ไทย-ญี่ปุ่นลงนามในโครงการรถไฟความเร็วสูงแล้ว!
ไทย-ญี่ปุ่นลงนามในโครงการรถไฟความเร็วสูงแล้ว!
เมื่อวันที่ 8 ส.ค. มีรายงานว่า ไทยและญี่ปุ่นร่วมกันลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOC) ในโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยจะใช้เทคโนโลยีรถไฟชินคังเซ็นมาใช้ มีความยาวทั้งหมด 700 กิโลเมตร คาดว่าเริ่มก่อสร้างในปี 2018
บันทึกความร่วมมือฉบับนี้เกิดขึ้นระหว่างการเยือนไทยของนายเคอิจิ อิชิอิ รัฐมนตรีกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น ร่วมกับนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของไทยเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม จีนเคยเสนอเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงให้ไทยก่อนหน้านี้แล้ว แต่ท้ายที่สุดแล้วกลับไม่ถูกนำไปใช้กับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทว่าทั้งคู่กลับบรรลุข้อตกลงโครงการรถไฟไทย-จีนแทน ซึ่งคาดว่าจะขยายทางรถไฟคุนหมิงในมณฑลยูนนาน-นครเวียงจันทร์ในสปป.ลาว ไปจนถึงเส้นทางกรุงเทพฯ-มาบตาพุด
รายงานระบุว่า ถึงแม้ญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่มเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงชินคังเซ็นในปัจจุบัน แต่โครงข่ายรถไฟความเร็วสูง (CRH) ของจีนก็ผุดขึ้นมาอย่างรวดเร็วเช่นกัน ดังนั้นทั้งคู่จึงแข่งขันกันอย่างดุเดือดในวงการรถไฟความเร็วสูงทั่วโลก
เมื่อตุลาคมของปีที่แล้ว จีนสามารถเอาชนะญี่ปุ่น และได้ลงนามข้อตกลงร่วมกับอินโดนีเซียในโครงการรถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุง ส่วนญี่ปุ่นก็ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับเหมาในโครงการความเร็วสูงมุมไบ-อัห์มดาบาดของอินเดีย
สำนักข่าวเกียวโดของญี่ปุ่นรายงานว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม 2015 รัฐบาลไทยและญี่ปุ่นได้บรรลุข้อตกลงที่จะนำเทคโนโลยีชินคังเซ็นของญี่ปุ่นมาใช้ และจะลงนามในข้อตกลงอย่างเป็นทางการในปี 2017 แต่มีคนไทยบางส่วนที่กังวลว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะไม่คุ้มค่าใช้จ่าย จนถึงตอนนี้ก็ยังเป็นกังวลกันอยู่
โดยนายอาคมได้ยืนยันระหว่างงานแถลงข่าวว่า รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่นี้จะคืนทุนในอีก 50 ปีข้างหน้า
หากดูจากข้อตกลงรถไฟความเร็วสูงระหว่างไทยกับญี่ปุ่นนั้น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่จะแบ่งเป็นสองช่วง โดยช่วงแรกจะเชื่อมกรุงเทพฯกับพิษณุโลก และช่วงที่สองจะเชื่อมต่อไปจนถึงเชียงใหม่