เรื่องราวชวนขนลุก !!! ผลกรรมที่มีจริงกับการ ระลึกชาติของ ด.ญ.พิมพวดี
ด.ญ.พิมพวดี คือบุตรสาวคนเล็กของตระกูลโหสกุล บิดาชื่อ นายเสียง โหสกุลและมารดาคือ นางสมพร พัฒนวิบูลย์ ครอบครัวมีพี่น้องร่วมกันทั้งหมด 5 คน ได้แก่ 1. นายเสรี โหสกุล, 2. นายวัฒนา โหสกุล 3. นายถาวร โหสกุล, 4. นายวันชัย โหสกุล 5. เด็กหญิงพิมพวดี โหสกุล
ต่อมาด.ญ.พิมพวดี ได้ป่วยเป็นไข้เลือดออกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชจนเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2502 ด้วยอายุเพียง 9 ขวบ ทุกคนในครอบครัวรับไม่ได้กับการจากไปของเธอในครั้งนี้ จนบิดาได้สร้างศาลาถวายวัดเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ลูกสาวของตน ชื่อว่า พลับพลาพิมพวดี ซึ่งได้ตั้งรูปถ่ายด.ญ.พิมพวดี บรรจุไว้ข้างใน และจะมาทำบุญประจำปีให้เธอทุกวันที่ 25 ตุลาคม คือวันคล้ายวันเกิดเธอ และวันที่ 2 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันที่เธอเสียชีวิต
สำหรับเรื่องราวของเธอได้มีความเกี่ยวข้องกับนายแพทย์ชื่ออาจินต์ โดยเรื่องราวที่นายแพทย์ได้เล่าให้ฟังนั้นมีอยู่ว่า
" เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นกับตัวผมเอง โดยเมื่อราวปลายปี 2529 คาบเกี่ยวถึง วันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2530 เมื่อครั้งที่ได้จัดคณะท่องเที่ยวผู้สูงอายุไปพักผ่อนทางเหนือ ผมก็ป่วยด้วยโรคปวดประสาทสมองเส้นที่ห้า (ประสาทสมองมี 12 คู่) เริ่มเป็นมาตั้งแต่วัยรุ่น โดยมีอาการปวดประสาทด้านขวาตั้งแต่เบ้าตาขึ้นไปถึงกลางกระหม่อม ปวดอยู่ซีกเดียว ตอนนั้นยังเป็นหนุ่มแน่นอายุยังน้อย อาการก็ไม่ค่อยทรมานรุนแรงมากนัก กินยาแก้ปวดแรง ๆ ก็พอบรรเทาไปได้ แต่พอปี พ.ศ.2504 ผมเป็นเกิดปวดมากจนทนไม่ไหว ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช แต่ก็ไม่หาย แพทย์จึงรับตัวไว้เพื่อตรวจละเอียด และรักษาที่ตึกวิบูลลักษณ์ ชั้นล่าง (ห้องที่เท่าไหร่ก็จำไม่ได้เสียแล้ว) โดยได้รับการดูแลเยียวยารักษาอย่างดี แต่อาการปวดประสาทก็รุนแรงมาก แทบจะผูกคอตายไปหลายหน
คืนหนึ่งเวลาประมาณสองทุ่มเศษ ๆ โรคปวดประสาทอาการกำเริบอีก พยาบาลให้กินยาและฉีดยาตามแพทย์สั่งไว้ แต่อาการก็ไม่หายปวด ผมนอนหลับตา เอามือกุมขมับข้างที่ปวด แล้วก็ภาวนาบริกรรม พุทโธ ๆ ๆ ๆ ทำอาปานุสสติ ไปเรื่อย ๆ พอสงบ ประมาณสามทุ่มเศษ ๆ ก็หลับตาเห็นเด็กหญิงคนหนึ่งมายืนอยู่ข้างเตียง จึงลืมตาถามภรรยาและพยาบาลพิเศษที่เฝ้าอยู่สองคนนี้ว่า “ใครมา?” ได้รับคำตอบว่า “ดึกแล้ว…ไม่มีใครมาหรอก” จากนั้นผมก็หลับตาเข้าสมาธิต่อ พอสักครู่ก็เห็นชัดว่ามีเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง รูปร่างอ้วน มายืนอยู่ข้างเตียง ผมจึงเอ่ยปากออกถามว่า หนูเป็นใครมาทำไมที่นี่” (พูดออกมาดัง ๆ เพื่อให้ภรรยาและพยาบาลได้ยิน) ภรรยาก็มาเขย่าแขนแล้วพูดว่า “เธอ นี่อยู่นี่ ๆ ก็คงคิดว่าผมคงป่วยมากจนเพ้อ แต่ผมก็บอกว่า “ไม่ได้เพ้อหรือเสียสติอะไรหรอก แต่ว่า…มีใครเห็นไหม?” มีเด็กมานั่งอยู่ข้างเตียงนี่ สองคนนั้นตอบว่า “ไม่มีใคร” แต่ผมก็ยังข้องใจ เพราะหนูคนนั้นยังนั่งอยู่อย่างสงบเสงี่ยม!
