จัดการปัญหาการเงินให้ได้ผล ภายใน 15 วัน
การจัดการปัญหาการเงินเป็นสิ่งที่ทำให้ใครๆ ปวดหัวมากๆ เช่นเดียวกับการไม่มีเงินใช้ เพื่อนๆ เห็นด้วยมั้ยคะ? แต่แทนที่เราจะ freaked out กับการเงิน เราควรจะเปลี่ยยนแอทติจูดเสียใหม่ แล้วเริ่มวางแผนแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ต้องจมอยู่กับปัญหาสภาพการเงินไม่คล่องอีกต่อไป วันนี้เรามีวิธีจัดการปัญหาการเงินให้ได้ผลชะงัดภายใน 15 วัน เป็นวิธีง่ายๆ มาดูกับเลยดีกว่าค่ะ
วันที่ 1
เริ่มแรกเลยคุณต้องยอมรับให้ได้เสียก่อนว่าคุณมีปัญหาการเงินที่ต้องจัดการ ทุกๆ คนเคยเป็นมาก่อนทั้งนั้น (บางคนเคยเป็นหนี้บัตรเครดิตเป็นแสนก็มีค่ะ) ก่อนที่เราจะแก้ปัญหาเราควรยอมรับแต่แรกว่าเรามีปัญหาที่ต้องแก้ไข แล้วเราจะต้องทำการเปลี่ยนแปลงตัวเองและวิธีการใช้จ่าย
วันที่ 2
จดมาเลยค่ะว่าคุณมีเป้าหมายอย่างไรใน 1ปี, 3ปี, 5ปี, ถึง 10ปี โดยให้เป้าหมาย Three F’s (Finance, Fun and Family) เป้าหมายนี้สำคัญมากนะคะเพราะว่าแต่ละข้อนี้มากับป้าบราคาแล้วเราต้องดูว่าเรามีเงินพอ (หรือจะมีเงินพอมั้ย) ที่จะซื้อเป้าหมายเหล่านี้หรือไม่
วันที่ 3
รวบรวมใบเสร็จตามที่ต่างๆ ไม่ว่าจะในก้นกระเป๋า ตามถุงช้อปปิ้ง หรือถ้ามันเป็นแบบดิจิตอลก็ปริ้นท์ออกมาค่ะ ถ้าคุณเป็นคนไม่ชอบเก็บใบเสร็จก็ต้องเริ่มทำให้เป็นนิสัยนะคะ รวบรวมไว้คู่ bank statement ค่ะ
วันที่ 4
จัดการใบเสร็จของคุณให้เป็นหมวดหมู่
- สำคัญที่สุด: พวกค่าใช้จ่ายในบ้าน, อาหาร, ค่าน้ำมัน, ค่าเดินทางจะ BTS, MRT หรือ Uber ก็ว่าไป (ยอดนี้ควรจะเป็น 70% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดนะคะ)
- จิปาถะ : พวกอะไรสนุกๆ อย่างค่าทำเล็บ, ค่าสมาชิกฟิตเนส แบบนี้ควรจะนับได้เป็น 15 % ของค่าใช้จ่ายทั้งเดือนนะคะ
- เหลือใช้: เงินออมควรนับได้ 15% ของรายจ่ายทุกเดือน
ลองนึกเอาว่าอันนี้เป็นแผนการใช้เงินที่จะทำให้คุณเป็นเศรษฐีได้ในเร็ววันนะคะ ยิ่งคุณจัดการได้ดีเท่าไหร่คุณก็สบายเร็วขึ้นเท่านั้น
วันที่ 5
ให้รางวัลกับตัวเองด้วยกาแฟอร่อยๆ ซักแก้วทุกเช้า แล้วคุณจะไปทำงานได้ทันเวลา ถ้าไม่ไปก่อนเวลา อย่างน้อยคุณก็จะมีวันที่ productive ซึ่งหมายความว่าคุณจะได้เงินโบนัสด้วยนี่สิ่! ว่าแล้วไงล่ะ ปีนี้จะเป็นปีที่เรารวย รวย รวย
วันที่ 6
เริ่มเขียนจมุดจดการเงิน โดยให้เงินออมและรายได้ที่เรามีอยู่ด้านซ้าย และเงินที่ต้องชำระ (ไม่ว่าจะหนี้บัตรเครดิตหรือเงินกู้) อยู่ด้ายขวา เพื่อให้เห็นภาพรวมจริงๆ ว่าเรามีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่แล้วสามารถหักอะไรออกไปได้บ้าง
วันที่ 7
ลองติดต่อธนาคารเพื่อตรวจดู credit report ว่าคุณเป็นลูกค้าชั้นดีหรือไม่ (ถ้าคุณได้ credit score มากกว่า 720 แปลว่าคุณชำระหนี้ได้ดีมาก) แต่หากคุณได้ต่ำกว่านี้เราอาจจะปรนเปรอตนเองให้น้อยลงหน่อย credit report นี้เป็นเหมือนใบประเมินผลทางการเงินที่สำคัญมากเวลาที่คุณจะขอกู้เงิน ดังนั้นลองพยายามเพิ่ม credit score ดูนะคะ
