จีน
ในรัชกาลสมเด็จพระอินทราธิราช ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาพระองค์แรกที่เคยเสด็จไปเมืองจีนตั้งแต่ยังเป็นพระนครอินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๑๙๒๐ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว จีนจึงเข้ามาตั้งภูมิลำเนาและไปมาค้าขายในกรุงศรีอยุธยามากขึ้น พระองค์ทรงมีไมตรีอย่างดีกับพระเจ้ากรุงจีน และสนพระทัยทำนุบำรุงบ้านเมืองในด้านการค้าเป็นพิเศษ โปรดให้จีนตั้งหมู่บ้านตั้งแต่วัดพนัญเชิงลงไปทางใต้ เมื่อมีจำนวนมากขึ้นก็กระจัดกระจายไปอยู่ทั้งสองฟากแม่น้ำเจ้าพระยา และชาวจีนได้รับอนุญาตให้เข้าไปตั้งร้านค้าทำมาหากินเป็นปึกแผ่นอยู่บนเกาะเมืองด้วยจดหมายเหตุชาวต่างประเทศกล่าวว่า ถนนหน้าบ้านจีนเป็นถนนที่ดีที่สุดสายหนึ่งในพระนครศรีอยุธยา
แขก
พวกแขกนับถือศาสนาอิสลาม มีแขกจาม (แขกครัว) เข้ามาในกรุงศรีอยุธยาหลังจากจีน ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามริมแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่บางกระจะต่อไปทางตะวันตก ผ่านปากคลองคูจามไปจนถึงปากคลองขุนละครไชย
|
ซากอาคารที่ได้รับการขุดแต่งในหมู่บ้านโปรตุเกส
|
|
แขกมักกะสัน ตั้งบ้านเรือนอยู่ตอนปลายคลองขุนละครไชยทางใต้ (ที่จะออกแม่น้ำเจ้าพระยา) แต่ภายหลังมีแขกอาหรับมาปะปนอยู่ด้วย เพราะนับถือศาสนาอย่างเดียวกันจนได้สร้างสุเหร่าขึ้นแห่งหนึ่ง เรียกว่า “ตะเกี่ย”
โปรตุเกส
โปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เดินทางเข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๐๕๔ ในแผ่นดิน สมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๒ หลังจากที่โปรตุเกสยึดเมืองมะละกาได้แล้ว อัลฟองส์ อัลบูเกิก แม่ทัพเรือ โปรตุเกสทราบว่ามะละกาเคยขึ้นกับไทยมาก่อน เกรงว่าจะเกิดการบพุ่งกับไทย จึงได้ส่งทูตชื่อ ดวดเต เฟอร์นันเด นำเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวายสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ซึ่งพระองค์ก็ทรงรับไมตรี จากโปรตุเกสอย่างดี ขากลับไปเมืองมะละกาได้นำทูตไทยไปพบกับอัลบูเกิกด้วยและเพื่อสังเกตการณ์ว่าชาวโปรตุเกสที่เมืองมะละกานั้นมีกำลังแค่ไหน
|
บริเวณบ้านโปรตุเกสที่สมเด็จพระชัยราชาธิราช พระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนและสร้างโบสถ์ ๓ หลัง
|
|
ครั้งถึง พ.ศ. ๒๐๖๑ โปรตุเกสได้ส่งราชทูตชื่อ ดวดเต โคเอลโล นำเครื่องราชบรรณาการจากพระเจ้ามานูเอลเข้าถวายสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ และทำ สนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้ากับกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสนธิสัญญาดังกล่าวระบุว่า โปรตุเกสจะช่วยเหลือด้านการทหารแก่กรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้โดย กรุงศรีอยุธยาจะต้องให้เสรีภาพทางการค้า ยอมให้ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งหลักแหล่งทำมาค้าขาย ให้เสรีภาพทางศาสนา และสิทธิพิเศษต่างๆ แก่ชาว โปรตุเกส สนธิสัญญาฉบับนี้เป็นฉบับแรกที่ประเทศไทยทำกับรัฐในยุโรป