ก็เลยพูดออกมาดัง ๆ ว่า “จะคุยกับหนูคนนี้นะ ช่วยจด ๆ จำ ๆ ไว้ด้วย” แล้วผมก็ถามด้วยเสียงดัง ๆ ว่า “หนูเป็นใคร….มาทำไมในห้องนี้?” แม่หนูตอบว่า “หนูเคยป่วยในห้องนี้ และตายในห้องนี้เมื่อประมาณสองปีมาแล้ว” ผมก็ถามต่อว่า “เอ้อ! หนูเคยมาป่วยที่ห้องนี้ หนูเป็นอะไรตาย?” หนูน้อยตอบว่า ป่วยด้วยโรคอ้วนตายค่ะ” ภรรยาและพยาบาลช่วยกันจดใหญ่…”หนูเป็นลูกหลานใครกันจ๊ะ?” ”ตาหนูเป็นหลานเจ้าคุณอัชราชทรงสิริค่ะ” ผมทบทวนคำพูดดัง ๆ ทุกคำ เพื่อให้ผู้ที่กำลังฟังได้ยินด้วย แล้วถามต่อว่า”หนูมานี่มีความประสงค์อะไรจ๊ะ” ..”หนูมีเพื่อนคนหนึ่ง เขาเสียชีวิตเมื่อปีหลายที่ตึกเด็ก เขาบอกว่าเขาเป็นลูกคุณอาเมื่อชาติที่แล้ว เขาอยากจะมาหา และมาช่วยคุณอาให้หายป่วยจากโรคนี้ เขาให้หนูมาบอกคุณอาก่อนค่ะ” จากนั้นผมก็ลุกขึ้นนั่ง เล่าทุกสิ่งทุกอย่างให้ภรรยา กับพยาบาลฟัง…พยาบาลคนนั้น ตื่นเต้นมาก พลางบอกว่า ที่ตึกนี้และห้องนี้ เมื่อประมาณปี 2502 มีเด็กผู้หญิงถึงแก่กรรมที่ตึกนี้
จากนั้นผมก็เข้านอน โดยไม่ลืมภาวนาบริกรรม พุทโธ ๆ ๆ ไปด้วย ต่อมาประมาณห้าทุ่ม ผมก็ปวดประสาทอย่างรุนแรง จึงตื่นขึ้นมาและผมก็ได้ยินเสียงแว่ว ๆ ที่หูว่า “เธอ! พ่อเธอนอนอยู่นี่ยังไง….เข้ามาซิ” ผมลืมตาขึ้นมองก็ไม่เห็นมีอะไร แต่พอหลับตาก็ได้ยินเสียงขึ้นมาอีกว่า “เข้ามาซิ เข้ามาเถอะ!” ผมลืมตาขึ้นอีกที ทีนี้เห็นเด็กสองคนเข้ามายืนข้างเตียงผม คนหนึ่งอ้วนคนเก่า อีกคนหนึ่งอยู่ในวัย 12 ขวบ หน้าตาน่ารักน่าเอ็นดู เธอเดินมาข้างเตียงผมแล้วพูดว่า “พ่อ! หนูมาช่วยพ่อ” ผมจึงเรียกภรรยาและนางพยาบาลให้ตื่น แล้วถามว่า “เห็นเด็กผู้หญิงสองคนตรงนี้ไหม เด็ก ๆ มายืนอยู่ที่นี่แนะ!” พยาบาลเปิดไฟในห้องสว่างพรึ่บ แล้วบอกว่า “ไม่เห็นมีใครมาซักคนนี่คะ?” ผมจึงตอบไปว่า “มีซิ มีแม่หนูสองคนมาเยี่ยม แล้วก็ยืนอยู่ตรงนี้ นี่ไงล่ะ” และผมก็ยื่นมือออกไปชี้ที่ตัวเด็ก ขณะที่ภรรยาผมกับพยาบาลตื่นขึ้นนั่ง ขยับตัวเข้ามาชิดกัน (อาจจะเพราะความกลัว) จากนั้นหนูอ้วนยืนอยู่สักครู่แล้วก็ลาไป เหลือแต่แม่หนูตัวเล็กคนเดียว ตอนนี้เธอนั่งบนเก้าอี้ข้างเตียงนอนผม ข้อศอกสองข้างเท้าที่นอนยันคางไว้ แล้วถามว่า…
พิมพวดี โหสกุล: คุณพ่อปวดศรีษะมากหรือคะ
นายแพทย์อาจินต์ : ตอนนี้ปวดมากจ้ะ!
