การผงาดขึ้นเป็นสกุลเงินสากลของเงินหยวนจะส่งผลต่อโลก??
การผงาดขึ้นเป็นสกุลเงินสากลของเงินหยวนจะส่งผลดีต่อโลก
การประกาศสำคัญๆที่เกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเงินหยวนในการกลายเป็นสกุลเงินสากลและคาดว่าจะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับทั่วโลกได้ในอนาคต
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาจีนเปิดใช้ระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารข้ามพรมแดน หรือ CIPS ในเซี่ยงไฮ้ที่ทำให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศสามารถชำระเงินหยวนและทำธุรกรรมระหว่างประเทศได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาคริสตีน ลาการ์ด(Christine Lagarde) ประธานIMFประกาศว่า ขณะนี้การประเมิณว่าเงินหยวนจะได้เข้าร่วมในตะกร้าสกุลเงินหลัก SDR ของไอเอ็มเอฟหรือไม่ใกล้จะเสร็จสิ้นลงแล้ว
การประกาศที่สำคัญเหล่านี้ได้ยกระดับสถานะของเงินหยวนในฐานะสกุลเงินตราที่ใช้ในทั่วโลก ในขณะเดียวกันเมื่อเงินหยวนได้กลายมาเป็นสกุลเงินสากลก็จะทำให้เกิดประโยชน์กับอีกหลายๆประเทศ
เมื่อเดือนพฤษภาคม ในระหว่างที่นายหลี่ เค่อเฉียงนายกกรัฐมนตรีจีน ได้เยือนประเทศชิลี ทั้งสองประเทศตกลงกันว่าจะมีการทำสัญญาความตกลงแลกเปลี่ยนสกุลเงินหรือ”currency swap” (ซึ่งเป็นการแปลงภาระดอกเบี้ย และ/หรือ เงินต้น โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนและงวดการแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าก่อนเริ่มทำธุรกรรม ซึ่งจะใช้ในการป้องกันความเสี่ยงของความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และ/หรือ อัตราดอกเบี้ย) มูลค่า2.2หมื่นล้านหยวน (3.5 พันดอลลาร์สหรัฐฯ) ภายในอีกสามปีข้างหน้าที่คาดว่าจะสามารถช่วยส่งเสริมการค้าและการลงทุนแบบทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศได้
และในเดือนมกราคม อาร์เจนตินาต้องการแลกเปลี่ยนเงินงวดที่4ที่มีมูลค่า 400 ล้านดอลลาร์ จากจำนวนเงิน1.1หมื่นล้านดอลลาร์ที่ได้เซ็นสัญญาไว้กับจีนเมื่อปี 2014 และสัญญาการแปลงภาระทางการเงินครั้งนี้เดิมทีตั้งใจว่าจะทำภายใน 3 ปีแต่ภายหลังได้แปลงจนหมดภายในเวลาแค่เพียง1ปี
บริษัทให้คำปรึกษาทางการเงิน2แห่งของอาร์เจนตินาในเดือนสิงหาคมกล่าวว่า ข้อตกลงดังกล่าวได้ช่วยอาร์เจนตินาตัดภาระหนี้บางส่วนออกไปและได้ช่วยให้การค้าระหว่างประเทศของอาร์เจนตินารอดพ้นจากการขาดดุล
ในเดือนกันยายน ธนาคารกลางหรือ PBC ของจีนกำหนดให้ธนาคาร ICBC เป็นธนาคารที่ใช้สำหรับทำธุรกรรมต่างๆโดยใช้เงินหยวนในอาร์เจนตินา เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับธุรกิจการค้าและการลงทุน นอกจากนี้ทั้งสองประเทศก็กำลังมองหาโอกาสในการทำสัญญาความตกลงแลกเปลี่ยนสกุลเงินครั้งที่สองอีกด้วย
จึงเห็นได้ว่าการก้าวขึ้นมาเป็นสกุลเงินสากลของเงินหยวนได้ช่วยคลี่คลายปัญหาทางการเงินให้กับทั้งสองประเทศข้างต้นเพราะค่าเงินดอลลาร์ต่อเงินละตินอเมริกาได้พุ่งสูงขึ้น
ถึงแม้ว่าเงินหยวนจะยังไม่ได้ใช้อย่างแพร่หลายในทั่วโลกเท่ากับเงินดอลลาร์สหรัฐฯแต่ในตอนนี้ศักยภาพของมันได้ทำให้หลายๆประเทศมีเหตุผลที่จะใช้สกุลเงินหยวนในการทำการค้ากับประเทศจีนหรือบริษัทต่างๆของจีน
ทั้งนี้ระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารข้ามพรมแดนที่จัดทำโดยธนาคารกลางของจีนที่หลายคนจับตามองนี้มีธนาคารของจีนและธนาคารต่างชาติที่เข้าร่วมโดยตรงทั้งหมด 19 แห่งและธนาคารที่เข้าร่วมทางอ้อมแบ่งเป็นธนาคารจีน 38 แห่งและธนาคารต่างชาติอีก 138 แห่ง
การเคลื่อนไหวดังกล่าวยังช่วยลดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่มีมานานต่อไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกว่าเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ช่วยเหลือแค่ประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้น นอกจากนี้หลายๆประเทศแม้แต่ผู้สนับสนุนดั้งเดิมของธนาคารโลกก็ยังยินดีเปิดรับการแข่งขันในด้านการเงินระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น ดังจะเห็นได้จากกระแสความสนใจที่มีต่อธนาคาร AIIB ธนาคารเพื่อการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานเกิดใหม่ที่จีนได้ริเริ่มขึ้น