รถฉุกเฉินเจ้าหน้าที่พยาบาล ได้รับอนุมัติให้มี ประกันภัยรถยนต์
รถฉุกเฉินมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง การมี ประกันภัยรถยนต์ จะคุ้มครองเรื่องการรักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถ ช่วยเหลือกรณีคดีความฟ้องร้อง
ตามที่มีการนำเสนอรายงานข่าวปัญหาความเสี่ยงอันตรายของเจ้าหน้าที่ใน “รถฉุกเฉิน” (AMBULANCE) ทั้งพยาบาลและผู้ขับขี่ที่ประสบอุบัติเหตุ รถชน รถพลิกคว่ำ บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตขณะทำหน้าที่นั้น ล่าสุดโรงพยาบาลหน่วยงานรัฐกว่า 10 จังหวัด นำร่องเดินหน้าทำ ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 รถฉุกเฉินแล้ว เช่น จ.ตาก จ.เพชรบูรณ์ จ.เลย จ.กระบี่ จ.ระยอง จ.ขอนแก่น จ.สุโขทัย เป็นต้น แม้แต่โรงพยาบาลต่างอำเภอ อย่าง หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ก็เล็งเห็นความสำคัญ ของความปลอดภัยผู้ปฏิบัติงานในรถฉุกเฉิน สร้างความมั่นใจ หลักประกันคุ้มครองดูแล
สาธารณสุขอำเภอหล่มสักบอกว่า ทำ ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 ให้รถฉุกเฉินทุกคัน เมื่อเดือนมิถุนายน เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องดูแลบุคลากร เพราะพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ สภาพเป็นเขา มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง ซึ่งการมี ประกันภัยรถยนต์ จะคุ้มครองเรื่องการรักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถ หรือช่วยเหลือกรณีมีคดีความฟ้องร้อง โดยเบิกจ่ายการทำ ประกันภัยรถยนต์ จากงบประมาณราชการได้ ทั้งในส่วนของการ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับและภาคสมัครใจ
ทั้งนี้จากรายงานสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ระบุว่า ประเทศไทยมีสถิติอุบัติเหตุรุนแรงเกิดขึ้นกับรถฉุกเฉินที่สูงมาก เฉพาะปี 2547-2557 เกิดอุบัติเหตุรุนแรงมากกว่า 300 ครั้ง ทำให้บุคลากรการแพทย์ฉุกเฉิน ผู้ป่วยและญาติ เสียชีวิต 21 คน บาดเจ็บสาหัส 4,315 คน พิการถาวร 12 คน ขณะที่ปี 2557 เพียงปีเดียว มีเหตุเกิด 61 ครั้ง พยาบาล ผู้ป่วย และญาติเสียชีวิต 19 คน ล่าสุด 6 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.) มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นแล้ว 28 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บ 54 คน
จากคำบอกเล่าพยาบาลวิชาชีพแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลแกลง จ.ระยอง ครั้งนั้นในฐานะพยาบาลที่ประสบอุบัติเหตุรุนแรง รถฉุกเฉินพลิกคว่ำชนต้นไม้ข้างทาง ระหว่างเดินทางกลับ หลังส่งเคสผู้ป่วยที่โรงพยาบาลระยอง ออกมาเรียกร้องให้รถฉุกเฉินทำ ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 และ พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถ
โดยให้เหตุผลว่า หลังจากประสบอุบัติเหตุกลางปี 2557 จนถึงขณะนี้ผ่านไปปีกว่าแล้ว อาการบาดเจ็บทางกระดูกที่ใบหน้า และไหล่ซ้าย แขนซ้ายยังไม่หายดี ยกแขนได้ไม่สุด มีอาการเจ็บเสียวตลอดเวลา ต้องไปหาหมอกระดูกเฉพาะทาง โรงพยาบาลเอกชนอย่างต่อเนื่อง ออกค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลเอง ไม่สามารถใช้สิทธิข้าราชการได้ เพราะรถฉุกเฉินไม่มี ประกันภัยรถยนต์ จึงไม่มีความคุ้มครอง
กระทั่งทุกวันนี้ สิ่งที่เรียกร้องกลายเป็นจริง เมื่อกรมบัญชีกลางสั่งไปยังหัวหน้าส่วนราชการ โรงพยาบาลทั่วประเทศให้ทำ พ.ร.บ.และ ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 รถฉุกเฉิน ได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2558
ความในใจรู้สึกดีที่โรงพยาบาลแกลงทำ ประกันภัย รถฉุกเฉิน ที่ต้องนั่งเป็นประจำ อย่างน้อยก็มีค่าชดเชย ดูแลเรื่องการรักษาพยาบาล กรณีบาดเจ็บ และเงินชดเชยเสียชีวิต ให้ครอบครัวที่อยู่ข้างหลัง มากกว่าเงินชดเชยจากราชการที่จ่ายให้ ไม่คุ้มค่ากับชีวิตที่สูญเสีย ตนเองและเพื่อนพยาบาลที่นี่ (รพ.แกลง) มีความอุ่นใจมากขึ้นทุกครั้งที่นั่งรถฉุกเฉิน ลดความหวาดกลัวลงได้
เลขาธิการ สพฉ.ให้สัมภาษณ์ว่า บุคลากรผู้ทำหน้าที่ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และส่งต่อผู้ป่วย เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ทำงานด้วยความเสียสละ เสี่ยงภัย เสี่ยงอันตราย ยิ่งกว่าทหาร ตำรวจ ความปลอดภัยรถฉุกเฉิน จึงเป็นนโยบายสำคัญที่ สพฉ. และหน่วยงานรับผิดชอบ ต้องคุ้มครองดูแลผู้ปฏิบัติให้ปลอดภัย