พิมพวดี โหสกุล: (ยื่นมือข้างหนึ่งมากุมหรือกดศีรษะ ด้านที่ปวดของผมไว้) สักครู่จะทุเลา
นายแพทย์อาจินต์ : (ต่อจากนั้นสักพักอาการปวดก็สงบ) หนูเป็นใคร แล้วทำไม มาเรียกว่าพ่อ
พิมพวดี โหสกุล: ชาติที่แล้วหนูเป็นลูกของพ่อ
นายแพทย์อาจินต์ : อ้อ ชาติที่แล้วเป็นลูกของพ่อ ชาติก่อนนี้ หนูเป็นผู้ชาย หรือผู้หญิง
พิมพวดี โหสกุล: เป็นผู้หญิงค่ะ
นายแพทย์อาจินต์ : หนูเป็นอะไรตายในชาติก่อน
พิมพวดี โหสกุล: หนูไปเล่นน้ำแล้วไถลลื่น และตกน้ำตาย
นายแพทย์อาจินต์ : หนูตายที่ไหน
พิมพวดี โหสกุล: ตกน้ำตายที่โรงโม่
นายแพทย์อาจินต์ : โรงโม่อยู่ที่ไหน
พิมพวดี โหสกุล: ก็แถว ๆ ท่าเตียนนี่แหละ ไม่ไกลเท่าไหร่
นายแพทย์อาจินต์ : ตอนที่ตกน้ำตายหนูอายุเท่าไหร่
พิมพวดี โหสกุล: ก็สิบกว่าขวบค่ะ
นายแพทย์อาจินต์ : ชาติก่อนนี้ พ่อเป็นอะไร
พิมพวดี โหสกุล: ชาติก่อนนี้พ่อรับราชการในรัชกาลที่ 3 เป็นผู้คุมนักโทษและราชมัล
นายแพทย์อาจินต์ : ราชมัล เป็นอย่างไร พ่อไม่รู้จัก
พิมพวดี โหสกุล: ราชมัล เป็นผู้คุม เป็นคนลงโทษนักโทษ ทรมานนักโทษ รวมทั้งประหารชีวิตนักโทษด้วย
นายแพทย์อาจินต์ : ที่พ่อป่วยนี้ ป่วยมานานเป็นเพราะอะไร แล้วเมื่อไหร่จะหาย
พิมพวดี โหสกุล: ป่วยเพราะกรรมเก่าที่ทำไว้แต่ชาติก่อน พ่อมีหน้าที่เกี่ยวกับนักโทษ ควบคุมลงโทษ ทรมานเขา กรรมก็ตามมาสนองในชาตินี
นายแพทย์อาจินต์ : ก็ทำตามหน้าที่ หน้าที่ คือ ควบคุมทรมานเขา เราไม่ทำ เราก็ผิด
พิมพวดี โหสกุล: ครั้งหนึ่งมีชายคนหนึ่งรูปร่างอ้วนใหญ่ สูงดำ ถูกคดีฆ่าชาวบ้านตาย ทำทารุณต่าง ๆ แก่ราษฎร ความจริงนั้นเขาไม่ได้ทำ แต่ชาวบ้านมารวมหัวกันใส่ความเขา พระอัยการก็คุมตัวมาลงโทษ สอบถามเขา เขาไม่ได้ทำ ก็ไม่รับ ราชมัลก็คือ พ่อ ได้ลงโทษเขา จับเขาเข้าขื่อเข้าคาตอกเล็บ แล้วเอาเครื่องมือมาบีบขมับเขา บีบขมับจนเขาสลบ เพราะความเจ็บปวด เขาก็ไม่รับว่าเป็นผู้ร้าย พ่อก็ลงโทษบีบขมับเขาอีก เพื่อให้เขารับสัตย์ว่าเป็น เขาก็ไม่รับ ในที่สุดก็ทนทรมานไม่ไหว ก็ขาดใจตาย ก่อนตายเขาผูกใจอาฆาตพยาบาทไว้ว่าจะจองเวรไปทุกชาติจนกว่าจะหมดเวร ตอนนี้กรรมมาตามทันอย่างเต็มที่แล้ว จึงได้ป่วยเช่นนี้
นายแพทย์อาจินต์ : เมื่อไหร่จะชดใช้กรรมนี้หมดเสียที
พิมพวดี โหสกุล: พ่อทำไว้มาก ทั้งกรรมดี และกรรมชั่ว กรรมก็สลับกันไป กรรมดีทำให้พ่อเกิดมาอย่างนี้ กรรมชั่วก็ตามมาสนองอย่างนี้ เวลาผมปวดประสาทมาก ๆ ให้นึกถึงหนู หนูจะมาช่วยให้บรรเทาเบาบางลง พรุ่งนี้แปดนาฬิกา หมอจะเอาพ่อไปผ่ากระโหลกศีรษะ