ในรัชกาลสมเด็จพระชัยราชาธิราช ปรากฏว่ามีทหารอาสาโปรตุเกสเป็นทหารรักษาพระองค์จำนวน ๑๒๐ คน ครั้งเกิดสงครามขึ้นระหว่างไทยกับพม่า ทหารโปรตุเกสกองนี้อยู่ในกองทัพหลวงของสมเด็จพระชัยราชาธิราชไปรบกับพม่าที่เชียงกรานด้วย เนื่องจากกองทหารโปรตุเกสนำอาวุธปืนไฟมาใช้ ในการรบคราวนั้นเป็นครั้งแรก ทำให้กองทัพไทยได้รับชัยชนะโดยง่าย เมื่อเสร็จสงครามแล้ว สมเด็จพระชัยราชาธิราชทรงปูนบำเหน็จความชอบชาว โปรตุเกส ได้พระราชทานที่ดินที่ตำบลบ้านดิน ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ด้านใต้กรุงศรีอยุธยาให้ชาวโปรตุเกสตั้งบ้านเรือนอยู่เรียกว่า บ้านโปรตุเกส
|
โครงกระดูกที่ได้รับการขุดแต่งในบริเวณบ้านโปรตุเกส
|
|
ชาวโปรตุเกสได้รับสิทธิในการนับถือศาสนาตามใจชอบ และได้สร้างโบสถ์ขึ้นสามแห่ง คือ โบสถ์ซานเปาโล โบสถ์ซานโดมิงโก และโบสถ์ซานเปโดร ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่นำคริสต์ศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในกรุงศรีอยุธยา
บ้านโปรตุเกสตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่กว้างขวางถึง ๒ กิโลเมตร และมีคลองล้อมรอบ บางคนจึงเรียกว่า “เกาะโปรตุเกส”
ฮอลันดา
ชาวฮอลันดาเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๐๔๗ นายคอร์นีเลียส สเปกซ์ ซึ่งผู้อำนวยการสถานีการค้าเมืองปัตตานีส่งมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช ขอตั้งสถานีการค้าขึ้นในกรุงศรีอยุธยา นายสเปกซ์ได้เป็นผู้อำนวยการบริษัทดัช อิสต์ อินเดียในประเทศไทย บริษัทนี้เป็นบริษัท กึ่งราชการ อยู่ในความคุ้มครองดูแลของรัฐบาลฮอลันดา เมื่อตั้งบริษัททำการค้าขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา ทำให้ไทยกับฮอลันดามีความสัมพันธ์ทางการทูตขึ้น ด้วย ในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถทูตไทย คณะแรกได้เดินทางไปถึงกรุงเฮก เมื่อพ.ศ. ๒๑๕๑ ได้เข้าเฝ้าพระเจ้ามอริสแห่งราชวงศ์ออเรนซ์เป็นคน ไทยคณะแรกที่เดินทางไปถึงยุโรปในรัชกาลพระเจ้าทรงธรรม ฮอลันดาได้เซ็นสัญญาฉบับแรกกับกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๐
ชาวไทยยินดีทำการค้ากับฮอลันดา โดยเอาหนังสัตว์และพริกไทยแลกเปลี่ยนกับสินค้าซึ่งทำด้วยฝ้ายชองชาวฮอลันดา ถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาท ทอง บริษัทค้าขายได้กำไรมาก ใน พ.ศ. ๒๑๗๖ ได้สร้างสถานีการค้าอย่างแข็งแรงขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา ได้สร้างถังน้ำอย่างดี และคลังสินค้าเพิ่มขึ้นอีก สถานีการค้าของบริษัทที่กรุงศรีอยุธยาเป็นสถานีที่ดีที่สุดของบริษัทดัช อิสต์ อินเดีย ในตะวันออกจูส ชูเตน หัวหน้าสถานีการค้าขณะนั้นได้บรรยายถึง โรงสินค้าไว้ว่า
