กระตุ้นรัฐซื้อเบี้ย ประกันภัย คุ้มครองนักท่องเที่ยว 29 ล้านคน
สมาคมฯ ได้ชงเรื่องเสนออัตราเบี้ย ประกันภัย ให้ความคุ้มครองนักท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวนเพิ่มถึง 29 ล้านคน อัตราเบี้ย ประกันภัย เฉลี่ยเพียงปีละ 50 ล้านบาท
สมาคมวินาศภัย กระตุ้นรัฐซื้อความคุ้มครองภัยก่อการร้าย-กฎอัยการศึก ให้ “นักท่องเที่ยว” ระบุ 29 ล้านคน คิดเบี้ย ประกันภัย เหมาเพียง 50 ล้านบาท ยันรีอินชัวร์เรอส์ยังไม่ปิดทางรับ ประกันภัย ไทย เปิดหลักสากล 3 ข้อ เข้าข่ายภัยก่อการร้าย
ด้านนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีบริษัท ประกันภัย ต่อต่างประเทศ (รี อินชัวร์เรอรส์) สอบถามถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเข้ามา แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ภายในประเทศไม่มีผลต่อการตัดสินใจ ว่าจะเลิกรับ ประกันภัย ต่อ รวมถึงยังไม่มีสัญญาณว่า จะปรับลดระดับเครดิตเรตติ้งของประเทศไทยลง หากเทียบกรณีความเสียหายจากสถานการณ์ครั้งนี้ กับเหตุการณ์เผาห้างเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ปี 2553 ซึ่งสร้างความเสียหายต่างกัน โดยเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นโดยที่ประกันวินาศภัยไม่ทันตั้งตัว แม้จะเกิดระเบิดเพียงครั้งเดียว ดังนั้นจึงต้องติดตามสถานการณ์ว่า จะเกิดเหตุอื่นใดอีกหรือไม่ ส่วนเหตุการณ์ปี 2553 มีความรุนแรงขึ้นอย่างเป็นลำดับ และเกิดเหตุเสียชีวิตในช่วงท้าย
สำหรับผลกระทบระยะสั้นนั้น แน่นอนว่าต้องมีผลต่อการท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีน เนื่องจากที่เกิดเหตุมีผู้เสียชีวิตถึง 20 ราย อีกทั้งเกิดขึ้นใจกลางกรุงเทพฯ โดยหวังผลต่อชีวิต ทั้งนี้หากรัฐบาลสามารถคลี่คลาย ก็ไม่น่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจระยะยาว เนื่องจากปัจจัยบวกเหลือเพียง “ภาคท่องเที่ยว” เครื่องยนต์เดียวที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ขณะที่ภาคการส่งออกยังคงติดลบ หรือภาคการอุปโภคบริโภคยังไม่ฟื้นตัวดี จากการที่ชาวนาเลื่อนการปลูกข้าว และราคาสินค้าเกษตรยังไม่ฟื้นตัวเช่นกัน
ทั้งนี้เมื่อปี 2557 ที่ผ่านมาสมาคมฯ ได้ชงเรื่องเสนอไปยังกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อีกครั้งถึงอัตราเบี้ย ประกันภัย ที่ให้ความคุ้มครองนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่มีจำนวนเพิ่มถึง 29 ล้านคน แต่คิดอัตราเบี้ย ประกันภัย ที่ถูกลงคือ เฉลี่ยเพียงปีละ 50 ล้านบาท ที่สำคัญวงเงินความคุ้มครองกรณีบาดเจ็บ และเสียชีวิตอยู่ที่รายละ 1 หมื่นดอลลาร์สหรัฐฯ (จำนวน 3.5 แสนบาท) แต่ภายหลังทราบว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตัดสินใจซื้อ ประกันภัย ที่ปีละ 200 ล้านบาท โดยสมาคมฯ ไม่ทราบว่าถึงสาเหตุของการตัดสินใจดังกล่าว
อย่างไรก็ดี แต่กรณีเหตุการณ์ครั้งนี้ หากรัฐบาลสนใจ ทางสมาคมสามารถขายความคุ้มครองได้ทันที เนื่องจากได้จัดทำเป็นกรมธรรม์มาตรฐาน คุ้มครองถึงพื้นที่ ที่ประกาศเป็นกฎอัยการศึก และภัยจากการก่อการร้าย ซึ่ง ประกันภัย มาตรฐานทั่วโลกนั้น จะไม่คุ้มครองกรณีภัยก่อการร้ายอยู่แล้ว แต่หากเป็นสถานการณ์ปกติ จะเป็น ประกันภัย ประกันอุบัติเหตุ หรือประกันชีวิต ก็ยังให้ความคุ้มครอง
โดยตามหลักสากล การประเมินว่าเป็นภัยก่อการร้ายหรือไม่นั้น โดยจะประเมินจาก 3 ประเด็นคือ
1. มีผู้ก่อเหตุตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป หรืออาจเป็นการก่อเหตุโดยกลุ่มคนจำนวนมาก
2. มีการใช้ความรุนแรง เช่น ใช้อาวุธ ปืน ระเบิด และ
3. มีการนำประเด็นด้านสิทธิ การเมือง ความเชื่อ และศาสนาเข้ามาอยู่ในขบวนการ
ดังนั้นหากเข้าข่ายทั้ง 3 ข้อ อาจถูกประกาศเป็นภัยก่อการร้ายได้ โดยต้องรอข้อมูลสรุปผลจากฝ่ายพิสูจน์หลักฐานอีกครั้ง
ด้านเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า กรณีผู้ที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิต หากทำประกันชีวิตหรือ ประกันภัย ไว้ สามารถได้รับความคุ้มครอง กรณีที่เป็นชาวต่างชาติ สามารถรับสินไหมจากบริษัท ประกันภัย ที่ทำไว้ในต่างประเทศ อย่างไรก็ดีในระยะสั้น จะกระทบต่อความเชื่อมั่นภาคการลงทุน
“ทั้งนี้คงต้องประเมินในส่วนของรัฐบาล ว่าจะประกาศเป็นภัยก่อการร้ายหรือไม่ เนื่องจากปกติกรมธรรม์ ประกันภัย มาตรฐาน จะคุ้มครองในสถานการณ์ปกติเท่านั้น แต่หากเป็นพื้นที่ที่ประกาศภัยก่อการร้ายแล้ว กรมธรรม์จะตัดความคุ้มครอง ทั้งการชดเชยแก่ผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตจากภัยก่อการร้ายออกไปทันที ดังนั้นผู้เสียหายจะไม่สามารถเคลมสินไหมจากบริษัท ประกันภัย ต่างๆ โดยจะตัดความคุ้มครองออกไปเหมือนกันทุกประเทศ ซึ่งจะไม่คุ้มครองเลย หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นภัยก่อการร้าย”