรือเกิดจากใช้ยาผิดวิธี(ตรงนี้ก็ต้องอธิบายเวลาการกินยาให้ผู้ป่วยใช้ได้ตรงกับอาการ เช่น กินยาคลายกังวลดึกเกินไป ยายังไม่หมดฤทธิ์ก็ต้องตื่นไปทำงาน จึงทำให้มีอาการง่วงเคลื่อนไวช้าคิดช้านั่นเอง)
ถ้าใครยังไม่เคยอ่านกระทู้เก่าผม เรื่องโรคทางอารมณ์เหล่านี้ ลองอ่านเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มได้ที่ http://pantip.com/topic/33099319
*ถ้าเคยอ่านกระทู้เก่าแล้วจะเข้าใจกระทู้นี้ง่ายขึ้นครับ ค่อยๆอ่านไปนะครับ จะได้เข้าใจโรคและตั้งใจรักษาจนหายจากโรคได้ในที่สุด
http://pantip.com/topic/35507807?utm_source=facebook&utm_medium=pantip_page&utm_content=Boom&utm_campaign=35507807