นายแพทย์อาจินต์ : พรุ่งนี้เช้าหรือ จะผ่ากระโหลกศีรษะพ่อหรือ
พิมพวดี โหสกุล: (เธอก็พยักหน้ารับคำ) หนูจะไปก่อนล่ะ
จากนั้นหนูน้อยคนนั้นก็หายตัวไป รุ่งขึ้นเวลา 8 นาฬิกา อาจารย์หมออุดม มาตรวจเยี่ยม ได้รับรายงานว่า เมื่อคืนนี้ปวดประสาทมาก ปวดจนดิ้นถึงสองครั้ง ท่านยืนคิดสักครู่หนึ่ง แล้วจึงพูดว่า “แปดโมงเช้านี้ จะเอาตัวไปผ่าตัด ผ่าเอาปมประสาทที่ปวดออก” แล้วหันมาสั่งพยาบาลให้ไปบอกหัวหน้าตึกให้เตรียมนำคนไข้รายนี้ไปผ่าตัด
ภรรยาและพยาบาลมองหน้ากันด้วยความงุนงงเต็มที่ เพราะไม่มีใครเชื่อว่าจะนำผมไปผ่าตัด ที่งงเพราะเมื่อคืนนี้ได้ยินผมพูดคนเดียว คือทวนคำพูดของแม่หนูว่า พรุ่งนี้ 8 นาฬิกา หมอจะเอาไปผ่าตัด ตอนนั้นเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง….มาตอนนี้เชื่อแล้ว เชื่อไม่มีความสงสัย! และการผ่าตัดประสาทสมองนี้กินเวลาราว ๆ สี่ชั่วโมง พอราว ๆ เที่ยงเขาก็เข็นรถกลับมาที่เดิม ที่ในห้องมีแม่ผม ภรรยา พ่อตา แม่ยาย ค่ำวันนั้นก็เกิดอาการปวดขึ้นมาอีก ทีนี้ปวดสองอย่างคือ ปวดเจ็บในสมองที่ผ่า ปวดแผล มิหนำซ้ำโรคปวดเดิมก็ไม่ทุเลา ทำให้เกิดทุกข์ทรมานมากกว่าเก่า และแล้วก็นึกขึ้นได้ จึงพูดออกมาว่า “หนู! ช่วยพ่อด้วย” ผมตะโกนออกมาดัง ๆ ชั่วอึดใจเดียวก็ปรากฏร่างของเด็กหญิงคนเดิมมานั่งอยู่ข้างเตียง ผมจึงถามว่า
นายแพทย์อาจินต์ : มาแล้วหรือลูก ช่วยพ่อที ตอนนี้ปวดเหลือจะทนแล้ว
พิมพวดี โหสกุล: (แม่หนูก็เอามือมาวางที่ศีรษะ) เดี๋ยวจะทุเลา
นายแพทย์อาจินต์ : (ก็เป็นจริงดังว่า อาการปวดก็ทุเล)) หนูชื่ออะไรจ๊ะ
พิมพวดี โหสกุล: ก่อนที่จะตายนี้หนูชื่อพิมพวดี
นายแพทย์อาจินต์ : หนูเป็นอะไรตาย
พิมพวดี โหสกุล: หนูเป็นไข้เลือดออกตายค่ะ
นายแพทย์อาจินต์ : ตายที่นี่หรือ
พิมพวดี โหสกุล: ตายที่ตึกเด็กค่ะ
นายแพทย์อาจินต์ : ตายเมื่อไหร่จ๊ะ
พิมพวดี โหสกุล: เมื่อปี 2502 ค่ะ
นายแพทย์อาจินต์ : หนูมีพี่น้องกี่คนจ๊ะ
พิมพวดี โหสกุล: มี 5 คนค่ะ
นายแพทย์อาจินต์ : ผู้หญิง ผู้ชาย กี่คน
พิมพวดี โหสกุล: หนูเป็นผู้หญิงคนเดียว
นายแพทย์อาจินต์ : พ่อแม่คงจะเสียใจมากที่หนูตายไป
พิมพวดี โหสกุล: พ่อแม่เสียใจมาก เพราะหนูเป็นลูกผู้หญิงคนเดียว พ่อสร้างศาลาอุทิศส่วนกุศลให้หนูที่วัดมกุฎฯ เอาชื่อหนูไปตั้งศาลานี้ มีรูปหนูและมีคำจารึก มีกระดูกที่เผาแล้วของหนู ฝังอยู่ในนี้ด้วยค่ะ พ่อดีขึ้นแล้ว หนูลาไปก่อน แล้วจะมาหาพ่ออีกค่ะ
