ฮิลลารี คลินตันทุ่มเงินกว่า 89 ล้านดอลลาร์โฆษณาทีวี มากกว่าฝั่งทรัมป์ 10 เท่า สกัด" "โดนัลด์ ทรัมพ์"
หลังจบการประชุมใหญ่พรรค ฮิลลารี คลินตันทุ่มเงินกว่า 89 ล้านดอลลาร์เพื่อโฆษณาทีวี มากกว่าฝั่งทรัมป์ 10 เท่า
งบโฆษณาเยอะก็ช่วยรับประกันผลเลือกตั้งได้
การเมืองประชาธิปไตยและการศาสนายุคใหม่ต้องใช้ความสามารถด้านการตลาดมาก
รอยเตอร์พบว่าผู้สมัครที่ได้รับเงินช่วยหาเสียงมากที่สุดคือ ครุซ วุฒิสมาชิกจากรัฐเท็กซัส แลคลินตัน โดยเงินส่วนใหญ่ได้มาจากผู้บริหารกองทุนเฮชฟันด์รายใหญ่เพียงไม่กี่รายจากจำนวนทั้งหมดที่มีประมาณ 24 บริษัท
ยกตัวอย่างเช่น นายโรเบิร์ต เมอเซอร์ ผู้บริหารสูงสุดของ Renaissance (เรเนซอนซ์) Technologies ได้สนับสนุน ครุซ หาเสียงเป็นเงิน 11 ล้านดอลลาร์
นายเมอ เซอร์ เป็นนักโปรแกรมเมอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งได้เก็บตัวเงียบแต่มีอิทธพลทางการเงินในวงการเมืองที่มีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม
นายครุซประกาศในช่วงหาเสียงว่าเขาต้องการยุบหน่วยงานสำนักงานสรรพากรของสหรัฐ ลดภาษีรายได้ที่หักจากเงินเดือนของชาวอเมริกันทั่วไป และเรียกเก็บภาษีชนิดใหม่ที่เรียกว่า “ภาษีการโอนธุรกิจ”
ภริยาของนายครุซ คือนางเฮดี้ ครุซ ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้บริหารของ Goldman Sachs ที่เมือง Houston ในรัฐเท็กซัส
ผู้อุปถัมภ์คนสำคัญของคุณคลินตันคือมหาเศรษฐี จอร์จ โซรอส ซึ่งได้สนับสนุนพรรคเดโมแครตทางด้านการเงินมานาน รวมทั้งบริจาคให้ กับงานด้านมนุษยธรรมต่างๆ
กองทุน Soros Fund Management ที่คุณโซรอสเป็นประธานได้สมทบเงินจำนวน 7.3 ล้านดอลลาร์ เข้าไปในงบหาเสียงทั้งหมด 11.7 ล้านดอลลาร์ที่ คลินตันได้รับจากกลุ่ม Super PAC ที่สนับสนุนเธอในการเลือกตั้งครั้งนี้
ผู้บริหารเฮชฟันด์หลายคนขอสงวนไม่เปิดเผยรายละเอียดเหล่านี้เมื่อรอยเตอร์สอบถามไป
แต่วิทนี่ ทิลสัน ผู้จัดการกองทุนเฮชฟันด์ Kase Capital กล่าวว่าเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กองทุนต่างๆตัดสินใจให้การสนับสนุนทางการเงินมากขึ้นในครั้งนี้ เพราะผู้สมัครชื่อ โดนัลด์ ทรัมพ์ ซึ่งขณะนี้มีคะแนนนำเหนือคู่แข่งในการชิงตำแหน่งตัวแทนของพรรคริพับลิกัน
ทิลสันกล่าวว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประชาชนชาวอเมริกันได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่ค่อนข้างรุนแรงเกี่ยวกับตัวทรัมพ์
ทรัมพ์ ซึ่งประกาศว่าได้ใช้เงินของตัวเองในการหาเสียง เห็นด้วยกับข้อเสนอในการอุดช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้ผู้บริหารกองทุนเฮชฟันด์บางคนเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดาน้อยกว่าปกติโดยขึ้นอยู่กับผลงานของแต่ละคน ซึ่งในเรื่องนี้คลินตันก็มีจุดยืนที่เหมือนกัน
ภาคธุรกิจการเงินมีข้อกังวลอย่างอื่น ถ้าทรัมพ์เกิดได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไปของสหรัฐจริงๆ เนื่องจากว่าถึงแม้เขาจะได้ออกหาเสียงไปตามที่ต่างๆ และร่วมโต้ว่าทีกับคู่แข่งมาหลายรอบ จุดยืนทางด้านเศรษฐกิจและนโยบายการเงินของเขาก็ยังคลุมเครือไม่ชัดเจน
นายเกรกอรี่ วอรอ อาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์การเมืองที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กล่าวว่าถ้าได้รับการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีทรัมพ์คงจะสร้างปัญหาความไม่แน่นอนและความไร้เสถียรภาพให้กับตลาดการเงินได้อย่างมาก