“ลิง” เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ได้หรือไม่?
เรื่องของเรื่องคือ Wikipedia ได้นำภาพ ลิงถ่าย Selfie ภาพตัวเองมาลงในฐานข้อมูลภาพของ website David Slaterเป็นช่างภาพชาวอังกฤษที่ได้ไปเก็บภาพธรรมชาติในป่าอินโดนิเซีย ขณะเก็บภาพ อาจจะเผลอวางกล้องไว้ ก็มีลิงตัวหนึ่งมาหยิบกล้่องไปและถ่ายรูปตัวเอง … ได้ภาพสุดฮา
คุณเดวิด ก็คงจะนำภาพไป post ในเวปบอร์ด เว็ปไซต์ และหนังสือพิมพ์ ต่างๆปรากฎว่า ทาง Wikipedia ก็นำภาพนั้นไปอยู่ในระบบ Wikipedia Commons ซึ่งเป็นระบบ Royalty Free (หรือออกแนว public domain ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน) ทำให้ใครสามารถนำไปแสวงหาประโยชน์ได้อย่างอิสระ
David จึงร้องเรียนต่อทาง Wikipedia ว่า เฮ้ย ภาพนั้นเป็นของเขาเองไม่ใช่งานที่ไม่มีลิขสิทธิ์ หรือ Royalty Free เข้าใจว่าในการโต้เถียงระหว่าง David กับทาง Wikipedia ทาง Wiki บอกว่า “ถ้าลิงถ่าย ลิขสิทธิ์ก็เป็นของลิง ไม่ใช่ของคุณ”
…กลับมาฝั่งบ้านเรา ในคลาสกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหลักทั่วไปคือ ต้องเป็น ‘งานสร้างสรรค์’ และมี ‘ผู้สร้างสรรค์’ ที่อาจจะได้ลิขสิทธิ์โดยอัตโนมัติ คำถามคือ ถ้าเด็กทารก….เผลอไปกด shutter ถ่ายภาพ … เด็กทารกที่ไม่รู้เดียงสาจะได้ลิขสิทธิ์ หรือไม่ หรือ กรณีควาญช้างสอนให้ช้างวาดรูปล่ะ
ทางฝั่ง US บอกว่า ‘เจ้าของลิขสิทธิ์ควรจะต้อง ใช้ความอุตสาหะ พยายามในการสร้างงานเพื่อให้ได้ ‘งานสร้างสรรค์’ นั้นมา ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมได้สอบถามนักวิชาการด้านทรัพย์สินทางปัญญาสองท่านครับ ท่านแรก ผศ.ดร.สมชาย รัตนชื่อสกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีดังนี้
อีกท่านคือ รองศาสตราจารย์อรพรรณ พนัสพัฒนา อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ส่วนเจ้าของสัตว์ก็ไม่ถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หากไม่มีส่วนในการสร้างสรรค์งานนั้นการสร้างสรรค์ที่จะมีลิขสิทธิ์ได้นั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่ง คือ หลักที่เรียกว่า”Originality” ซึ่งประกอบด้วย การใช้ทักษะ(Skill) การลงแรง(Labor) และการใช้วิจารณญาณ(Judgment) องค์ประกอบทั้งสามข้อนี้จะต้องครบจึงจะเข้าข่ายงานอันมีลิขสิทธิ์ได้
ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมได้สอบถามนักวิชาการด้านทรัพย์สินทางปัญญาสองท่านครับ ท่านแรก ผศ.ดร.สมชาย รัตนชื่อสกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีดังนี้
อีกท่านคือ รองศาสตราจารย์อรพรรณ พนัสพัฒนา อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย