มอเตอร์ไซค์ไม่มีสิทธิ์ คนจนมีสิทธิ์มั้ยครับ
โพสท์โดย คุณกิน
ถ้าจำไม่ผิด...ราวต้นเดือนเมษายน ที่ผ่านมา...มีคำสั่ง
ห้ามไม่ให้ “รถจักรยานยนต์” ใช้สะพานลอยข้ามแยก 39 แห่งและห้ามลงอุโมงค์ 9 แห่ง พูดง่ายๆ...“มอเตอร์ไซค์ไม่มีสิทธิ์”
อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ให้ทัศนะว่า ที่จริงเรื่องนี้ก็ไม่มีอะไรมากและไม่ควรนำไปโยงกับเรื่องความปลอดภัยหรือกฎหมายจราจรใดๆ ให้เสียเวลา
“คำสั่งห้ามมอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานลอยและห้ามลงอุโมงค์ มีที่มาที่ไปอยู่อย่างเดียวละครับ คือ สังคมไทยเป็นสังคมแห่งความเหลื่อมล้ำ มีการ เอารัดเอาเปรียบผู้มีรายได้น้อยและมีความไม่เท่าเทียมกัน คนจนที่มีรายได้น้อยที่ใช้มอเตอร์ไซค์เป็นยานพาหนะจึงไม่มีความสำคัญในสังคมนี้...ไม่มีสิทธิ์”
การเป็นห่วงเป็นใยความปลอดภัยผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์บนท้องถนนก็เป็นสิ่งที่ฟังลำบากจริงๆ แต่ก็ยังเอาสีข้างแถกันไปได้หน้าซื่อๆ หากไม่ปลอดภัยแล้วทำไมไม่ออกคำสั่งห้ามมอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานลอยทั่วประเทศไทย
สะพานนวรัฐที่เชียงใหม่ สะพานสารสินที่ภูเก็ต สะพานศรีสุราษฎร์ที่สุราษฎร์ธานีก็มีมอเตอร์ไซค์ขึ้นลงทุกวัน ไม่เห็นมีใครเป็นห่วงเป็นใยบ้างเลย ส่วนการลงอุโมงค์ก็เช่นกัน หากมอเตอร์ไซค์ลงอุโมงค์แล้วมีอุบัติเหตุ...ก็น่าจะประกาศห้ามมอเตอร์ไซค์ลงอุโมงค์ทั้งประเทศไปเลย รวมทั้งอุโมงค์ดินแดงหรืออุโมงค์ลอดต่างๆที่เชียงใหม่ด้วย
แต่ที่สะท้อนใจมากที่สุดและเป็นคำสรุปในตัวมันเองคือคำตอบที่บอกว่า “สะพานลอยข้ามแยกและอุโมงค์” เหล่านี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อมอเตอร์ไซค์...จบมั้ย “ประโยคนี้ฟังแล้วต้องบอกเลยว่าอึ้งจริงๆ และไม่เคยคิดเลยว่าข้าราชการของประชาชนจะพูดคำเช่นนี้ออกมาได้ ความหมายคือว่า...ประชาชนคนไทยด้วยกันที่มีรายได้น้อยและใช้มอเตอร์ไซค์ทั่วประเทศไม่เคยอยู่ในความสนใจของผู้บริหารบ้านเมืองเลย”
การออกแบบถนน สะพาน อุโมงค์จึงไม่ได้สนใจเลยว่าคนขี่มอเตอร์ไซค์ที่ต้องตากแดดตากฝนหาเช้ากินค่ำเขาจะเดินทางกันยังไง จะมีเลนมอเตอร์ไซค์ให้เขามั้ย หรือจะแบ่งช่องทางการใช้ถนนอย่างเป็นธรรมกันอย่างไร เหมือนกับจะบอกว่าท้องถนนในเมืองนี้สร้างมาเพื่อคนรวยที่เป็นเจ้าของรถยนต์เท่านั้น ส่วนมอเตอร์ไซค์ไม่มีสิทธิ์
