เมื่อพวกเราสังเกตรอยยิ้มที่ริมฝีปาก ใบหน้าของพวกเราก็จะแสดงออกให้ผู้อื่นรู้ว่าเรากำลังยิ้ม (ลักษณะรอยยิ้มมีหลายแบบ ตั้งแต่ยิ้มเล็กน้อยที่มุมปากไปจนถึงยิ้มในแบบอัตโนมัติที่เห็นกันได้บ่อย ๆ) ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึก อย่างไรก็ตามถ้ากล้ามเนื้อบนใบหน้าเกิดเป็นอัมพาตโดยสารโบท็อกแล้ว กระบวนการที่จะทำความเข้าใจถึงความรู้สึกทางอารมณ์ของคนอื่นก็จะกลับกลายเป็นเรื่องที่ยากขึ้น
การฉีดโบทูลินเข้าไปที่กล้ามเนื้อของใบหน้าซึ่งจะเข้าไปคลายเส้นกล้ามเนื้อที่ใช้แสดงความรู้สึกออกทางสีหน้าและทำให้ผิวพรรณดูอ่อนวัย ซึ่งเป็นผลของการเกิดอัมพาตเพียงเล็กน้อยบนใบหน้า ในขณะที่มันได้ส่งผลกระทบที่ไม่ได้คาดคิดกันมาก่อนคือ สารโบทูลินจะค่อย ๆ ทำให้ความสามารถในการแสดงทางสีหน้าลดลง ผลที่เกิดตามมานี้นักวิทยาศาสตร์จาก SISSA ได้อธิบายในงานวิจัยใหม่ว่า เนื่องจากการหยุดตอบสนองต่อการรับรู้อากัปกิริยาแบบชั่วคราว ถือเป็นกระบวนการที่ช่วยให้พวกเราเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของคนอื่นเหล่านั้นได้โดยอาศัยการแสดงออกถึงอารมณ์เหล่านั้นซ้ำบนร่างกายของพวกเราเอง
ในปัจจุบันพวกเราอาจจะเห็นความสำเร็จทางด้านนี้ไม่มากก็น้อยในบุคคลที่มีชื่อเสียงและชนชั้นสูงทั้งในระดับนานาชาติและชาวอิตาลี แต่ในความเป็นจริงตลาดของวิธีการที่ใช้สารโบท็อกเป็นพื้นฐาน (การรักษาด้วยเครื่องสำอางที่เป็นการนำสารพิษโบทูลินชนิด A มาใช้ประโยชน์) ได้เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับผู้คนเป็นอย่างมาก ซึ่งก่อให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการการรักษาด้วยเครื่องสำอางออกมากว่า 250,000 วิธีในประเทศอิตาลีในปี ค.ศ. 2014 ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ก่อให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นจากการนำสารนี้ไปใช้ หนึ่งในผลลัพธ์ที่ตามมาที่ไม่ได้คาดคิดกันมาก่อนคือ การแสดงออกของอารมณ์ และโดยเฉพาะการรับรู้ข้อมูลทางอารมณ์และการแสดงออกทางใบหน้า Jenny Baumeister อธิบายว่าสารพิษชนิดนี้ทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้าเพียงชั่วคราว เนื่องจากสารพิษจะลดความสามารถในการแสดงออกทางใบหน้าให้ลดลง ซึ่ง Jenny Baumeister เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาวิจัยของ International School for Advanced Studied (SISSA) เมืองตรีเอสเต (ประเทศอิตาลี) และเป็นนักเขียนคนแรกที่ตีพิมพ์ผลการศึกษาใน Journal Toxicon (และได้ทำงานร่วมกับโรงพยาบาล Cattinara ในเมืองตรีเอสเต)
กระบวนการการทำงานของการรับรู้ของ Baumeister มาจากทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ซึ่งเรียกว่า การทำให้ปรากฎเป็นรูปร่าง (embodiment) แนวความคิดก็คือกระบวนการของข้อมูลทางอารมณ์ เช่น การแสดงออกทางสีหน้า เป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องการแสดงออกซ้ำทางอารมณ์ที่มาจากร่างกาย หรืออาจกล่าวได้ว่าเมื่อพวกเราสังเกตรอยยิ้มที่ริมฝีปาก (Stock Image) ใบหน้าของพวกเราก็จะแสดงออกให้ผู้อื่นรู้ว่าเรากำลังยิ้ม (ลักษณะรอยยิ้มมีหลายแบบ ตั้งแต่ยิ้มเล็กน้อยที่มุมปากไปจนถึงยิ้มในแบบอัตโนมัติที่เห็นกันได้บ่อย ๆ) ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึก อย่างไรก็ตามถ้ากล้ามเนื้อบนใบหน้าเกิดเป็นอัมพาตโดยสารโบท็อกแล้ว กระบวนการที่จะทำความเข้าใจถึงความรู้สึกทางอารมณ์ของคนอื่นก็จะกลับกลายเป็นเรื่องที่ยากขึ้น
