พระเมธีธรรมจารย์ ในนามชาวพุทธมากกว่า 1ล้านคนยื่นหนังสือลับ! สั่งให้บรรจุ'พุทธ' เป็นศาสนาประจำชาติ
พระเมธีธรรมจารย์ ในนามชาวพุทธมากกว่า 1ล้านคนยื่นหนังสือลับ! สั่งให้บรรจุ'พุทธ' เป็นศาสนาประจำชาติ
(11 พ.ย.58) พระเมธีธรรมจารย์ (ท่านเจ้าคุณประสาร) รองอธิการบดี ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) พร้อมด้วย ผศ.ดร.เสถียร วิพรมหา นายกสมาคมนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา (สนพ.) พร้อมองค์กรภาคีเครือข่ายพุทธ ได้ไปยื่นหนังสือต่อ ร้อยเอกทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสภาขับเคลื่อนปฎิรูปประเทศ (สปท) ที่อาคารรัฐสภา 1 ในนามเลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เพื่อเสนอให้บรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ
ผศ.ดร.เสถียร วิพรมหา นายก สนพ. กล่าวว่า จากกรณีที่ชาวพุทธและวัดทั่วประเทศ ออกมาขึ้นป้ายทั้งหน้าวัด และในโซเชียลมีเดียเสนอให้มีการบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น ในวันนนี้จึงยื่นหนังสือขอให้บรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ต่อ ประธาน สปท. จากนั้นจะยื่นหนังสือต่อนายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ซึ่งถือเป็นครั้งประวัติศาสตร์ ที่ชาวพุทธส่วนใหญ่สนับสนุนให้บรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักประกันต่อความมั่งคงของพระพุทธศาสนา
ผศ.ดร.เสถียร กล่าวต่อไปว่า เท่าที่ตนทราบ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะนำหลักธรรมาภิบาลตามหลักศาสนามาใช้ เพื่อแก้วิกฤติทางสังคม โดยเฉพาะการฟื้นฟูศีลธรรมตั้งแต่ระดับเด็กและเยาวชน คือ เริ่มต้นที่โรงเรียน ซึ่งการที่ชาวพุทธออกมาเสนอความเห็นเช่นนี้ ไม่ใช่เพื่อยกย่องพระพุทธศาสนาว่าดีกว่าศาสนาอื่น หรือกีดกันศาสนาอื่นที่ได้รับรองจากราชการ แต่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักของประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือ หากได้รับการบรรจุเป็นลายลักษณ์อักษร รัฐต้องมีส่วนช่วยเสริมเสริมพระภิกษุสงฆ์ รวมทั่งนำหลักธรรมอันเป็นศาสนาของคนส่วนใหญ่มาเป็นหลักในการปกครองบ้านเมือง ถือเป็นหัวใจของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ส่วนกรณีที่มีกลุ่มคนบางส่วนไม่เห็นด้วย ก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้ แต่อยากให้เข้าใจสถานการณ์สังคมไทยและโลกที่เปลี่ยนไปด้วย
“ส่วนการฟื้นฟูพระพุทธศาสนานั้น ไม่อยากให้นำจุดด้อยออกมาโจมตีกันเอง ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน อุดจุดอ่อนที่เกิดปัญหา ซึ่งมหาเถรสมาคม (มส.) ก็ได้เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในคณะสงฆ์ และสังคม จึงมีนโยบายฟื้นหลักศีล 5 มาสู่ปฏิบัติ จนเกิดโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ขึ้น เพื่อให้ชาวพุทธได้น้อมนำหลักธรรมมาสู่การปฏิบัติจริงๆเพื่อที่ไม่เป็นเพียงชาวพุทธในรัฐธรรมนูญหรือในบัตรประชาชนเท่านั้น” นายก สนพ. กล่าว