ในทุกจังหวัดมอเตอร์ไซค์เป็นยานพาหนะที่สำคัญสำหรับคนไทย ครอบครัวคนไทยจำนวนมากกว่าครึ่งใช้มอเตอร์ไซค์เพื่อการเดินทางเป็นหลัก บางบ้านพ่อขี่มอเตอร์ไซค์ไปทำงาน มีลูกนั่งกลางแล้วให้แม่ซ้อนท้าย
ภาพแบบนี้มีให้เห็นทั่วไปในประเทศไทย สำหรับคนหนุ่มสาวที่เริ่มมีรายได้ มอเตอร์ไซค์ก็เป็นพาหนะที่ราคาประหยัดสามารถหาซื้อกันได้ไม่แพงนัก นักเรียน นักศึกษา รวมทั้งเกษตรกรจำนวนมากก็ใช้มอเตอร์ไซค์เพื่อการเดินทาง นอกจากนั้น การใช้มอเตอร์ไซค์ยังเป็นการประหยัดพลังงานของประเทศ ประหยัดพื้นที่บนท้องถนน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไฉน...ในสายตาผู้บริหารประเทศ มอเตอร์ไซค์กลับไม่มีความสำคัญ
ข้อมูลของกลุ่มสถิติ กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก พบว่า ยานพาหนะที่นิยมใช้ในประเทศไทยมี 3 ประเภทเท่านั้น ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล หรือปิกอัพ รถจักรยานยนต์ โดย ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 ประเทศไทยมีจำนวนยานพาหนะจดทะเบียนสะสมทั้งหมดประมาณ 34 ล้านคัน
หากพิจารณาความสำคัญของมอเตอร์ไซค์แล้วพบว่าสัดส่วนรถจักรยานยนต์ต่อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คนบวกกับรถบรรทุกส่วนบุคคลนั้นสูงถึงร้อยละ 60 และถึงแม้พิจารณาเฉพาะกรุงเทพฯ สัดส่วนการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์อยู่ที่ประมาณ 3 ล้านกว่าคัน หรือร้อยละ 40
ดังนั้น ถ้าจะมาบอกว่าสะพานข้ามแยกและอุโมงค์ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับผู้เป็นเจ้าของ ยานพาหนะที่เป็นจักรยานยนต์ร้อยละ 40-60 ของประเทศ ย่อมสะท้อนจิตใจของผู้บริหารประเทศนี้ว่า “ผู้มีรายได้ น้อย” ไม่มีความสำคัญ คนจนเก็บหน่อไม้ในป่า...ก็ถูกปรับ คนจนเอาซีดีที่ใช้แล้วมาวางขาย...ก็ถูกจับ
“แต่...ลูกคนรวยขับรถชนคนตายกลับไม่ต้องรับโทษ แม้แต่จะขอตรวจแอลกอฮอล์ยังไม่กล้าเลย ทั้งๆที่คนธรรมดาที่ไม่ได้ขับรถชนใครตายยังโดนตรวจแอลกอฮอล์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”
ลองมาฟังเหตุผลของทางราชการดูว่าวิธีคิดของเขาเป็นอย่างไร มีความเที่ยงธรรมหรือไม่ การที่บอกว่ามอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานข้ามแยกแล้วเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งก็เป็นการใช้เหตุผลที่แปลกๆ คำถามคือ แล้วทำไมเวลามอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานข้ามคลองจึงไม่เกิดอุบัติเหตุ แล้วอุบัติเหตุที่เกิดบนสะพานข้ามแยกมีสาเหตุมาจากอะไร?
