(คลิป)นาทีชีวิต! ฉันก็รักชีวิตของฉัน เมื่อผู้ล่ากลายเป็นผู้ถูกล่า ภาค 3 สิงโตปะทะควาย กลางป่าแซมเบีย
นายแมท อาร์มสตรอง ฟอร์ด วัย 25 ปี ไกด์นำเที่ยวของบริษัททัวร์แห่งหนึ่งในอังกฤษ ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่าเขาไม่เคยพบเห็นอะไรเช่นนี้มาก่อนเลยในชีวิต มันเป็นการต่อสู้อันดุเดือด ระหว่างสิงโตที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าป่า กับควายที่เป็นเมนูอันโอชะ แต่ในครั้งนี้ดูเหมือนว่าเจ้าควายจะได้เปรียบมากกว่าคู่กรณีที่อยู่สภาพผอมโซจนเห็นได้ชัด
นับเป็นเรื่องน่าเศร้าที่ท้ายที่สุดแล้ว กลับไม่มีใครเป็นผู้ชนะอย่างแท้จริง เพราะในเวลาต่อมาทั้งสิงโตและควายที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากบาดแผลฉกรรจ์ต่างก็สิ้นใจตายทั้งคู่
ควายป่า (อังกฤษ: Wild water buffalo; มราฐี: पाणम्हैस) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bubalus arnee
มีลักษณะคล้ายควายบ้าน (B. bubalis) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ควายป่าแต่มีลำตัวขนาดลำตัวใหญ่กว่า มีนิสัยว่องไวและดุร้ายกว่าควายบ้านมาก สีลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลดำ ขาทั้ง 4 สีขาวแก่หรือสีเทาคล้ายใส่ถุงเท้าสีขาว ด้านล่างของลำตัวเป็นลายสีขาวรูปตัววี (V) ควายป่ามีเขาทั้ง 2 เพศ เขามีขนาดใหญ่กว่าควายบ้านมาก วงเขากางออกกว้างโค้งไปทางด้านหลัง ด้านตัดขวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายเขาเรียวแหลม
ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่เกือบ 2 เมตร ความยาวหัวและลำตัว 2.40–2.80 เมตร ความยาวหาง 60–85 เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า 1,000 กิโลกรัม
มีการกระจายพันธุ์จากประเทศเนปาลและอินเดีย ไปสิ้นสุดทางด้านทิศตะวันออกที่ประเทศเวียดนาม ในประเทศไทยปัจจุบัน เหลืออยู่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานีเท่านั้น โดยจำนวนประชากรที่มีมากที่สุดในธรรมชาติในปัจจุบัน คือ ที่อุทยานแห่งชาติกาจิรังคา ในรัฐอัสสัม ของอินเดีย ประมาณ 1,700 ตัว[2]
หากินในเวลาเช้าและเวลาเย็น อาหารได้แก่ พวกใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ หลังจากกินอาหารอิ่มแล้ว ควายป่าจะนอนเคี้ยวเอื้องตามพุ่มไม้ หรือนอนแช่ปลักโคลนตอนช่วงกลางวัน ควายป่าจะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ราว ๆ เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 10 เดือน ควายป่ามีนิสัยดุร้ายโดยเฉพาะตัวผู้และตัวเมียที่มีลูกอ่อน เมื่อพบศัตรูจะตีวงเข้าป้องกันลูกอ่อนเอาไว้ มีอายุยืนประมาณ 20–25 ปี โดยควายป่ามักตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อ โดยเฉพาะเสือโคร่ง ในอินเดีย ควายป่ามักอาศัยอยู่ร่วมในพื้นที่เดียวกับแรดอินเดีย ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย แม้จะเป็นสัตว์กินพืชเหมือนกัน แต่ก็มักถูกแรดอินเดียทำร้ายอยู่เสมอ ๆ จนเป็นบาดแผลปรากฏตามร่างกาย[3]
สถานภาพในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2535[4]
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ "VOTE" และ "SHARE"
Followers https://page.postjung.com/beammc2
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี