Santosh Kaveri กับ เครื่องล้างแครอท เรื่องมันมีอยู่ว่า...
เรื่องราวของ Santosh Kaveri พิสูจน์ให้เราเห็นว่า ในทุกๆอุปสรรคนั้นมีโอกาสอยู่ในนั้น ถ้าคุณมองเห็นมัน เขาอาศัยอยู่ใน Karnataka และต้องเดินเท้ากว่า 10 กิโลเมตรไปโรงเรียนทุกวัน ครอบครัวของเขายากจนมาก นั่นทำให้เขาเองต้องทำงานหนักตั้งแต่อายุยังน้อย เขาต้องตื่นตั้งแต่ตี 5 เพื่อทำงานก่อนไปโรงเรียน
เมื่อโตขึ้นเข้าได้เข้าเรียนการจัดการธุรกิจที่ Samiti College Belgaum และกลายเป็นสมาชิกของ LEAD หรือกลุ่มผู้นำในการเร่งรัดการพัฒนาผู้ก่อตั้งมูลนิธิ Deshpande ซึ่งเป็นก้าวแรกที่นำเขาไปสู่ความสำเร็จในอนาคต
Santosh เห็นชาวบ้านในชุมชะนีอาชีพปลูกแครอทขาย แต่มันได้ราคาไม่มาก เพราะมันดูไม่ดี เขาจึงหาวิธีประดิษฐ์เครื่องล้างแครอท เพื่อให้แครอทดูดีมีราคา ดึงดูดผู้ซื้อ และประหยัดเวลาในการใช้แรงงานคน
การประดิษฐ์ของเขาล้มเหลวถึง 11 ครั้ง แต่เขาก็ไม่เคยย่อท้อ จนในที่สุด เครื่องล้างที่สามารถล้างแครอทจำนวน 100 กิโลกรัมได้ใน 15 นาที โดยใช้แรงงานคนเพียง 2 คน ก็ได้เกิดขึ้นจริงๆ ที่สำคัญ มันไม่ต้องใช้ไฟฟ้า และใช้น้ำในปริมาณที่ไม่มากด้วย
หลังจากนั้นเขาได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆตามมา เครื่องที่เป็นประโยชน์ต่อชาวนา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องต้มน้ำอเนกประสงค์ ระบบเบรคการเทียมเกวียน โดยส่วนมากแล้วพวกมันจะใช้พลังงานไฟน้อยมาก และพยายามพึ่งพาธรรมชาติให้มากที่สุด
สิ่งประดิษฐ์ของเขามุ่งเน้นไปที่การพัฒนาชนบทเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวนาที่ยากจน ไม่ใช่การพัฒนาเมืองในรูปแบบสมัยใหม่ เพราะเขาเห็นว่าชนบทและภาคเกษตรกรรมนั้นเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจของอินเดีย และที่สำคัญ งานของเขานั้นไม่ได้ใช้ต้นทุนที่สูงมากในการประดิษฐ์คิดค้นด้วย
เขาไม่ได้เรียนจบสูงๆ หรือมีประสบการณ์การทำงานที่มากมาย แต่เขาสามารถเปลี่ยนแปลงและยกระดับชีวิตของผู้คนในชนบทได้สำเร็จจริงๆ และเขาได้รับรางวัล Best LEADer award ถึง 2 ปีซ้อน
ส่งต่อเรื่องราวดีๆแบบนี้ให้คนอื่นๆอ่านด้วยสิ
ที่มา: Logicalindian