...มีสาเหตุมาจากเฉพาะมอเตอร์ไซค์บางคันขับขี่อย่างประมาทขณะขึ้นสะพาน หรือเกิดเพราะรถยนต์ใช้ความเร็วสูงขณะอยู่บนสะพาน หรือมอเตอร์ไซค์โดนรถใหญ่เบียด การเกิดอุบัติเหตุกับมอเตอร์ไซค์บนสะพานนั้นมีจริง แต่สาเหตุคงไม่ใช่เป็นเพราะมอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานข้ามแยก แต่คงเป็นเพราะปัจจัยอื่นๆมากกว่า ที่ต้องได้รับการแก้ไข ไม่ว่าจะเรื่อง...ใช้ความเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด การขับขี่คร่อมเส้นจราจร หรือการแซงบนสะพาน
สิ่งเหล่านี้ต้องมีการควบคุมจับปรับอย่างเคร่งครัดไม่ว่าผู้กระทำผิดจะเป็นรถยนต์ รถบรรทุก รถเบนซ์ หรือมอเตอร์ไซค์ หมายความว่า...หากรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ล้วนขึ้นสะพานข้ามแยกและลงอุโมงค์ด้วยความเร็วที่กฎหมายกำหนดและขับขี่ในช่องการจราจรอย่างถูกต้อง ไม่แซงซ้ายขวา รับรองเลยว่า...จะไม่เกิดอุบัติเหตุแน่นอน
“การมาอ้างว่ามอเตอร์ไซค์ที่ขึ้นสะพานข้ามแยกหรือลงอุโมงค์เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุจึงเป็นการใช้เหตุผลแบบเอาสีข้างเข้าถูจริงๆเหมือนกับจะบอกว่าต้นตอของอุบัติเหตุที่แท้จริงคืออะไรไม่สนใจ แต่สนอย่างเดียว...ต้องการห้ามไม่ให้มอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานข้ามแยก ห้ามลงอุโมงค์ เพราะอะไรก็คิดกันเอาเอง”
ประเด็นสำคัญ...อีกประการหนึ่งคือ “กรณีสะพานภูมิพลข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา” ที่อ้างมีปัญหาลมแรง...นำไปสู่อุบัติเหตุบนสะพาน ในประเด็นนี้ผู้ออกแบบสะพานก็ออกมายืนยันแล้วว่าหากมีการแบ่งช่องทางเดินรถให้รถบรรทุก หรือมอเตอร์ไซค์โดยเฉพาะ และมีการควบคุมความเร็วให้เหมาะสม ปัญหาอุบัติเหตุก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น
ส่วนเรื่องการเปลี่ยนเลนในช่วงแยกสามทางบนกลางสะพานนั้น จะมาอ้างว่าหากมอเตอร์ไซค์ที่ใช้ความเร็วต่ำต้องมาเปลี่ยนช่องทางตรงกลางสะพานและจะนำไปสู่อุบัติเหตุก็จะเกิดคำถามตามมาว่า...แล้วทำไมรถบรรทุกจำนวนมากที่ใช้ความเร็วต่ำขณะอยู่บนสะพานภูมิพลก็ต้องเปลี่ยนช่องทางกลางสะพานเช่นกัน...
แต่ทำไมรถบรรทุกทำได้และไม่เกิดอุบัติเหตุ แต่ทำไมมอเตอร์ไซค์จึงเปลี่ยนเลนไม่ได้
การที่หน่วยงานภาครัฐอ้างว่าจากการรวบรวมข้อมูลอุบัติเหตุบนสะพานภูมิพล พบว่าร้อยละ 21 ของอุบัติเหตุที่เกิดบนสะพานภูมิพลเกิดจากรถจักรยานยนต์ จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพราะถือว่าเป็นอัตราการเกิดอุบัติเหตุที่สูง และเป็นสาเหตุของการห้ามรถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานภูมิพล เหตุผลนี้ก็ฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน
อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ย้ำว่า หากร้อยละ 21 ของอุบัติเหตุเกิดกับจักรยานยนต์เป็นอัตราที่สูงและต้องแก้ไข ผมก็อยากทราบว่าแล้วอุบัติเหตุที่เหลืออีกร้อยละ 79 ก็ต้องเป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับรถยนต์ และ...หรือรถบรรทุกที่ขึ้นสะพานภูมิพลไม่เป็นอัตราที่สูงกว่าจักรยานยนต์ถึง 3 เท่าหรือ
“ถ้าเป็นเช่นนี้ทำไมภาครัฐไม่ประกาศห้ามรถยนต์ และ...หรือ รถบรรทุกขึ้นสะพานภูมิพลไปด้วย หากไม่ใช่เพราะความลำเอียง ความไม่เห็นความสำคัญของผู้มีรายได้น้อย และความไม่เป็นธรรมของภาครัฐ ก็ไม่รู้จะหาเหตุผลอะไรมาอธิบายเรื่องนี้ได้”
ท้ายสุดอยากวิงวอนว่ากฎหมายต้องไม่เอื้อประโยชน์เฉพาะคนมีฐานะดีที่ขับรถเบนซ์หรือรถอะไรก็ตาม แต่กฎหมายต้องให้สิทธิ์กับทุกคนอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ จักรยาน คนเดินเท้า
ประโยคหนึ่งที่ได้ฟังมาและคิดว่าเป็นข้อคิดสำคัญสำหรับกรณีนี้คือ... “ท่านเจ้าของรถยนต์ทั้งหลาย ท่านเป็นเพียงเจ้าของรถนะครับ ท่านไม่ใช่เจ้าของถนน...ถนนต้องเป็นของคนไทยทุกคน ไม่ใช่เพราะพวกเราเสียภาษี ดังนั้นพวกเราจึงมีสิทธิ์ แต่เป็นเพราะเราเป็นคนเหมือนกัน” ...กฎหมายจึงต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ถึงแม้ในใจลึกๆของผู้บริหารประเทศนี้จะรักใคร่คนรวยมากกว่าคนจนก็ตาม?
