ล่าสุดองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ACT) ออกมาประกาศผล #ดัชนีคอรัปชั่นของไทย ว่าปีที่ผ่านมานั้น เป็นปีที่ดีที่สุดในรอบ 10 ปี
ล่าสุดองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ACT)
ออกมาประกาศผล #ดัชนีคอรัปชั่นของไทย
ว่าปีที่ผ่านมานั้น เป็นปีที่ดีที่สุดในรอบ 10 ปี
งานนี้ก็มีคนสงสัยว่าข้อมูลนี้จริงเท็จแค่ไหน?
บางคนสงสัยว่าองค์กรนี้ กำลังเลียรัฐบาลอยู่
หรือ บ้างก็หาว่าสร้างข้อมูลขึ้นมาเอง ฯลฯ
- ก็คงต้องบอกว่าองค์กรต่อต้านคอรัปชั่นนั้น
เค้าไม่ได้สร้างข้อมูลหรือพูดขึ้นมาลอยๆ นะครับ
แต่เป็นการอ้างอิงจากข้อมูลขององค์กรจัดอันดับ
การคอรัปชั่นของโลกอย่าง Transparency.org
ซึ่งได้ทำการเก็บข้อมูลและจัดอันดับเป็นประจำ
(อันดับคอรัปชชั่นที่เราเห็นๆ กันก็มาจากองค์กรนี้)
- ใครที่อยากทราบว่าดัชนีคอรัปชั่นของประเทศไทย
เป็นอย่างไร สามารถเข้าไปหาข้อมูลได้จากเวปไซด์
https://www.transparency.org/country/#THA
หรือถ้าต้องการดูเปรียบเทียบเป็นรายปีให้เห็นชัดๆ
สามารถเข้าไปดูได้ที่เวปไซด์ trading economics
ซึ่งเป็นเวปไซด์ที่เกี่ยวกับการลงทุนในแต่ละประเทศ
ที่ใช้ฐานข้อมูลของ Transparency.org มาอ้างอิง
http://www.tradingeconomics.com/thailand/corruption-rank
- เมื่อดูข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 1995 ถึงปัจจุบัน
จะพบว่าสถานการณ์การคอรัปชั่นในประเทศไทย
แย่ลงไปเรื่อยๆ (อับดับสูงขึ้นคือคอรัปชั่นมากขึ้น)
หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 อันดับคอรัปชั่นอยู่ที่
ประมาณ 60-70 มาโดยตลอด และมาพุ่งขึ้นอีกครั้ง
ช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ 2 ต่อเนื่องถึงช่วงรัฐประหาร
จากนั้นดัชนีคอรัปชั่นของไทยก็อยู่ที่ราวๆอันดับ 80+
- ช่วงรัฐบาลอภิสิทธิ์อันดับกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย
จากอันดับ 84 ลดลงมาเหลืออันดับ 78 และ 80
ก่อนที่จะกระโดดขึ้นสูงมากสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์
โดยในปี 2013 (2556) ไทยมีอันดับคอรัปชั่นอยู่ที่
อันดับ 102 เป็น #อันดับที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์
(ด้วยโครงการจำนำข้าว และความไม่โปร่งใสกรณี
โครงการบริหารจัดการน้ำที่ถูกชงมาหลังน้ำท่วม)
- ต่อมาภายหลังจากมีการรัฐประหารครั้งล่าสุด
และผ่านการบริหารงานโดยรัฐบาลปัจจุบันมา 2 ปี
อันดับคอรัปชั่นของไทยก็ลดลงมาเหลืออันดับ 76
ซึ่งถือเป็น #อันดับที่ดีที่สุดในรอบ_10ปี เลยทีเดียว!!!