“...โรงสินค้านี้เป็นอาคารหิน มีโรงแถวเป็นหมู่ มีห้องที่น่าอยู่ และมีท่าจอดเรือกว้างขวาง ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา นับเป็นโรงสินค้าที่สะดวกที่สุด และตั้งอยู่ในที่เหมาะสมที่สุดแห่งหนึ่งของบริษัทที่ปราศจากป้องปราการในภาคตะวันออก”
ในตอนปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ฮอลันดาอำนาจมาก และมีฐานะมั่นคงอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฮอลันดาในรัชสมัยสมเด็จ พระเจ้าปราสาททองไม่สู้ราบรื่นนัก แต่ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงถึงกับทำให้ฝ่ายดำเนินการรุนแรงกับฝ่ายไทยเหมือนกันกับที่ได้กระทำมาแล้วกับดิน แดนต่างๆรอบประเทศไทย
ครั้งถึงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถในการเมือง ทรงเล็งเห็นอันตรายที่กำลังผจญกับกรุงศรีอยุธ ยาขณะนั้น จึงทรงดำเนินนโยบายอย่างสุขุม เพื่อให้ประเทศไทยรอดพ้นเงื้อมมือฮอลันดา โดยการเปิดสัมพันธไมตรีทางการทูตกับประเทศฝรั่งเศส แต่ พระราชวิเทโศบายนี้มีทั้งผลดีและผลร้าย ผลดีก็คือ สามารถยับยั้งมิให้ฮอลันดากล้าทำรุนแรงต่อไทย และผลร้ายก็คือ ประเทศไทยเกือบกลายเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส
ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ฮอลันดาเซ็นสัญญาฉบับใหม่กับไทย ซึ่งแท้จริงคือ ฉบับที่ทำกับไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๐ นั่นเอง รัชกาลหลังจากนั้นสัมพัน ธไมตรีระหว่างทั้งสองฝ่ายไม่ดีขึ้น และเสื่อมทรามลงเป็นลำดับจนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐
ปัจจุบัน บ้านฮอลันดา อยู่ในเขตตำบลกระมัง ใกล้กับหมู่บ้านอังกฤษ สิ่งที่เหลืออยู่ก็คือ หลักแสดงที่ตั้งหมู่บ้าน เขียนเป็นภาษาดัทช์และภาษาไทยว่า
“ตรงนี้เป็นที่ตั้งอาณานิคมบ้านฮอลันดาของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๗๗-๒๓๑๐”
สเปน
สเปนนั้น เป็นชาวยุโรปชาติที่ ๓ ที่เข้ามากรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. ๒๑๔๐ ได้ส่งทูตจากกรุงมนิลา ชื่อ ฮวน เตลโล เด อากวีร์เร เข้ามาในรัชกาลสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช และได้ทำสัญญาพันธไมตรีและการค้ากับประเทศไทย แต่การติดต่อดำเนินไปอย่างลุ่มๆ ดอนๆ ความสัมพันธ์ระหว่างสองประ เทศเริ่มขึ้นอีกในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่เป็นไปในลักษณะการค้ามากกว่าการทูต และใน พ.ศ. ๒๒๐๕ ชาวสเปนจากมนิลาก็เข้ามาค้าขายยังกรุงศรีอยุธยาอีก
ถึง พ.ศ. ๒๒๖๐ ทั้งสองฝ่ายได้เซ็นสัญญาพันธไมตรีและการค้าขึ้นอีกฉบับหนึ่ง ฝ่ายสเปนได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานีการค้าขึ้นบนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แต่การค้าขายระหว่างทั้งสองฝ่ายไม่ได้ดำเนินไปด้วยดีเท่าที่ควร และเสื่อมไปในที่สุด เพราะพ่อค้าสำเภาจากไทยถูกขัดขวางไม่ให้ค้าที่มนิลาได้สะดวก
