เริ่มแล้ว ร้านค้าสถานประกอบการณ์ต่างๆเริ่มขึ้นป้าย เรื่องลิขสิทธิ์เพลงที่เปิดในร้านกันแล้ว
ได้ข่าวว่าเจ้าหน้าที่ลิขสิทธิ์กวดขันแบบสุดๆ พร้อมจับตลอดเวลา ทุกร้านระวังไว้นะครับ ปรับหนักกันเลยทีเดียว และมีการแฝงตัวเข้าไปเป็นลูกค้าแล้วแสดงตัวจับกุมเฉยเลยก็มี
อ่ะ มีคนถามผมมามากนะ เรื่องการเปิดเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ ในทางทฤษฎีตามตัวบทกฎหมาย ผมไม่ขอลงลึกแล้วกันเพราะผมถือว่าทาง กรมทรัพย์สินทางปัญญา ก็ได้ออกมาชี้แจงแล้ว
ผมจะขอพูดเรื่องในทางปฏิบัติในการจับกุมคดีลิขสิทธิ์แล้วกันเพราะปัญหาที่พบมันเยอะมากตั้งแต่ตัวแทนลิขสิทธิ์มา 4-5 คน เอาเอกสารมาโบก ๆ ให้ดู (เน้นว่าโบก ๆ เพื่อไม่ให้ดูเอกสารอย่างละเอียด) ตำรวจก็มา ยศอะไรไม่รู้ สน. ไหนไม่รู้ บางทีก็มาข้ามเขตรับผิดชอบ เป็นชาวบ้าน งง ๆ ไม่รู้ ทำยังไง? หลายคนกลัวแล้วก็ยอมจ่ายเงินไปเพื่อให้คดีจบ หมดเรื่องราวทั้ง ๆ ที่เกิดอะไรขึ้นยังไม่รู้กันเลย
ถ้าศึกษาเรื่องการจับกุมคดีละเมิดลิขสิทธิ์แล้วทางตำรวจมีคำสั่งที่สำคัญที่ผมรวบรวมมาได้ 3 เรื่องครับคือ
1. คำสั่ง ตร. ที่ 0004.6/8983 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2547 เรื่อง กำชับแนวทางการปฏิบัติของเจ้าพนักงานตำรวจในการดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์คาราโอเกะ
2. คำสั่ง ตร.ที่ 0031.212/03721 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2552 เรื่อง กำชับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตรวจค้นจับกุมคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
3. คำสั่ง ตร.ที่ 0007.23/4330 ลงวันที่ 26 กันยายน 2555 เรื่อง แนวทางปฏิบัติของเจ้าพนักงานตำรวจในการดำเนินคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ลิ้งไม่มีนะครับ คงต้องไปผมเกิลกันเอา
จะสรุปทั้งหมดให้ในโพสนี้ครับ
ความผิดตามพรบ. ลิขสิทธิ์ เป็นความผิดอันยอมความได้ ดังนั้น การที่ตำรวจจะดำเนินการ "จับกุม" จะต้องมีการร้องทุกข์ตามกฎหมายก่อน และ ห้ามดำเนินการใด ๆ ก่อนรับคำร้องทุกข์เด็ดขาด
การร้องทุกข์ตามกฎหมาย อธิบายให้คนทั่วไปฟังแล้วเข้าใจ คือการไปลงประจำวันเกี่ยวกับคดีกับพนักงานสอบสวนที่สน. ครับ ตำรวจก็จะเขียน ๆ บันทึกประจำวันให้เรานั่นแหละครับการร้องทุกข์แต่อย่าสับสนกับ "ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน" นะครับ มันคนละตัวกัน
และเมื่อมีการร้องทุกข์โดยชอบแล้วตำรวจถึงจะดำเนินการตามกฎหมายได้ครับไม่ใช่การพาตำรวจนอกแถวมากับตัวแทนลิขสิทธิ์ 3-4 คนมาเย้ว ๆ ว่า คุณละเมิดลิขสิทธิ์ต้องจ่ายเงินก้อน เท่านี้ ๆ ถึงจะจบคดีได้แล้วพากันไปจ่ายที่สน. บางทีพนักงานสอบสวนไม่รู้เรื่องครับว่าเกิดอะไรขึ้นมาทำ ๆ กันเอง จ่ายที่สน. มีตำรวจ(นอกแถว) มานั่งด้วยบังคับเซ็นเอกสารเพื่อทำให้มันเหมือน official น่าเชื่อถือ มันไม่ใช่นะครับ อันนี้ต้องระวังตัวกันเองนะครับ (จ้างทนายไปเจรจาได้ครับ ตรวจสอบเอกสารให้หมด)
ต่อมาเรื่องหนังสือมอบอำนาจนะครับ สำหรับคนทั่วไปอาจจะเห็นหนังสือมอบอำนาจข้อความยาวเป็นพืด อ่านแล้วตาลายคำว่า "และหรือ" เต็มไปหมดไม่เข้าใจก็อย่าพึ่งตื่นตระหนกตกใจไปครับ ตั้งสมาธินับ 1234 แล้วดูหนังสือมอบอำนาจดูดี ๆ ว่ามอบอำนาจมาถูกต้องหรือไม่?
1. ดูว่าใครมอบอำนาจ นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา
2. มอบอำนาจตรงหรือมอบอำนาจช่วง (มอบช่วงคือมอบต่อมาอีกทอดเหมือนเช่าช่วงแหละครับ)
3. หนังสือมอบอำนาจทำเมื่อไหร่ หมดอายุหรือยัง (หนังสือมอบอำนาจก็มีวันหมดอายุนะครับ ถ้ากำหนดเอาไว้)
4. มอบให้มีอำนาจทำอะไรได้บ้าง
5. เช็คเอกสารแนบท้ายหนังสือมอบอำนาจว่าผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจตรงกับที่ระบุไว้หน้าหนังสือมอบอำนาจหรือไม่ มีรับรองสำเนาถูกต้องมาหรือไม่
6. เช็คบันทึกประจำวันที่เขาลงไว้กับตำรวจว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ มีรับรองสำเนาถูกต้องมาหรือไม่
คร่าว ๆ ก็ประมาณนี้ครับ ถ้ามอบอำนาจไม่ชอบ ร้องทุกข์ไม่ชอบ ถ่ายคลิปตอนโดนเข้ารุมแล้วโทร 191 ให้สายตรวจมาช่วยไล่มันไปให้ไกล ๆ เลย ถ้าจ่ายเงินไปแล้วจะได้เงินกลับมายากนะครับ
สละเวลาอ่านสักนิดเถอะครับ เพื่อความเป็นธรรมของท่านเอง เดี๋ยวนี้มาได้หลายรูปแบบครับ
แหล่งที่มา: ไอนัท ปกรณ์ โพธิ์แสงดา
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10206911667335644&set=a.1178189980366.2025844.1396620170&type=3&theater
Judd Lawye
https://www.facebook.com/Juddlawyer/posts/744591059015890