พอรุ่งขึ้นเช้าอาการปวดก็กำเริบ ปวดทุรนทุรายร้องครวญครางอีก และทุกครั้งที่ปวดผมก็จะนึกถึง พิมพวดี ทันที ไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน ถ้าเป็นกลางวัน ก็จะได้ยินเสียงพูดว่า “พ่อ หนูมาแล้ว.” แล้วเธอก็เอามือมาช่วยกุมที่ปวดจนผมทุเลา ต่อมาในเย็นวันหนึ่ง ฯพณฯ ทวี บุณยเกตุ ซึ่งเป็นพี่ชายของผม ท่านได้ไปเยี่ยมพร้อมบุตรคือ บู๊-วีระวัฒน์ บุณยเกตุ ในนั้นอาการปวดของผมกำเริบปวดขึ้นมาก ๆ ผมนอนร้องเรียก พิมพวดี ให้มาช่วย คุณทวี ก็พอทราบเรื่องอยู่บ้าง แล้วจากคำบอกเล่าของญาติ ๆ ท่านก็เลยนั่งอยู่ ซึ่งปกติท่านไปเยี่ยมบ่อยมาก แต่ไปนั่งไม่นาน เพราะท่านทนความสงสารในความทุกข์ทรมานของผมไม่ไหว เย็นนั้นท่านนั่งอยู่นานหน่อย พอดีผมปวดมาก และร้องเรียกหนูพิมพ์ ว่า “ลูก มาช่วยพ่อที” จากนั้น พิมพวดี ก็ปรากฎตัวให้ผมเห็น ผมก็ถามว่า …
นายแพทย์อาจินต์ : ผ่าตัดแล้วทำไมยังไม่หายอีก
พิมพวดี โหสกุล: ยังไม่หาย ยังไม่หมดเวรหมดกรรมที่ทำไว้
นายแพทย์อาจินต์ : แล้วเมื่อไหร่จะหาย
พิมพวดี โหสกุล: ก็ราว ๆ อีกสี่ปี พ.ศ.2508 นั่นแหละ
นายแพทย์อาจินต์ : แล้วจะทำอย่างไรต่อไป
พิมพวดี โหสกุล: พรุ่งนี้แปดโมงเช้า หมอจะเอาตัวไปผ่าตัดอีก จะต้องผ่าอีกสองครั้ง รวมเป็นสี่ครั้งในคราวนี้
นายแพทย์อาจินต์ : ต้องผ่าถึงสี่ครั้งเชียวหรือ
พิมพวดี โหสกุล: หนูจะลาไปก่อน วันนี้รีบหน่อย เพราะจะไปรับส่วนกุศลที่เขาอุทิศให้ที่ศาลาพิมพวดี
นายแพทย์อาจินต์ : เขาอุทิศกุศลให้เรื่องอะไร
พิมพวดี โหสกุล: เขาบำเพ็ญกุศลศพใครก็ไม่รู้ที่ศาลา คนตายมีเหรียญตรา มีสายสะพาย
คุณทวี นั่งฟังอย่างสงบ ก็อยากจะพิสูจน์ จึงให้ คุณวีระวัฒน์ ขับรถออกไปดูว่าที่ ศาลาพิมพวดี วัดมกุฎฯ มีการบำเพ็ญกุศลศพใคร คุณวีระวัฒน์ จึงรีบขับรถไปที่วัดมกุฎฯ ทันที และปรากฏว่าคืนนั้นมีการนำศพออกมาจากสุสาน นำมาบำเพ็ญกุศล เป็นศพของรองอธิบดีกรมเจ้าท่า รูปถ่ายหน้าโกศเป็นรูปเต็มยศ มีเหรียญตรา มีสายสะพายจริง ๆ คุณวีระวัฒน์ จึงรีบขับรถมาเรียนคุณทวีว่าเป็นจริงอย่างที่ผมทวนคำพูดทุกประการ