เดนมาร์ค
ในขณะที่ชาวโปรตุเกส ฮอลันดา และอังกฤษ เข้ามาค้าขายและตั้งหลักแหล่งในกรุงศรีอยุธยานั้น บริษัทเดนิช อิสต์ อินเดียของเดนมาร์คได้ส่งพ่อค้าเข้า มาติดต่อค้าขายกับไทยที่เมืองมะริดและเมืองตะนาวศรี ซึ่งเป็นของไทยใน พ.ศ. ๒๑๖๓ รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม สินค้าที่ไทยขายให้แก่ชาวเดนมาร์คบางทีก็มี ช้าง ส่วนชาวเดนมาร์คขายปืนให้แก่ฝ่ายไทย
|
โบสถ์เซนต์โยเซฟ ที่หมู่บ้านฝรั่งเศส เคยถูกทำลายไปเมื่อเสียกรุง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานทรัพย์ให้สร้างขึ้นใหม่
|
|
ญี่ปุ่น
ชาวญี่ปุ่นนั้น เดินทางมาค้าขายและตั้งบ้านเรือนอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก เพราะปรากฏว่าเมื่อสมเด็จ พระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาที่สุพรรณบุรีใน พ.ศ. ๒๑๓๕ นั้น มีทหารอาสาญี่ปุ่นจำนวน ๕๐๐ คน อยู่ในกองทัพไทยด้วย และเจ้ากรมอาสาญี่ปุ่นจำนวนผู้นั้น คือ พระเสนาภิมุข หรือ ยามาดา นางามาสานั่นเอง ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น ออกญาเสนาภิมุข
ครั้นถึงแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศสนิทสนมยิ่งขึ้น มีการแลก เปลี่ยนสาส์นแสดงความไมตรีระหว่างสมเด็จพระเอกาทศรถกับ โชกุนอิเอยาสุ ในพ.ศ. ๒๑๔๘ โชกุนได้ส่งสาส์น เข้ามาถวายสมเด็จพระเอกาทศรถ การติดต่อระหว่างชนสองชาติจึงมีมากขึ้น เป็นโอกาสให้ชาวญี่ปุ่นเข้ามาค้าขาย และตั้งหลักแหล่งในกรุงศรีอยุธยามากขึ้นกว่าแต่ก่อน สินค้าญี่ปุ่นเป็นที่ต้องการของพ่อค้าชาวยุโรปไม่แพ้สินค้าจีน ดังจดหมายเหตุของบาทหลวงเดอ ชัวสี ที่บันทึกถึงการหาซื้อของที่ระลึกในกรุงศรีอยุธยา ความว่า
“วันนี้ข้าพเจ้าไปซื้อของเล็กๆ น้อยๆ หลายสิ่ง นึกอยากจะได้อะไร ก็หาไม่ใคร่จะได้ พวกอังกฤษที่มาประเทศนี้ ก่อนหน้าพวกเรากวาดซื้อเอาไปเสียจนหมด ไม่เลือกว่าของดีของเลว ถ้าจะหาของแปลกๆ กันแล้ว จะต้องมาถึงที่นี่ในราวเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม เวลานั้นจะมีสำเภาจีนและญี่ปุ่นเข้ามาถึง พ่อค้าต่างประเทศชิงกันซื้อสินค้ าทั้งนั้นส่งไปฝากพวกของตนตามบ้าน เพราะฉะนั้นเวลานี้จึงไม่สามารถซื้อของได้ตามราคาเดิม ที่ซื้อได้บ้างก็โดยมีผู้กรุณาขายให้ แต่ก็ขูดเอาราคาเหลือเกิน”
รัชกาลพระเจ้าทรงธรรม แม้จะมีเรื่องราวในพงศาวดาร กล่าวถึงเหตุการณ์ที่มีทหารอาสาญี่ปุ่นห้าร้อยคนยกเข้ามาในท้องสนามหลวงคอยจะเอาพระเจ้า ทรงธรรมขณะออกมาฟังสงฆ์บอกหนังสือ ณ พระที่นั่งจอมทอง แต่พระวัดประดู่แปดรูปเข้ามาพาพระองค์เสด็จออกมาต่อหน้าทหารญี่ปุ่น แล้วพา เสด็จหนีไป แต่ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่นก็เป็นไปด้วยดีตลอดรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาท ทอง โปรดให้ส่งทูตไทยไปเจริญทางพระราชไมตรียังประเทศญี่ปุ่นถึงสองครั้ง แต่ฝ่ายญี่ปุ่นไม่ยอมรับทูตของพระองค์ เพราะหาว่าพระองค์มิใช่เชื้อพระวงศ์อันแท้จริงของไทย ความสัมพันธ์ทางการทูตจึงหยุดชะงักลง