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
76 VOTES (4/5 จาก 19 คน)
VOTED: igolf, นนท์คัฟ, HellCat, ซาอิ, เอ๋ง ไม่ดัดจริต, uta, 916, เด็กโข่ง, แสร์, Liuqiang, tOmgAng at postjung, เสียสติ, zerotype, Rohm the Teacher, แอนตี้ โลกาภิวัตน์
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ทักษิณ-พิธา” คุยยิ้มแย้ม ร่วมงานแต่ง สส. ‘พท.-ปชน.มาวิธีสำรวจตัวเอง ว่าเข้าข่าย “ภาวะอ้วนลงพุง” หรือไม่ ?ครอบครัวศรีวัฒนประภายื่นฟ้อง ผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์ เรียกค่าเสียหาย 2,148 ล้านปอนด์หรือประมาณ 9.1 หมื่นล้านบาทคู่จิ้นดัง สานรัก 11 ปี เตรียมเข้าสู่ประตูวิวาห์เปิดเหตุผลว่า ทำไมนักดับเพลิงถึงไม่ใช้น้ำทะเลดับไฟป่าที่โหมไหม้อยู่ในแอลเอขณะนี้ ทั้งๆที่อยู่ใกล้ทะเลขนาดนั้นLifestyle Inflation กับดักชีวิต ทั้งที่มีรายได้เยอะ ยิ่งรวย แต่ยังไม่มีเงินเก็บดราม่าสนั่น!! เมื่อ 'พีท ทองเจือ'เผยได้รับพลังงานมนุษย์ต่างดาวรักษาโรคHot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ดราม่าสนั่น! ‘ผบ.นรด.’ เสนอไอเดีย “จ่ายจบ ไม่ต้องเกณฑ์” จุดกระแสถกเถียงทั่วประเทศหมอจอยถูกบูลลี่จนคนแห่ให้กําลังใจแต่พบว่าเป็นบุคลสําคัญกว่าที่คิดคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ติงการปราศรัยของทักษิณ ว่าส่อเหยียดเชื้อชาติของคนแอฟริกันกระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
ฮือฮา!ผู้ใหญ่บ้าน เมืองคอน ขึ้นช้าง - จุดประทัดแก้บน “ ตาขุนพล หมื่นไกรพลขันธ์ทักษิณ’ อวยพรคู่บ่าวสาว ต่างพรรคก็ร่วมงานกันได้ วันนี้บ้านเมืองต้องสามัคคี พร้อมยกคำสอนลูก-คนเพื่อไทย ให้แต่งเข้า อย่าแต่งออก ด้าน ‘พิธา’ มั่นใจมืออาชีพทั้งคู่ แยกแยะงานการเมืองได้🫶🎉ครอบครัวศรีวัฒนประภายื่นฟ้อง ผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์ เรียกค่าเสียหาย 2,148 ล้านปอนด์หรือประมาณ 9.1 หมื่นล้านบาททักษิณ-พิธา” คุยยิ้มแย้ม ร่วมงานแต่ง สส. ‘พท.-ปชน.มา