------------------------
*** ประเด็นสำคัญที่อยากให้คนไทยเข้าใจให้ตรงกัน
คือ เวลาที่เรามองปัญหาคอรัปชั่นในประเทศไทยนั้น
เราจะเห็นได้ชัดว่ามันแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ
1.ประเภทสอง คือ #การคอรัปชั่นในระบบรัฐบาล
2.ประเภทแรก คือ #การคอรัปชั่นในระบบราชการ
- ประเภทแรกนั้นขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะมีโครงการ
ที่มีความไม่โปร่งใสในการบริหาร มากน้อยแต่ไหน
(ชงโครงการออกมาเพื่อกินส่วนต่างของโครงการ
หรือเอื้อประโยชน์ให้เอกชนที่เป็นพวกพ้องของตน)
ซึ่งในกรณีนี้ ถ้ารัฐบาลไม่กระทำการทุจริตเสียเอง
ดัชนีคอรัปชั่นก็จะมีค่าต่ำลงอย่างเห็นได้ชัดเจน
- ประเภทที่สองนั้นคือการคอรัปชั่นในระบบ
ซึ่งไม่ว่าจะเปลี่ยนรับบาลกี่สมัย จะใครมาเป็น
จะเป็นรัฐบาลเลือกตั้งหรือแต่งตั้งก็ไม่ต่างกัน...
- เพราะมันไม่ใช่การคอรัปชั่นที่เกิดจากรัฐบาล
แต่เกิดจากระบบราชการที่ไม่โปร่งใส ซึ่งมาจาก
ข้อกฎหมายคอรัปชั่น และการบังคับใช้กฎหมาย
ที่ไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงระบบตรวจสอบถ่วงดุล
ระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่สมดุล
คืออำนาจไปอยุ่ในมือเจ้าหน้าที่รัฐอย่างล้นเหลือ
- เช่น การพิจารณาออกใบอนุญาตต่างๆ
ที่เจ้าหน้าที่สามารถดองเรื่องไว้ได้นานๆ
ถ้าไม่มีการจ่ายใต้โต๊ะ ก็อย่าหวังว่าเรื่องจะเดิน
สุดท้ายแล้ว ประชาชนก็ต้องยอมจ่ายเงินใต้โตีะ
(แม้จะไม่อยากจ่าย) เพราะถ้าไม่จ่ายเรื่องก็ไม่เดิน
บางคนกู้เงินมาสร้างบ้าน แต่ขออนุญาติเป็นปีๆ
ก็ไม่ผ่านเสียที จะทำอะไรก็ไม่ได้ ดอกเบี้ยก็เดิน
- ซึ่งปัญหาพวกนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าเรามีกฎหมายที่
ให้การพิจารณา ต้องมีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน
รวมถึงต้องแสดงเหตุผลอันสมควรกรณีไม่อนุญาต
และประชาชนมีสิทธิที่จะขอให้หน่วยงานอื่นตีความ
รวมถึงมีสิทธิยื่นฟ้องร้องเจ้าหน้าที่รัฐต่อศาลได้
ในกรณีที่เห็นว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำตามหน้าที่
หรือเกิดการกลั่นแกล้ง (ซึ่งก็ต้องมีขั้นตอน)
------------------------
*** การคอรัปชั่นประเภทแรกนั้น แก้ไขไม่ยากครับ
อยู่ที่คนมาเป็นรัฐบาลหรือผู้นำของประเทศเวลานั้น
เข้าสำนวนที่ว่า #หัวไม่ส่าย_หางก็ไม่กระดิก นั่นเอง
แต่กรณีคอรัปชั่นประเภทสองนั้น แก้ยากมาก!!
คือ ต้องแก้ที่กฎหมาย และ กระบวนการยุติธรรม
ความตื่นตัวและจิตสำนึกสาธารณะของประชาชน
ระบบการบริหารงาน ที่ต้องมีความโปร่งใสมากขึ้น
(เช่น ระบบการประมุล หรือการเขียนสัญญาต่างๆ)
ซึ่งเป็นงานที่ต้องทำกันยาวนานและต่อเนื่อง
ไม่ต่ำกว่า 10 ปี ถึงจะเห็นผลเลยทีเดียว!!!