วันที่ 8
แทนที่จะชำระค่าใช้จ่ายรายเดือนด้วยเงินลองเปลี่ยนมาชำระแบบอัตโนมัตผ่านเครดิตการ์ดเพื่อเพิ่ม credit score ดูสิ่คะ ยิ่งคุณจ่ายบิลตรงเวลาเท่าไหร่ credit score คุณก็เพิ่มมากเท่านั้น แล้วก็อย่าลืมนะคะ เพราะว่าเราหักเงินแบบออโตเมติกดังนั้นคุรจะต้องระมัดระวังไม่ใช้จ่ายเงินตัวเด็ดขาด
วันที่ 9
ดูสมุดจดการเงินเพื่อคำนวณรายได้ของคุณ คุณควรจะรู้ว่าคุณมีมูล่คาเท่าไหร่กันแน่ คุณจะได้เพิ่มมูลค่าของคุณไงคะ วิธีการก็ง่ายมาก จดลงไปว่าคุณมีทรัพย์สินเท่าไหร่ ลบกับ หนี้สินที่มี = มูลค่าที่แท้จริง
วันที่ 10
ลงทุนกับตนเองเพื่อผลประโยชน์ในอนาคต ไม่ว่าคุณจะสมัครสมาชิกนิตยสารการลงทุนเหรือลงเรียนพิเศษเพื่อพัฒนาตนเองในการทำงาน เหล่านี้ถือว่าเป็นการลงทุนทั้งนั้น ไม่ว่าจะลงทุนเล็กหรือใหญ่ ยังไงการลงทุนกับตนเองก็ให้ปันผลกับเราในวันหน้าทั้งนั้น
วันที่ 11
กลับไปดูเป้าหมายใน 1ปี, 3ปี, 5ปี, ถึง 10ปี แบบ Three F’s (Finance, Fun and Family) ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ดูดีขึ้นกว่าตอนที่เราเริ่มมั้ย? การเงินดู make sense บ้างหรือเปล่า? ถ้าไม่ คุณต้องปรับปรุงแผนการเงินให้ดีกว่านี้ค่ะ
วันที่ 12
ติดต่อผุ้บริการทางโทรศัพท์เพื่อขอแพคเกจอินเตอร์เนตหรือค่าโทรฯ ที่ดีกว่านี้ ดูดีๆ กว่าคุณจ่ายเยอะเกินกว่าที่คุณใช้จริงหรือไม่ ไม่อย่างนั้นก็ลองหาเจ้าอื่นดู ส่วนใหญ่แล้วผู้บริการฯ มักจะอะลุ่มอะล่วยหากลูกค้าจะย้ายค่ายนะเอาจริงๆ
วันที่ 13
ดูใบเสร็จค่าสมาชิกต่างๆ ไม่ว่าจะฟิตเนส, สัญญาณทีวี หรือนิตยสาร แล้วจัดการยกเลิกสมาชิกหากคุณไม่จำเป็นต้องใช้หรือหาตัวเลือกที่ถูกกว่าได้ เช่นบางทีการสมัตรโยคะแบบ 10 ครั้งอาจจะแพงกว่าเมื่อคุณไปจริงๆ แค่ 3 ครั้ง
วันที่ 14
ลองคำนวณรายจ่ายดูว่ามีอันไหนบ้างที่เราสามารถเปลี่ยนเป็นเงินออม ถ้าคุณไม่ต้อองขับรถไปทำงานแล้วมีเงินค่าน้ำมันเหลือ หรือยกเลิกค่าสมาชิกฟิตเนส ก็เอาเงินส่วนต่างนั้นมาเข้าเงินออมเถอะนะ
วันที่ 15
วันสุดท้ายแล้ว วู้ฮู้! ยินดีด้วยนะคะ วันนี้คุณสามารถให้รางวัลตัวเองได้แล้ว ไม่ว่าคุณจะอยากออกไปทานอาหารนอกบ้าน ไปดูหนังหรือทำอะไรซักอย่างให้กับตัวเองละก็คุรได้รับสิทธินั้นแล้ว! แน่นอนว่าการบริหารการเงินก็เหมือนการบริหารร่างกายที่คุณต้องทำเป็นประจำอย่างสะม่ำเสมอ และห้ามมูมมามใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายอีกไม่อย่างนั้นคุณก็ต้องกลับมาเริ่มใหม่อีกทุกครั้ง
ข้อคิดเพิ่มเติม: ค่อยๆ คิด ค่อยๆ ทำ อย่าพยายามทำทุกอย่างในคราวเดียวเพราะว่าคุณต้องฝึกบริหารการเงินให้เป็นนิสัย และการทำอะไรสักอย่างให้เป็นนิสัยนั้นไม่ได้เกิดกันง่าย เพียงข้ามคืน แน่นอนว่าหากคุณบริหารการเงินจนเป็นนิสัยแล้วคุณจะสามารถจัดการรายรับรายจ่ายได้อย่างถาวรแน่นอนค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Elite Daily (http://elitedaily.com/elite/easy-ways-finances-in-order/1341413/)