คืนนั้น ผมปวดอีกครั้งหนึ่ง พอเช้า อาจารย์หมออุดม ก็มาเยี่ยมอย่างเช่นเคย พอทราบว่ายังปวดอีก ท่านก็ยืนครุ่นคิดอยู่ครู่ใหญ่ แล้วหันมาสั่งพยาบาลว่าไปบอกหัวหน้าตึกให้เตรียมคนไข้นี้ไปห้องผ่าตัดอีกที เช้าวันนี้ก่อนแปดนาฬิกา ผมตะลึง ภรรยา และพยาบาล งง ทุกคนในตึกนั้น เมื่อได้ทราบคำสั่งก็ประหลาดใจ เพราะพยาบาลที่เฝ้าเธอเล่าให้เพื่อน ๆ เธอฟังตั้งแต่เมื่อคืนแล้วว่า เช้านี้ผมจะต้องถูกผ่าตัดอีก เพราะ พิมพวดี บอกไว้
จากนั้นก็มีชายหญิงคู่หนึ่ง ซึ่งผมไม่รู้จักมาก่อนมาขอเยี่ยม สองท่านนี้เอาพวงมาลัยพวงใหญ่มาแขวนให้ผมที่หัวเตียงนอน สักครู่ใหญ่ผู้ชายที่มาด้วยก็ขออนุญาตเอารูปถ่ายเด็กผู้หญิงราว ๆ สามสิบใบ มาวางเรียงบนที่นอนผม และท่านก็ถามว่า “คุณหมอ ช่วยชี้ซิครับว่า คนที่มาหาคุณหมอ มาคุยกับคุณหมอ แล้วบอกว่าชาติก่อนเป็นลูกสาวคุณหมอ และชาตินี้เกิดมาเป็นลูกสาวผมน่ะ คนไหนในรูปถ่ายที่นำมาเรียงอยู่นี่” ผมลุกขึ้นนั่ง แล้วหยิบแว่นตามาสวมดูไปที่ละรูป ดูไม่นานนัก ผมก็หยิบเอารูปหนึ่งขึ้นมา และบอกว่า “หนูคนนี้แหละครับ ที่มาหาผมทุกวัน” ทั้งสองท่านหุบรอยยิ้มที่มุมปาก คุณผู้หญิงร้องไห้โฮใหญ่ คุณผู้ชายก็เช็ดน้ำตา แล้วกล่าวว่า “ใช่แล้วครับ รูปนี้คือรูปถ่ายหนูพิมพ์ พิมพวดี โหสกุล ลูกสาวผม ถ่ายในเครื่องแบบนักเรียน ส่วนนอกนั้นเป็นรูปเพื่อน ๆ ของหนูพิมพ์”
นายเสียง : ผมทราบข่าวก็เลยถือโอกาสมาเยี่ยม และสอบถามถึงลูกสาวผม เพราะทุกวันนี้ ก็ยังระลึกถึงหนูพิมพ์อยู่เสมอ แกเป็นเด็กที่น่ารักน่าเอ็นดูมาก ท่านั่งประจำของแกก็คือท่านั่งเท้าคาง เอาข้อศอกยันพื้นไว้ อย่างที่คุณหมอพูดจริง ๆ ผมชื่อ เสียง โหสกุล ครับ ตอนนี้หนูพิมพ์อยู่ที่ไหน
นายแพทย์อาจินต์ จึงพูดขึ้นว่า หนูพิมพ์ยังอยู่แถว ๆ นี้ และมาเยี่ยมผมเกือบทุกคืน โดยมากก็ไม่เว้น แต่บางที่ก็มาตอนกลางวัน หนูพิมพ์บ่นว่าคนถือขาหยั่งที่วางพวงหรีด เอาขาหยั่งไปเกี่ยวกับระย้าโคมไฟกลางศาลาพิมพวดี ตกลงมาแตกหลายอัน พ่อเธอไม่รู้เลยไม่มีใครไปทำให้ดีเหมือนเก่า เธอเสียดายมาก ผมก็นอนอยู่ที่เตียงนี้มากว่าสิบวันแล้ว ไม่เคยไปนั่งในศาลาที่ว่านี้ แล้วผมจะรู้ว่าที่กลางศาลาพิมพวดี มีโคมไฟระย้าห้อยอยู่ได้อย่างไร แล้วเดี๋ยวนี้ตกลงมาแตกหลายอัน
นายเสียง จึงไห้คนขับรถบึ่งไปดูโคมไฟ ว่าเป็นจริงตามที่ผมพูดหรือไม่ พอคนขับรถกลับมาก็บอกว่า “ระย้าที่ห้อยโคมไฟขาดไปหลายอัน สงสัยว่าจะตกลงมาแตก” ท่านจึงสั่งว่า “พรุ่งนี้ให้ช่างไฟไปดู แล้วไปจัดการเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย”