- ตัวอย่างฮ่องกง ซึ่งสมัยช่วงปี 1970s นั้น
ฮ่องกงชื่อว่าเป็นเมืองที่มีการคอรัปชั่นสูงมาก
(หนังฮ่องกงแต่ก่อนนี่มีแต่เรื่องตำรวจกับมาเฟีย
จนคนที่ดูหนังฮ่องกงเป็นประจำ นี่อาจจะมีภาพ
ว่ามีคนมาไล่ตีกันทุกวันแบบในหนังเลย หุหุ)
โดยคน 8 ใน 10 คดีคอรัปชั่นก็มักจะเกียวข้อง
กับเจ้าหน้าที่รัฐเสมอ เช่น ตั้งแต่ผู้ออกใบอนุญาต
เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือผู้บริหารของเกาะฮ่องกงเสมอ
- จนประชาชนทนไม่ไหว มีการเรียกร้องให้จัดการ
กับปัญหาคอรัปชั่นอย่างจริงจัง จนเมื่อมีการตัดตั้ง
Independent Commission Against Corruption
หรือ ICAC ซึ่งเป็นองค์กรต่อสู้การคอรปชั่นของรัฐ
(โดยยึดโมเดลของประเทศสิงคโปร์เป็นตัวอย่าง)
- หลังจากนั้นผ่านมาไปกว่า 20 ปี ช่วงปี 1990s
ฮ่องกงกลายเป็นประเทศที่มีอันดับความโปร่งใส
อยู่ที่อันดับ 12-18 จวบจนปัจจุบัน ที่แม้จะเปลี่ยน
จากการปกครองของอังกฤษมาอยู่ภายใต้รัฐบาลจีน
ฮ่องกงก็ยังคงรักษาอันดับประมาณนี้ได้อย่างต่อเนื่อง
http://www.tradingeconomics.com/hong-kong/corruption-rank
*** จะเห็นได้ว่าการต่อสู้กับคอรัปชั่นเชิงระบบนั้น
เป็นเรื่องที่ยากลำบากและกินเวลายาวนานมากๆ
บางประเทศใช้เวลาหลายสิบปี กว่าจะกวาดล้าง
หรือ ปรับปรุงระบบบริหารงานรัฐได้ บางประเทศ
ผู้นำต้องไปไล่ล่าพวกนักการเมืองเก่าๆ ที่มีอำนาจ
และโกงกินเงินประเทศก่อนหลบหนีไปต่างประเทศ
(เช่น กรณีของปูตินที่ไล่ตามเอาเงินของรัสเซียคืน)
*** ของพวกนี้ต้องอาศัย ผู้นำที่มีความเข็มแข็ง
#มีจริยธรรมและคิดเพื่อประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
เป็นผู้วางรากฐานระบบการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น
จากนั้นก็ต้องให้ระบบมันทำงานไปอีก 10-20 ปี
แล้วถึงจะเห็นผลกัน เรียกว่าเป็น #รุ่นสู่รุ่น จริงๆ
ก็หวังว่าประเทศไทยจะมีวันนั้นบ้างนะครับ...
*** การที่ผู้นำรัฐบาล หัวไม่ส่าย หางไม่กระดิก
ก็ถือว่าเป็นการดี แต่แค่นั้นยังไม่สามารถแก้ปัญหา
การคอรัปชั่นได้อย่างถึงแก่นแท้ เพราะมันแก้ได้แต่
คอรัปชั่นจากรัฐบาล แต่ยังไม่ได้แก้คอรัปชั่นเชิงระบบ
ก็หวังว่าจะมีผู้กล้าหาญที่วางระบบเพื่อแก้ไขปัญหานี้
เพื่อคนรุ่นต่อๆ ไปในประเทศของเราเสียทีนะครับ :)
ข่าวและภาพประกอบ:
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1467440979
http://isranews.org/thaireform/thaireform-news/item/48122-act02_48122.html
ด้านล่างนี่คือลิ้งก์บทความการพลิกโฉมหน้า
การต่อสู้คอรัปชั่นของประเทศฮ่องกง โดย CNN
http://edition.cnn.com/2013/10/15/world/asia/china-hong-kong-corruption/