สองพี่น้องฟิลิปปินส์คิดค้น “ตะเกียง” ไม่มีวันดับด้วยพลังงาน “น้ำเกลือ”
คนสมัยก่อน หรือหมู่บ้านที่ห่างไกลความเจริญ เค้าอยู่กันอย่างไร เมื่อไม่มีไฟฟ้า แน่นอนว่ายังมีตะเกียงไว้ให้ได้ใช้กัน
แต่สำหรับตะเกียงอันนี้ที่ดูเหมือนตะเกียงทั่ว ๆ ไป มันมีความพิเศษอยู่จุดหนึ่งตรงที่ มันไม่ต้องใช้เชื้อเพลิง
แต่มันให้กำเนิดพลังงานโดยผ่านแผ่นโลหะเล็ก ๆ และน้ำเกลือ
ดูเป็นวิธีที่ง่าย ๆ แต่มันเจ๋งมาก ๆ
ตะเกียงนี้ออกแบบโดยทีมพี่น้อง Raphael และ Aisa Mijeno.
Aisa และ Raphael Mijeno รับรางวัลเช็คเงินสดสำหรับผู้ชนะจากโครงการแข่งขันคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ IdeaSpace Philippines
พี่น้อง Mijenos อาศัยอยู่ในฟิลิปปินส์ ที่ในแถบชนบทห่างไกลหลายแห่งของประเทศนี้ ไฟฟ้ายังเข้าไปไม่ถึง
ซึ่งในตอนที่ Aisa ได้เข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับคนในชุมชนเหล่านี้ในตอนที่เธอทำงานให้กับ Greenpeace เธอได้ตระหนักถึงปัญหานี้ และจำเป็นต้องหาทางแก้ให้ได้
การใช้ชีวิตโดยไม่มีไฟฟ้านั้น ทำให้คนเหล่านี้ต้องพึ่งพาแสงสว่างยามค่ำคืนจากตะเกียงน้ำมันก๊าด แต่เมื่อน้ำมันก๊าดหมด การจะออกจากหมู่บ้าน และเข้าไปซื้อในเมืองแต่ละทีนั้น เป็นความยากลำบากอย่างมากในการเดินทางเพราะไม่มีรถ และระบบการขนส่งคมนาคม
พวกเขาต้องเดินมากกว่า 12 ชั่วโมงเพียงแค่ไปซื้อกระป๋องน้ำมันก๊าด ซึ่งนั่นต้องใช้เวลาถึงสองวัน
ในทางกลับกัน น้ำเกลือ ที่ทั้งถูก และมีประโยชน์อื่น ๆ มากมาย ซึ่งเกือบจะทุกหนแห่งในฟิลิปปินส์ คุณสามารถพบสามสิ่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น น้ำ ข้าว และเกลือ
ตะเกียงพลังงานน้ำเกลือนี้สามารถอยู่ได้นานแปดชั่วโมงด้วยน้ำหนึ่งแก้ว และเกลือสองช้อนชา
โลหะสองชนิดที่แตกต่างกันจะจมในน้ำเกลือ มันจะปล่อยอิเล็กตรอนออกมา และจะวิ่งผ่านโลหะชนิดหนึ่งไปอีกชนิดหนึ่งผ่านสายไฟที่ก่อให้เกิดพลังงานไฟฟ้าในหลอด LED
จากคำกล่าวทางบริษัท Sustainable Alternative Lighting (SALt) ของสองพี่น้องนี้ ตะเกียงพลังงานน้ำเกลือไม่เหมือนกับตะเกียงน้ำมันก๊าดตรงที่มันไม่เป็นวัตถุไวไฟ และสามารถเปิดใช้งานในบ้านได้
ตะเกียงยังมีประโยชน์สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่อยู่ลึกเข้าไปในตัวประเทศที่สามารถใช้สารละลายน้ำเกลือที่ทำขึ้นมาเองเพื่อให้มันกำเนิดพลังงานไฟฟ้าได้ และสำหรับคนที่อยู่บริเวณชายฝั่ง ก็สามารถใช้น้ำเกลือได้เช่นเดียวกัน
เท่านี้ยังไม่พอ ตะเกียงยังมีพอร์ท USB ไว้สำหรับชาร์ตโทรศัพท์มือถืออีกด้วย
ช่องสำหรับชาร์ตโทรศัพท์มือถือที่มีมาให้พร้อมในตะเกียง
แท่งขั้วไฟฟ้าภายในตะเกียงจะต้องเปลี่ยนประมาณปีละสองครั้ง แต่สองพี่น้องก็เชื่อว่าอย่างน้อยมันก็เป็นวิธีที่ดี และสะดวกกว่าสำหรับผู้คนที่อาศัยในพื้นที่ห่างไกลที่ต้องคอยซื้อน้ำมันก๊าดมาเติมใส่ตะเกียงแบบเมื่อก่อน
Raphael กล่าวว่าตะเกียงของเขาได้รับความสนใจอย่างมากจากทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินเดีย
บริษัท SALt ของทั้งสองยังมีเป้าหมายใหญ่ต่อไป คือการที่พวกเขาหวังจะสร้างเครื่องกำเนิดพลังงานจากน้ำเกลือที่สามารถปล่อยพลังงานให้แก่บ้านทั้งหลังได้
และหลังจากนั้นก็อาจจะเป็น โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเกลือ
อนาคต เราอาจจะมีโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเกลือก็เป็นได้
ตอนนี้พวกเขากำลังเตรียมความพร้อมที่จะนำตะเกียงเข้าสู่กระบวนการผลิตเพื่อจำหน่าย โดย Raphael ได้กล่าวว่า พวกเขาได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนทั่วทั้งเอเชียตะวันออก รวมไปถึงภาคองค์กรอย่าง USAID ซึ่งตัวต้นแบบจะพร้อมภายในปีนี้ และถ้าทุกอย่างเรียบร้อย ทุกท้องที่ในฟิลิปปินส์ และภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วทั้งโลกจะได้รับประโยชน์อย่างมาก
Aisa Mijeno กับชาวบ้านที่อาศัยในชุมชนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ใน Barangay Gabi และตะเกียงตัวต้นแบบ
เป็นโครงการที่ดี และน่าสนใจมาก ๆ ที่มันจะมีประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นอีกเยอะเลย อย่าลืมส่งต่อเรื่องราวที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ให้เพื่อน ๆ ของคุณกันด้วยนะ!