|
รูปนี้แสดงถนน คลอง และตึกต่างๆ อย่างชัดเจนในสมัยที่อยุธยาเป็นราชธานี ประมาณ พ.ศ. ๒๑๗๙
|
|
ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการติดต่อระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เดอ โชมองต์ ทูตฝรั่งเศสกล่าวว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจัดส่งสำเภาสอง สามลำไปประเทศญี่ปุ่นเป็นประจำทุกปี ไทยกับญี่ปุ่นติดต่อกันตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่เป็นทางการค้าครั้งสุดท้ายคือ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรม โกศก่อนเสียกรุง
หมู่บ้านญี่ปุ่น อยู่ในตำบลเกาะเรียน ทางตอนใต้ของหมู่บ้านฮอลันดา มีพื้นที่ ๓ ไร่ครึ่ง ริมบันไดท่าน้ำมีแผ่นจารึกเป็นภาษาไทย ญี่ปุ่นและอังกฤษ ด้านละภาษา ความว่า
“อนุสรณ์หมู่บ้านเดิมของชาติญี่ปุ่นในกรุงศรีอยุธยา”
อังกฤษ
ชาวอังกฤษเข้ามากรุงศรีอยุธยาหลังจากฮอลันดา ๘ ปี ลูกัส เอนทูนิส และพวกพ่อค้าชาวอังกฤษทั้งหมดได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเอกาทศรถ เพื่อถวายพระ ราชสาส์นของพระเจ้าเจมส์แห่งอังกฤษ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๑๕๕ ปรากฏว่าเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก เพราะนับว่าเป็นประวัติการณ์ใน ประวัติศาสตร์ของไทยที่พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชสาส์นมา จึงพระราชทานถ้วยทองและผ้าผืนเล็กๆ ผืนหนึ่งแก่พวกพ่อค้าชาวอังกฤษทุกคน นอกจากนั้ นยังโปรดอนุญาตให้ชาวอังกฤษเข้ามาทำการค้าขายและตั้งหลักแหล่งในประเทศไทยได้ และพระราชทานบ้านหลังหนึ่งให้เป็นสถานีการค้า ลูกัส เอนทูนิส ได้รับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการของสถานีการค้าอังกฤษที่กรุงศรีอยุธยา
พ่อค้าชาวอังกฤษเข้ามากรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. ๒๒๑๗ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงต้อนรับเป็นอย่างดี ได้พระราชทานใบอนุญาตให้ พ่อค้าอังกฤษซื้อดีบุกตามหัวเมืองปักษ์ใต้ของไทยได้สะดวก การเข้ามาของพ่อค้าชาวอังกฤษครั้งนี้มีส่วนทำให้ประวัติศาสตร์ไทยแทบจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปเลย เพราะได้นำฝรั่งชาติกรีกเข้ามาคนหนึ่งและฝรั่งคนนี้เอง นายสมจัย อนุมานราชธน ได้เขียนไว้ในเรื่อง“การทูตไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา” ว่า
“...เป็นผู้ที่เปลี่ยนวิถีทางเดินแห่งประวัติศาสตร์ไทย เป็นผู้สร้างการสัมพันธ์ทางการทูตไปใกล้ต่ออันตรายแห่งการเสียอิสรภาพและอธิปไตย ยิ่งนัก ฝรั่งชาติกรีกคนนี้ คือ คอนสแตนส์ติน เยราคีส หรือ คอนสแตนส์ติน ฟอลกัน นั่นเอง”
|
