"หอคอยเก็บน้ำ"สิ่งประดิษฐ์อันชาญฉลาดที่ช่วยให้ชาวแอฟริกาเข้าถึงน้ำสะอาดได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้า
อย่างที่เรารู้กันดีว่ามีจำนวนประชากรมากถึง 36% ของแอฟริกาที่ยังไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมากมาย ดังนั้นทีมงานสถาปัตยกรรมจึงได้คิดออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหานี้
ด้วยการสร้าง "หอคอยเก็บน้ำ" ที่ทำมาจากไม้ไผ่นำมาสานกันเป็นรูปแจกัน และพลาสติกที่ทำมาจากเส้นใยไนลอนและพอลิโพรไพลีนที่สามารถย่อยสลายได้ทำใหน้าเป็นอุโมงค์ขนาดเล็กในการรวมตัวของน้ำ โดยเรียกมันว่า "Warka Water"
หลายคนคงสงสัยว่ามันกักเก็บน้ำได้อย่างไรและนำน้ำจากไหนมากักเก็บไว้? โดยใช้ประโยชน์จากการรวมตัวกันของไอน้ำในบรรยากาศ เมื่อไอน้ำรวมตัวกันเป็นน้ำมันก็จะถูกเก็บไว้ในอุโมงค์ที่ทำมาจากพลาสติก และหยดน้ำจะไหลไปตามตาข่ายลงไปยังฐานหอคอยด้านล่าง เรียกว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและอุปกรณ์เสริมเพียงเล็กน้อย โดยไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงานเลย
หอคอยมีความสูง 33 ฟุต มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 ฟุต และหนัก 88 ปอนด์ มันสามารถกักเก็บน้ำในแต่ละวันได้มากถึง 26 แกลลอนเลยทีเดียว ทั้งยังสร้างได้ง่ายภายในเวลา 1 สัปดาห์เท่านั้น และมีค่าใช้จ่าย 550 ดอลลาร์สหรัฐ/หอคอย
รูปร่างของหอคอยถูกออกแบบให้มีลักษณะคล้ายกับ Warka เป็นต้นไม้ที่เติบโตในประเทศเอธิโอเปีย ทั้งมันยังเป็นสัญลักษณ์ของระบบนิเวศและสหภาพวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์อีกด้วย
นับว่าเป็นไอเดียที่ดีและเหมาะสำหรับชุมชนที่ห่างไกลความเจริญแต่ประสบปัญหาขาดน้ำเป็นอย่างมาก นอกจากจะไม่ใช้ไฟฟ้าแล้วยังช่วยให้คนเข้าถึงน้ำสะอาดได้อย่างง่ายดายอีกด้วย
ข้อมูลและภาพประกอบจาก "brightside.me"