“คณะทำงานกระทรวงสาธารณสุข สพฉ. และทีมสหวิชาชีพ ยื่นข้อเสนอต่อกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในที่ประชุมวิชาการประจำปี เรียกร้องให้กำหนดมาตรการความปลอดภัย ของรถการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นนโยบายเร่งด่วน 4 เรื่อง คือ ระบบความปลอดภัยในรถฉุกเฉิน การปรับปรุงสภาพรถ เครื่องยนต์ ให้มั่นคงแข็งแรง การอบรมผู้ขับขี่ และการทำ ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 รถฉุกเฉิน“
ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางได้อนุมัติหลักการ ตามมติ ครม.ปี 2553 ให้ รถยนต์ รถฉุกเฉิน และ รถยนต์ ราชการที่มีลักษณะใช้งานในสถานการณ์ฉุกเฉิน และทำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พร้อมทำ ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 ได้เป็นกรณีพิเศษ ถือเป็น รถยนต์ ที่มีเสี่ยงสูง โดยให้หัวหน้าส่วนราชการ พิจารณาประเภทของการทำ ประกันภัยรถยนต์ ตามความจำเป็น และเหมาะสม หลังจากผ่านการพิจารณากลั่นกรองหลายภาคส่วน ยาวนานกว่า 5 ปี
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับรถฉุกเฉิน ในเรื่องการมี ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 นั้น สร้างความอุ่นใจ มั่นใจแก่ผู้ปฏิบัติได้ การทำ ประกันภัยรถยนต์ แบบนี้ จะได้รับความคุ้มครอง 100 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการ สามารถเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิกเฉพาะทาง ตามทีต้องการได้ ในวงเงินที่เอา ประกันภัย
พยาบาลห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี บอกเล่าถึงความรู้สึกดี และอุ่นใจ ที่ผู้บังคับบัญชาเห็นความสำคัญของรถฉุกเฉิน แม้ตัวเองจะไม่เคยเกิดอุบัติเหตุ แต่ก็กลัว และหวาดหวั่นเมื่อนั่งบนรถทุกครั้ง
“ไม่อยากให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับใครอีก เราสูญเสียบุคลากรไปมากพอแล้ว อยากขอร้องประชาชน และคนที่ร่วมบนถนน ให้ขับขี่รถอย่างระมัดระวัง”
ความเห็นสอดคล้องกับเพื่อนพยาบาล และบุรุษพยาบาล ห้องฉุกเฉินรายอื่นๆ ที่ว่า ดีใจที่มี ประกันภัยรถยนต์ ช่วยคุ้มครองดูแลได้หลายอย่าง รวมถึงค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อม รถยนต์ และเงินชดเชยต่างๆ
ทั้งนี้ สพฉ.จัดทำพ็อกเก็ตบุ๊ก “เสียงเพรียกจากนางฟ้า” จำนวน 2,000 เล่ม แจกจ่ายตามโรงพยาบาลต่างๆ ให้ประชาชนได้อ่าน รณรงค์ร่วมกัน เห็นความสำคัญของรถฉุกเฉิน ให้หลบหลีก และขับขี่ด้วยความระมัดระวัง รวบรวมคำบอกเล่าเรื่องราวอุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นกับพยาบาลทั่วประเทศ สะท้อนปัญหาผลกระทบของอุบัติเหตุ ความรุนแรงรอบ 6 เดือนของปี 2558
โดยมีตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพกว่า 10 คน ที่เคยประสบเหตุ โดยเฉพาะกรณีของอดีตพยาบาลโรงพยาบาลแม่สอด จ. ตาก หนึ่งในผู้บาดเจ็บสาหัส ที่เป็นอัมพาตจนทุกวันนี้ ต้องออกจากงาน เพราะอุบัติเหตุรุนแรงเมื่อ 3 เดือนก่อน จนกระดูกต้นคอหักทับเส้นประสาท ต้องนั่งรถเข็น มีชีวิตอยู่เพียงความหวังจากลูกสาว และพ่อที่เกษียณอายุราชการแล้ว คอยดูแลเท่านั้น
เรื่องราวบันทึกถึงพ่อและลูกสาววัย 10 ขวบ ถ่ายทอดความรู้สึก ขณะพักรักษาตัวในโรรงพยาบาลครั้งนั้น มีข้อความตอนหนึ่งว่า “พ่อจะอยู่อย่างไร ลูกจะอยู่ยังไง ทุกอย่างเกิดขึ้นไม่ทันตั้งตัว ความเจ็บป่วยครั้งนี้สุดแสนทรมาน จากคนที่เดินได้เป็นเดินไม่ได้ ต้องออกจากงาน ทั้งที่เป็นเสาหลักของครอบครัว รัฐเองก็ไม่ชัดเจนเรื่องการช่วยเหลือเยียวยา ไม่มีหลักประกัน สิทธิชดเชย กลายเป็นความทุกข์ระทม ทั้งที่ไม่ได้เป็นผู้ก่อ“
นอกจาก สพฉ.รณรงค์ให้โรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศทำ ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 คุ้มครองผู้ทำหน้าที่ในรถฉุกเฉินแล้ว ยังประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน มีส่วนสำคัญในการลดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะการสร้างจิตสำนึกในการขับขี่ และลดความเร็ว พร้อมหลีกทางให้รถฉุกเฉินทุกครั้ง
รถฉุกเฉินทำ ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 นำร่อง 10 จังหวัด
1. นนทบุรี
2. ระยอง
3. อุตรดิตถ์
4. เลย
5. ตาก
6. สุโขทัย
7. ขอนแก่น
8. สุรินทร์
9. กระบี่
10. สุราษฎร์ธานี