รูปแม่น้ำเจ้าพระยาจากอ่าวไทยถึงอยุธยาแสดง ที่ตั้งป้อมเมืองบางกอก เขียนขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๒๓๓ ในแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชาโดยชาวฮอลันดา
|
|
เจ.แอนเดอร์สัน เขียนเล่าถึงสภาพของกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้นไว้ว่า
“การค้าที่กรุงศรีในขณะที่พ่อค้าอังกฤษเข้ามานั้น เจริญรุ่งเรืองมาก จอนเซาท์ รายงานไปยังบริษัทที่เมืองสุห รัตว่า ที่กรุงศรีอยุธยามีเรือของชนชาติต่างๆ เข้ามาค้าขายมิได้ขาด เช่น เรือญี่ปุ่น เรือญวนจากตังเกี๋ย เรือ จากเมืองหมาเก๊า เมืองมนิลา เมืองมากัสสาร์ของแขกมักกะสัน เมืองยะโฮร์ เมืองอาจีน และจากที่อื่นๆ อีกหลายแห่ง เรือฮอลันดานั้นเข้ามาแทบทุกอาทิตย์”
ชาวอังกฤษยุติการค้าและการเข้ามาสู่พระนครศรีอยุธยาเมื่อไทยเสียกรุง
ฝรั่งเศส
ชาวฝรั่งเศสเดินทางเข้ามาเมืองไทย เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่ศาสนาเป็นส่วนใหญ่ชาวฝรั่งเศสพวกแรก คือ สังฆราชแห่งเบริต ชื่อ เดอ ลามอต ลัมแบร์ เข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๕ ในรัชกาลสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชหลังจากนั้นมีชาวฝรั่งเศสเดินทางเข้ามาเมืองไทยขึ้นและได้ตั้งสถานีการค้าของฝรั่งเศสขึ้นที่กรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๒๒๓
|
พระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) เป็นราชทูต ไปเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔
|
|
เมื่อชาวฝรั่งเศส เข้ามาตั้งหลักแหล่งเป็นปึกแผ่นแน่นหนาในประ เทศไทยแล้ว สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงแต่งทูตไปฝรั่ง เศสครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๒๒๓ แต่ได้สูญหายเสียกลางทาง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๒๒๗ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ส่งทูตไทยไปฝรั่งเศสอีกเป็นครั้งที่ ๒ ครั้งนี้ได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม ขากลับประเทศไทยมีคณะทูตฝรั่งเศสอันหรูหราคณะ แรกเดินทางร่วมมาด้วย าชทูตฝรั่งเศสคนแรกนี้ คือ เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ มีบาทหลวง ฟรังซัว ติโมเลออง เดอ ชัวสี เป็นผู้ช่วย
การต้อนรับราชทูตฝรั่งเศสที่เชิญพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔ มาถวายสมเด็จพระนารายณ์นั้น โอ่ อ่าสง่างาม และมโหฬารที่สุดเท่าที่เคยมีมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา จัดเป็นกระบวนแห่พยุหยาตราทางชลมารค ดังจดหมายเหตุของบาทหลวง เดอ ชัวสี เล่าไว้ว่า
“ในขบวนแห่นี้มีเรือนานาชาติเข้าขบวนเพิ่มเติมอีก นี่คือขบวนแห่โดยทางชลมารควิถี ซึ่งมีสิ่งประ หลาดอันพึงจะพิศวงดังได้พรรณนามาบ้างแล้ว เรือหลวงที่มาเข้าขบวนปิดทองทั้งลำทุกลำมีบัลลังก์ทำฝีมือ ประณีตงดงามมาก และประดับล้วนแล้วไปด้วยทองคำ ลำหนึ่งมีฝีพายข้างละ ๖๐ คนถือพายเล่มเล็กๆ ปิดทองทั้งเล่ม พายจ้ำลงไปในน้ำแล้วยกขึ้นชูเป็นจังหวะพร้อมกัน ครั้นต้องแสงสุริยะก็ดูจรัสโอภาสยิ่งนัก”
