รู้ทัน "โนโมโฟเบีย" โรคกลัวไม่มีโทรศัพท์
โนโมโฟเบีย โรคกลัวไม่มีโทรศัพท์ นาทีที่
ปัจจุบันมือถือแบบสมาร์ทโฟนเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต ซึ่งหลายคนเกิดอาการติดโทรศัพท์มากเกินไป จนเป็นอาการที่ใหม่ที่นักวิชาการด้านสุขจิตเรียกว่า “โนโมโฟเบีย”
ซึ่งมีอาการเริ่มด้วยดังนี้
1. ตื่นมาคว้าโทรศัพท์, 2.พกโทรศัพท์เข้าห้องน้ำ, 3.โทรศัพท์ต้องใกล้ตัวเสมอ, 4.รถติดหยิบโทรศัพท์, 5.ว่างเมื่อไหร่หยิบมาเล่น, 6.หลับไปพร้อมกัน, 7.มองโทรศัพท์บ่อย ๆ, 8.แบตเตอรี่เต็มเสมอ, 9.ขาดแล้วกระวนกระวาย, 10.เมื่อลืมโทรศัพท์ต้องรีบกลับไปหยิบ
จะเห็นได้ว่าหลายคนเริ่มมีอาการ “โนโมโฟเบีย” (nomophobia) หรือ โรคกลัวการไม่มีโทรศัพท์ใช้งาน กำลังพบมากในปัจจุบัน ซึ่งคนที่เป็นจะรู้สึกกังวลใจ หรือถึงขั้นกระสับกระส่าย เมื่อโทรศัพท์แบตเตอรี่หมด หรืออับสัญญาณ การปล่อยตัวเองให้มีอาการโนโมโฟเบียไปเรื่อย ๆ จะส่งผลกระทบ 3 ด้านด้วยกัน คือ
1. ด้านจิตใจ ที่รบกวนการการเรียน และการทำงาน ไม่มีสมาธิ เพราะมัวแต่จดจ่อกับโทรศัพท์ หรือหงุดหงิดเมื่อไม่ได้ รวมถึงการหลับไปพร้อมโทรศัพท์มือถือ ที่สมองยังคงจดจำข่าวสารที่ได้รับ ทำให้ข่าวสารไหลเข้าตัวเองตลอดเวลา จนเกิดความล้าของสมอง
2. ด้านร่างกาย เช่น ทางสายตา โดยเฉพาะการใช้โทรศัพท์ในที่ที่มีแสงน้อย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อดวงตา หรือการใช้โทรศัพท์ในท่าเดิมนาน ๆ ก็จะมีผลต่อระบบกล้ามเนื้อ
3. ด้านสังคม บางครั้งการติดอยู่กับโลกโซเชียล จนละเลยที่จะปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
ส่วนโรคที่พบบ่อยในกลุ่มผู้ติดโทรศัพท์ทีอยู่ 5 โรค คือ นิ้วล็อค อาการทางสายตา ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ หมอนรองกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควร และโรคอ้วน