คุณเสียง และภรรยา นั่งอยู่อีกสักพักก็กลับ ก่อนกลับได้ถามผมว่า หนูพิมพ์พูดหรือเปล่าว่า วิญญาณของเธอจะไปไหนต่อ ผมก็ตอบว่า “อีกไม่ช้าหนูพิมพ์จะไปเกิด และทีนี้จะไปเกิดเป็นผู้ชาย เธอคุยกับผมว่าอย่างนั้น” พอได้ยินคำนี้ ภรรยาคุณเสียงก็ยกมือไหว้พึมพำว่า “เกิดชาติใดฉันใดขอให้มาเป็นแม่ลูกกันอีก” ก่อนจากกัน ทั้งสองท่านได้ออกปากเชิญผมว่า ถ้าผมหายป่วยเมื่อไหร่จะเชิญผมและภรรยาไปรับประทานอาหารที่บ้านสักครั้ง ผมจึงออกปากขอรูปถ่ายของหนูพิมพ์ไว้ เพื่อจะได้ดู และอุทิศกุศลให้เธอ เวลาสวดมนต์และทำบุญกุศล
พอค่ำอาการปวดก็มาเยือน ผมนึกไปถึงหนูพิมพ์พยายามเข้าสมาธิไปมันก็ไม่ทุเลา หนูพิมพ์มาเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบ พอรู้ว่าเธอมาผมก็พูดว่า “มาแล้วหรือลูก” แล้วผมก็ถามว่า “เมื่อไหร่จะหาย หรือหมดเวรกรรมเสียทีมันทรมานจริง ๆ ” หนูพิมพ์ก็ตอบว่า “อีกสี่ปีถึงจะพบหมอที่จะรักษาให้หายขาดได้ เมื่อนั้นก็หมดเวร แล้วก็จะมีความสุขตลอดไป” ผมก็ถามต่อไปว่า “แล้วจะมีอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ไนตอนนี้ เพราะตอนนี้ปวดมาก” เธอตอบว่า “พรุ่งนี้ พ่อจะต้องถูกผ่าตัดอีก คราวนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายสำหรับงวดนี้ และจะเป็นการผ่าตัดที่ทารุณที่สุดในชีวิตพ่อ!”
รุ่งเข้า 7 นาฬิกา อาจารย์ท่านก็มาเยี่ยมตามเคย พอได้รับรายงานจากพยาบาล ท่านก็ยืนนิ่งครู่หนึ่ง แล้วก็หันมาพูดกับผมว่า “เดี๋ยวแปดโมงเช้าเอาไปผ่าอีกที ทีนี้จะเลาะประสาทฝอยออกหมดทั้งแถบ มันคงจะไม่มีอะไรมาปวดอีกแล้ว” พอราว ๆ 8 นาฬิกา รถเข็นคันนั้นก็มาอีก คราวนี้พยาบาลไม่ฉีดยาให้ก่อนผ่าตัด ผมจึงถามพยาบาลว่าทำไมไม่ฉีดยาสลบ ก็ได้รับคำตอบว่า คราวนี้อาจารย์จะผ่าสด ๆ ไม่ใช้ยาฉีด ไม่ใช้ยาชาใด ๆ ทั้งสิ้น จะได้รู้ว่าประสาทฝอยเส้นไหนมันเสีย มันถึงปวด ผมก็นึกว่ากรรม กรรมแน่แท้
เวลาผ่าตัด ผมร้องออกมาดังกว่าวัว กว่าควาย ที่กำลังถูกเชือดอีก เพราะการผ่าตัดแบบนี้ เวลาดึงเส้นประสาททีไรก็สะดุ้งจนตัวลอย พยาบาลห้องผ่าตัดก็กดหัวไว้ ทั้ง ๆ ที่พันธนาการไว้อย่างเหนียวแน่น ผมร้องโอดโอย ดังที่สุดในชีวิต เจ็บที่สุดในชีวิตปวดที่สุดในชีวิต และทารุณที่สุดในชีวิต เหมือนกับที่ หนูพิมพ์ บอกไว้ไม่มีผิด และสุดท้ายผกก็สลบไปเอง เพราะความเจ็บปวด มารู้สึกตัวอีกทีเมื่อพบว่าตัวเองมาอยู่ในห้องนอนที่สายน้ำเกลือรุงรัง มีสายยางอยู่ที่จมูกที่ปาก ก็พบภรรยาและพยาบาลที่นั่งเฝ้าอยู่ พอหลับตาสักครู่ หนูพิมพ์ ก็เอามือมากุมตรงที่แผลผ่าตัด และที่ปวดอยู่ ผมก็ถามเธอว่า