|
ขบวนแห่พระราชสาส์นของสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชไปถวายพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ณ พระราชวังแวร์ซายล์
|
|
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชทานที่บริเวณฝั่งตะวันออกของคลองขุนละครไชยให้ปลูกบ้านอยู่ ต่อมาเมื่อชาวฝรั่งเศสได้เข้ารับราชการทำประโยชน์ให้รัฐบาลไทยมาก จึงโปรดให้ข้ามมาตั้งบ้านเรือน อยู่บนตัวเกาะเมืองด้วยในแผนที่ที่ฝรั่งเศสเขียน ยังหมายที่ตั้งบ้านอัครราชทูตฝรั่งเศสไว้ให้เห็น และว่า เป็น “ตึกสวยงามที่สุดบนเกาะกรุงศรีอยุธยา” ใกล้ๆ ปากคลองขุนละครไชยได้สร้างวัดเซนต์โยเซฟขึ้น ไว้ถูกทำลายไปเมื่อเสียกรุง ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงินให้สร้างขึ้นใหม่ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้
|
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในสมัยที่คณะราชทูตฝรั่งเศส อยู่ในพระนครศรีอยุธยา เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๒๒๘ รูปนี้เอามาจากหนังสือฝรั่งเศส ที่เคยมาอยู่ในอยุธยาสมัยนั้น พิมพ์ขึ้นไว้ใน พ.ศ. ๒๒๓๑
|
|
ริมแม่น้ำต่อจากบ้านฝรั่งเศสขึ้นไปมีชาวมอญเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามริมแม่น้ำตั้งแต่ปากคลองขุนละครไชยไปจนถึงบ้านป้อม
หมู่บ้านชาวต่างประเทศที่พระนครศรีอยุธยานี้ บรรดาเรือสำเภาที่เข้ามาตามลำน้ำเจ้าพระยา จะทอดสมออยู่ตรงหน้าหมู่บ้านของตน บนฝั่งก็จะมีห้าง ขายของและคลังเก็บสินค้าในน้ำก็มีเรือแพจอดเรียงรายตลอดนับหมื่นๆ แพ บาทหลวง เดอ ชัวสี บันทึกไว้ในจดหมายเหตุของท่านว่า
|
ผังเมืองกรุงศรีอยุธยา ซึ่งวิศวกรฝรั่งเศสได้สำรวจในปี พ.ศ. ๒๒๓๐
|
|
“ข้าพเจ้าไม่เบื่อที่จะชมกรุงไกรอันใหญ่โตที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินเสมือนเกาะ มีแม่น้ำกว้างใหญ่ประมาณ ๓ เท่าแม่น้ำแซนล้อมอยู่โดยรอบใน แม่น้ำเต็มไปด้วยเรือกำปั่นฝรั่งเศส อังกฤษ วิลันดา จีน ญี่ปุ่น ไทย และยังมีเรือใหญ่น้อยอีกเป็นอันมากแทบนับมิถ้วน พระเจ้ากรุงสยามกำลังทรงพระ ราชดำริจะสร้างเรือกำปั่นแบบฝรั่ง กำปั่นที่กว้านเอาลงน้ำไปแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ ๓ ลำยังแต่สิ่งที่จะชมและพรรณนาอีกไม่น้อย คือแม่น้ำทั้งสองฟากแห่ง กรุงทวาวดีนี้ บรรดาบ้านช่องของพวกต่างชาติ ต่างภาษาเป็นเรือแพทำด้วยไม้ วัว ควาย และหมูเลี้ยงไว้ในคอกสูงพ้นน้ำ ทางไปมาค้าขายนั้นเป็นทาง น้ำเกือบทั้งหมด ทางเหล่านี้อยู่ใต้ร่มไม้ และไปตันที่พุ่มไม้เขียวชอุ่ม และในบ้านช่องเล็กๆ ริมแม่น้ำเหล่านั้นก็มีผู้คนอยู่กันเต็มราวกับรังแตน พ้นหมูบ้านเหล่านี้ไปหน่อยหนึ่งก็มีทุ่งนากว้างใหญ่...”