James Hansen ผู้เชี่ยวชาญสภาพอากาศเตือนโลกร้อนเวลานี้เกิดในอัตราเร็วกว่าที่เคยเกิดรุนแรงสุดเมื่อ 55 ล้านปีก่อน
เมื่อ 55 ล้านปีที่แล้ว เคยเกิดภาวะโลกร้อนครั้งใหญ่สุด เกิดการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์มากมาย ซึ่งขณะนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์พบว่า โลกในปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่จุดนั้นอีกครั้งในความเร็วที่สูงกว่า
ภาวะโลกร้อนที่เลวร้ายทีสุดเมื่อ 55 ล้านปีที่แล้วเป็นช่วงที่เรียกว่า PETM (Paleocene–Eocene Thermal Maximum) ซึ่งเกิดในช่วงรอยต่อของยุคพาลีโอซีน-อีโอซีน ระดับอุณหภูมิทั่วโลกในตอนนั้นเพิ่มขึ้นเกือบราว 5 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวงเเก่ระบบนิเวศน์ของโลก และทำให้เกิดสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์จำนวนมหาศาล
ล่าสุดจากการเปิดเผยของดกอเตอร์ James Hansen อดีตนักวิทยาศาสตร์แห่งองค์การสำรวจอวกาศแห่งสหรัฐฯ หรือนาซา เซึ่งได้ศึกษาร่วมกับทีมงานและได้ตีพิมพ์นรายงานของผลการศึกษาที่ยาว 52 หน้าในวารสารวิทยาศาสตร์ Atmospheric Chemistry and Physics พบว่ามนุษย์ในยุคปัจจุบันกำลังปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปสู่ชั้นบรรยากาศอย่างรวดเร็วกว่าที่เกิดขึ้นในช่วง PETM เมื่อ 55 ล้านปีที่แล้ว
ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเริ่มปรากฏให้เห็น เช่นปรากฏการณ์ที่ทีมนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า stratification ที่ทำให้เกิดมีหย่อมน้ำเย็นขึ้นเป็นจุดๆ บนผิวหน้าของมหาสมุทร หย่อมน้ำเย็นนี้มาจากการละลายของเเผ่นน้ำเเข็งขั้วโลกที่มีสาเหตุมาจากน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น การละลายนี้กเกิดแบบกลับด้าน คือละลายจากด้านล่างก่อน ผลสุดท้ายจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งยังพบภาวะแบ่งแยกตัวของน้ำอุ่นและน้ำเย็นทางชายฝั่งตอนใต้ของกรีนแลนด์ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะนำไปสู่ความเเตกต่างมากขึ้นทางอุณหภูมิระหว่างขั้วโลกเหนือเเละใต้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพายุหมุนเขตร้อนอันได้แก่พายุไต้ฝุ่น เฮอริเคนหรือไซโคลนที่รุนแรงขึ้น
อย่างไรก็ตาม Richard Alley ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านธารน้ำแข็ง (glaciologist) แห่งมหาวิทยาลัย Penn State ในฐานะหนึ่งในผู้เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการศึกษานี้ชี้ว่า ผลการศึกษานี้ช่วยเป็นคำเตือนแก่คนเราว่า เป็นไปได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกครั้งใหญ่และรวดเร็ว เพียงแต่เราไม่รู้ว่าผลสุดท้ายจะรุนแรงแค่ไหน เกิดมากเท่าในยุคโบราณหรือ PETM หรือไม่