เปิดข้อมูล รถยนต์ เคลม ประกันภัย ถี่ผิดปกติ
สมาคมประกันวินาศภัยเอาแน่ คาดอีก 2 เดือนเริ่มใช้ข้อมูลกลาง ตรวจสอบ รถยนต์ ประวัติไม่ดี
นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยภายหลัง การประชุมร่วมกับสำนักงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย (IPRD) และบริษัท ไทยอินชัวเรอส์ดาต้าเนท (TID) ว่า สมาคมคาดว่าภายใน 2 เดือนนี้ จะเริ่มนำระบบการตรวจสอบประวัติ รถยนต์ กลาง มาให้บริษัท ประกันภัย ใช้ได้อย่างเป็นทางการ เพื่อใช้ประโยชน์ในการรับ ประกันภัย กับลูกค้าที่มีประวัติไม่ดีโดยเฉพาะ
"ตอนนี้เรานำตัวเลขความเสียหาย หรือยอดเคลมสูงต่างๆ มาให้สมาชิกได้ดูเลยว่า รถยนต์ คันนี้ ทะเบียนนี้ ยี่ห้อ และเลขตัวถังของ รถยนต์ คันนี้ มีประวัติขับขี่เป็นอย่างไร โดยจะรวบรวมข้อมูลเฉพาะ รถยนต์ ที่มีประวัติไม่ดีเท่านั้น เช่น มียอดเคลมถี่มากแบบผิดปกติ เคลมแต่ละครั้งเกิน 100% ของเบี้ย ประกันภัย มียอดเคลมสูงครั้งละเป็นแสนบาท หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนบริษัท ประกันภัย ทุกปี ส่วนบริษัทไหนเมื่อรับรู้ข้อมูลแล้ว จะรับ ประกันภัย หรือไม่ หรือจะขึ้นเบี้ย ประกันภัย เป็นเรื่องของแต่ละบริษัท แต่วิธีนี้จะทำให้คนอื่นที่ขับ รถยนต์ ดีๆ ไม่เดือดร้อน"
สำหรับ รถยนต์ ที่มีประวัติดีนั้น จะไม่ถูกนำมาบรรจุไว้ในข้อมูลกลางของสมาคมฯ โดยเชื่อว่าเมื่อมีการตรวจสอบข้อมูล รถยนต์ ประวัติไม่ดีเกิดขึ้น จะช่วยให้บริษัท ประกันภัย แต่ละแห่ง ลดอัตราความเสียหาย หรือขาดทุนได้ และไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของธุรกิจ
ที่ผ่านมาทางสมาคมฯ พยายามแก้ปัญหาไม่ให้เกิดสงครามราคา หรือแข่งกันแย่งลูกค้า โดยใช้วิธีตัดราคา แต่ก็ยังไม่สำเร็จ ซึ่งบางบริษัทยอมขายขาดทุน เพื่อให้ได้ลูกค้า ให้ได้เบี้ย ประกันภัย เข้ามาทำยอดไว้ก่อน โดยอาจส่งผลเสียหายต่อบริษัทนั้นในอนาคตได้ ดังนั้นสมาคมฯ จึงเปลี่ยนวิธีใหม่ ให้นำข้อมูลกลางของ รถยนต์ ประวัติ หรือสถิติไม่ดีมาแสดงให้เห็น จะได้รับรู้ล่วงหน้าว่า รถยนต์ คันนี้มีประวัติเป็นอย่างไร ขณะเดียวกันก็คาดว่าจะช่วยลดปัญหาการขับ รถยนต์ ไม่ระมัดระวัง หรือทำให้ผู้ขับขี่ มีพฤติกรรมขับขี่ที่ดีขึ้นด้วย ลดความเสียหายทั้งชีวิต และทรัพย์สิน ที่จะเกิดกับตัวเองและบุคคลอื่นได้ด้วย
ด้านผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสินไหม บริษัท แอลเอ็มจี ประกันภัย กล่าวว่า พอเศรษฐกิจไม่ดี สถิติการเคลมแบบผิดปกติจะมีมากขึ้น บริษัทจึงให้พนักงานเข้มงวด และทำตามระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ การแข่งขันตัดราคามากกว่า ที่อาจส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อภาพรวมของธุรกิจ ประกันภัย ทั้งระบบได้ หากมีบริษัทใดบริษัทหนึ่งมีปัญหา