นายแพทย์อาจินต์ : พ่อหมดเวร หรือยัง
พิมพวดี โหสกุล: พ่อชดใช้กรรมตามที่เขาอาฆาตไว้มากแล้ว ต่อไปนี้จะดีขึ้น ๆ
นายแพทย์อาจินต์ : พ่อจะถูกผ่าตัดอีกไหม
พิมพวดี โหสกุล: ไม่มีอีกแล้ว
นายแพทย์อาจินต์ : แล้วจะปวดโรคประสาทนี้อีกไหม
พิมพวดี โหสกุล: ยังมี แต่ไม่ทารุณมากนัก จะมีอีกสี่ปี
นายแพทย์อาจินต์ : แล้วจะให้พ่อทำอย่างไรต่อไป
พิมพวดี โหสกุล: ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เขาไปเรื่อย ๆ ขออโหสิเขาเสียภาวนา แล้วส่งในไปแผ่ส่วนกุศลให้เขาเสมอ ๆ นะพ่อนะ
นายแพทย์อาจินต์ : พ่อจะกลับบ้านได้เมื่อไหร่
พิมพวดี โหสกุล: วันอาทิตย์นี้แหละจ้ะ พ่อ
นายแพทย์อาจินต์ : ถ้ามันยังไม่หาย จะกลับไปได้อย่างไร
พิมพวดี โหสกุล: ก็ยังมีกรรมเบา ๆ หลงเหลืออยู่อีก ถึงจะเป็นก็ไม่รุนแรงเท่าคราวนี้จ้ะ
นายแพทย์อาจินต์ : เวลาพ่อกลับบ้านแล้ว พ่อจะเรียกให้ลูกไปหาจะได้ไหม
พิมพวดี โหสกุล: หนูจำต้องลาไปเกิดแล้ว และเป็นผู้ชายจ้ะ..แล้วลูกเข้าบ้านพ่อไม่ได้ เจ้าที่ เจ้าทาง เขาห้ามจ้ะ หนูลาพ่อเลยนะ และทีนี้จะไม่มาอีกแล้วจ้ะพ่อ พ่ออย่าลืมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เขา และเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย นะพ่อนะ
เสียงหนูพิมพ์แว่ว ๆ แต่ชัดเจนติดมาจนบัดนี้ แล้ว หนูพิมพ์ ไม่ปรากฏกายให้เห็นอีกเลย อาการปวดผมก็บรรเทาเบาบางลง ๆ ซึ่งตอนที่ออกจากโรงพยาบาล ก่อนกลับบ้านผมถือรูปหนู พิมพวดี ไว้ในมือ แล้วสั่งให้รถแวะไปที่วัดมกุฏกษัตริยารามก่อน เพื่อไปดูศาลาพิมพวดี ไปดูรูปหนูพิมพ์ผู้มีพระคุณ ผมยกมือขึ้นอุทิศส่วนกุศลให้เธอ และบอกเธอว่า จะทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ เมื่อสวดมนต์ก็จะอุทิศส่วนกุศลให้เธอทุกวัน จนกว่าผมจะตายไป และขอให้ได้พบกันเป็นพ่อลูกทุก ๆ ชาติ
ขอให้วิญญาณของเธอไปสู่สุคติ ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ผู้ให้ข้อมูลต่างๆ และผู้ที่มีประสบการณ์กับกรณีศึกษา ด้านจิตวิญญาณ การเวียนว่ายตายเกิด ให้รับกุศลผลบุญกุศล โดยทั่วกันเพื่อประโยชน์ทางด้านการเผยแพร่พุทธศาสนา เพื่อความเข้าใจเรื่องผลของกรรม การใช้เวรใช้กรรมตามหลักศาสนาพุทธ
เครดิต : เฟสบุ๊ค นพดล อุ่นตา