“เถียงกันหนัก” ถ้ามี สัตว์ กำลังจะตายตรงหน้า คุณคิดว่า “ช่างภาพ”ควรเข้าไปช่วยมั้ย?
มีข้อถกเถียงมากมายเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของช่างภาพ โดยไม่เอาตัวเองเข้าไปสอดแทรกเหตุการณ์ กับบางเหตุการณ์ที่พวกเขาจำเป็นต้องทำหน้าที่ “ความเป็นมนุษย์”
Doug Allen ผู้เชี่ยวชาญการถ่ายทำสารคดีของ BBC บอกว่าเขามักจะพบวินาทีเป็นตายของพวกสัตว์ ในระหว่างการถ่ายทำเสมอ และทุกครั้งเขามักจะตัดสินใจช่วยมัน หากการช่วยเหลือนั้นไม่ได้กระทบกับวงจรชีวิตของสัตว์อื่นๆ
Doug Allan บอกว่า เขาเพิ่งเข้าช่วยลูกนกเพนกวินที่ติดอยู่ในหลุมน้ำแข็งที่ละลาย และพามันกลับขึ้นมาบนน้ำแข็งอย่างปลอดภัย
แม้ว่าก่อนหน้านี้ทีมงานของพวกเขาเคยถูกโจมตีมาแล้วหลังจากเข้าช่วยเหลือรังนกที่กำลังจะถูกน้ำป่าพัดไป โดยบางคนบอกว่านี่คือการเข้าแทรกแซงการเป็นไปของธรรมชาติ แต่บางคนก็เห็นด้วยกับการช่วยเหลือในสถานการณ์เช่นนี้
“เราเคารพธรรมชาติ แต่มันยากมากที่จะไม่เข้าช่วยเหลือสัตว์ที่กำลังจะตาย ทั้งๆที่คุณสามารถช่วยชีวิตพวกมันได้”
และนี่คือ Doug Allen
Allan บอกว่า อันที่จริงหน้าที่ของเขาคือการถ่ายทอดธรรมชาติเหล่านั้นมาสู่สายตาคนอื่นผ่านกล้อง ปกติแล้วเขาจะปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติของมัน เขาจะไม่เข้ายุ่งหากจะทำให้พวกสัตว์เสียสมดุล แต่ไม่ใช่ในลักษณะเช่นนี้
ทั้งนี้ การทำหน้าที่ช่างภาพ กับการทำหน้าที่ความเป็นมนุษย์ เคยเป็นประเด็นถกเถียงระดับโลกมาแล้ว จากภาพ “ตัวแทนความหม่นเศร้าของแอฟริกา” ด้านล่างนี้
ในภาพนี้นกแร้ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย กำลังคอยท่าจิกกินเด็กน้อย ผอมเกร็งที่กำลังหมดแรงสิ้นใจ ตีพิมพ์ในนิตยสารนิวยอร์ก ไทมส์ ของสหรัฐฯ เมื่อปี 1993 ถ่ายไว้โดยช่างภาพ “เควิน คาร์เตอร์”
แต่หลังตีพิมพ์ได้มีผู้อ่านจำนวนมากส่งจดหมายไปถามว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ พร้อมทั้งกระแสวิจารณ์ คาร์เตอร์ที่ไม่ยอมช่วยชีวิตเด็กหญิง แต่กลับรอบันทึกภาพของเธอ และส่งผลให้คาร์เตอร์ ฆ่าตัวตายหลังภาพนี้ตีพิมพ์
เป็นคุณ คุณจะช่วยพวกมันไหม ส่งต่อเรื่องนี้ให้เพื่อนๆของคุณด้วยสิ
ที่มา: Dailymail