Jenny Baumeister มีตัวอย่างเรื่องที่ทำการศึกษาเป็นชุดประเมินที่ทดสอบความแตกต่างในการทำความเข้าใจในอารมณ์ก่อนและหลังได้รับการเสริมความงามที่มีการใช้สารโบท็อกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยทำการเปรียบเทียบกับกลุ่มตัวอย่างควบคุมที่เหมือนกันแต่ไม่ได้รับการเสริมความงามด้วยสารโบท็อกซ์ โดยไม่คำนึงถึงประเภทของการตรวจวัด (การตัดสินหรือจำนวนครั้งที่มีการใช้สารโบท็อก) ที่ผลของอัมพาตได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน
Francesco Foroni นักวิจัยของ SISSA ผู้ร่วมศึกษาได้อธิบายว่า “ผลในเชิงลบได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน กล่าวคือ เมื่อการแสดงออกทางใบหน้าน้อยลงแทนที่เมื่อยิ้มรอยยิ้มจะกว้างและรับรู้ได้อย่างชัดเจน ซึ่งยังคงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงแม้ว่าพวกเขาได้รับการเสริมความงามที่มีการใช้สารโบท็อกก็ตาม การแสดงออกทางใบหน้าก็ไม่ควรถูกบดบังไป” “สำหรับการทดสอบด้วยการใช้ตัวกระตุ้นที่หลากหลายและเข้มงวด ถึงแม้ว่ามันมีแนวโน้มที่ชัดเจนว่าการแสดงออกนั้นแย่ลงก็ตาม แต่ผลการศึกษาที่ได้ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้สำหรับตัวกระตุ้นที่ไม่ชัดเจนนั้นยากกว่าที่จะหยิบยกขึ้นแต่กลับมีผลกระทบผลต่อการเป็นอัมพาตอย่างรนแรงมาก”
การค้นพบได้ยืนยันสมมติฐานที่ตั้งแบบจำกัดขอบเขตว่า กระบวนการภายในร่างกายสามารถช่วยให้เราเข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ ได้ ดังนั้นจึงอาจจะเกิดความเข้าใจผิดที่อิทธิพลมาจากสารโบท็อก ตัวอย่างเช่น การสนทนาปกติระหว่างคน 2 คนที่เข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่าย เป็นปฏิกิริยาโต้ตอบทางสังคมที่เหมาะสมของสิ่งมีชีวิต การล้มเหลวจากการรับรู้ถึงอารมณ์ที่แตกต่างกันเล็กน้อยหรือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ทันที สามารถทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างการสนทนาที่ประสบความสำเร็จและการสนทนาที่ล้มเหลวได้
Foroni กล่าวว่า การศึกษาของเราได้ถูกคิดขึ้นเพื่อตรวจสอบหาความจริงถึงการรับรู้ของตัวตน ในเวลาเดียวกันพวกเราคิดว่าการรับรู้ในเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำยามาใช้เกี่ยวกับความงามและเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังค้นหาและจะใช้สารโบท็อกสำหรับการบำบัดรักษา
ที่มา https://www.sciencedaily.com/releases/2016/05/160512085113.htm
http://schorr.edu.pl/moodle16/products.php?ps656=56
เอกสารอ้างอิง
J.-C. Baumeister, G. Papa, F. Foroni. Deeper than skin deep – The effect of botulinum toxin-A on emotion processing. Toxicon, 2016; 118: 86 DOI: 10.1016/j.toxicon.2016.04.044