แชร์สนั่น สเตตัสล่าสุดของ อาจารย์ดัง ที่เคยทาย รายชื่อเมืองที่จะจมใต้น้ำ!
กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งสำหรับ คำทำนายของ อาจารย์ ชื่อดัง ผู้อ้างว่าตัวเองได้ศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกมาหลายปี อย่างเจ้าของเฟชบุ๊คที่ชื่อ ว่า Piyacheep S.Vatcharobol ที่เคยทำนายรายชื่อเมืองที่จะจมอยู่ใต้น้ำในปี 2063 เอาไว้ดังนี้
Kru Chanvit รายชื่อเมืองที่จะจมอยู่ใต้น้ำ ประมาณ พ.ศ. 2563
อ่านให้จบนะครับ แล้วตามไปอ่านในลิ้งค์ด้วย อ่านให้ละเอียดช้าๆ แล้วหากท่านอยากรู้อะไรเพิ่มเติม ก็เสิร์ทค้นหาในกูเกิ้ลต่อนะครับ พิมพิ์ภาษาไทยลงไปนี่หละครับ ละเอียดกว่าถามผมแยะครับ
ที่คุณครูชาญวิทย์ลงมาเป็นล่าสุด แต่ยังไม่เห็นต้นตอที่มา
ส่วนด้านล่างเป็นของ ดร.เสรี
แค่ไม่ต้องคำนึงถึงอภิมหาภัยพิบัติทำลายโลก เอาแค่น้ำแข็งละลายน้ำก็ท่วมกรุงเทพมหานครลึกเข้ามาชายฝั่งอย่างน้อยที่สุด ๑๐ กิโลเมตรแล้ว และผมยืนยันว่า เขาประเมินต่ำกว่าความเป็นจริง
พม่าย้ายเมืองหลวงไป เนียปิดอว์ เรียบร้อยแล้ว ไม่โลกสวยนะครับ และไม่โลกมืดด้วย โลกเปลี่ยนไปตามวัฎจักรวงรอบธรรมชาติ ไม่ได้มีอะไแปลกใหม่เลย ช่วงชีวิตเราในรอบนี้เท่านั้นที่มีคนพยายามปิดบังให้เรามาเรียนมารู้เอง เพราะระบบทุนนิยม เน้นการบริโภคปิดหูปิดตากันไปหมด ลองอ่าน พิจารณาดูนะครับ
------------------------------------------------------------------------------
........คาดเดาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ฟ สหรัฐอเมริกาน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
........เมืองที่อยู่ริมชายฝัง , เกาะ , เมืองที่มีแม่น้ำไหลผ่าน อาจจมน้ำได้ ปริมาณน้ำที่เคยเป็นหิ้งน้ำแข็ง
........และที่เคยหักเป็นก้อนอยู่ในทะเลในฤดูหนาวนั้น มีปริมาณหลายพันลูกบาศก์กิโลเมตร
........ซึ่งมากพอที่จะเพิ่มระดับน้ำทะเลให้สูงกว่าเดิมถึง 6,400 นิ้ว หรือ 16,000 เซนติเมตร หรือ 160 เมตร ในปี ค.ศ. 2020 หรือ พ.ศ. 2563
........นั้นแสดงว่า ไอพีซีซี คำนวณการเพิ่มของระดับน้ำทะเลพลาดไป 1 เท่าตัว เพราะไม่ได้เอาปัจจัยหิ้งน้ำแข็งมาคำนวณ
........จากผลการศึกษาชุดล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรปทั้ง 3 คนนี้ คาดว่า เร็วๆนี้ ไอพีซีซี คงจะออกมาชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยตัวใหม่
........ที่ส่งผลถึงการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลทั่วโลก ' สรุประดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นถึง 160 เมตรทั่วโลก
-------------------------------------------------------------------------------
รายชื่อเมืองที่จะจมอยู่ใต้น้ำ 160 เมตร ประมาณ พ.ศ. 2563
-------------------------------------------------------------------------------
........1. นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ประชากรประมาณ 24,857,000 คน
........2. ฟิลาเดนเฟีย สหรัฐอเมริกา ประชากรประมาณ 7,452,300 คน
........3. ลอส แอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ประชากรประมาณ 16,927,620 คน
........4. โทรอนโต แคนาดา ประชากรประมาณ 9,258,400 คน
........5. ออสตาวา แคนาดา ประชากรประมาณ 12,638,450 คน
........6. ฮาวานา คิวบา ประชากรประมาณ 7,524,000 คน
-------------------------------------------------------------------------------
อเมริกาใต้
-------------------------------------------------------------------------------
........7. การากัส เวเนซุเอรา ประชากรประมาณ 12,856,000 คน
........8. บัวโนสใฮเรส อาร์เจนตินา ประชากรประมาณ 5,492,000 คน
........9. โบโกตา โคลอมเบีย ประชากรประมาณ 14,584,900 คน
........10. เซาเปาลู บราซิล ประชากรประมาณ 8,243,000 คน
........11. ซาติเอโก ชิลี ประชากรประมาณ 11,859,200 คน
-------------------------------------------------------------------------------
ยุโรปบ้าง
-------------------------------------------------------------------------------
........12. ลอนดอน อังกฤษ ประชากรประมาณ 18,672,000 คน
........13. เฮงซิงกิ ฟินแลนด์ ประชากรประมาณ 7,473,600 คน
........14. ปารีส ฝรั่งเศส ประชากรประมาณ 17,253,000 คน
........15. สตอสโฮร์ม สวีเดน ประกรประมาณ 12,854,000 คน
........16. อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ ประชากรประมาณ 8,967,000 คน
........17. ดับลินไอร์แลนด์ 4,982,400 คน
------------------------------------------------------------------------------
เอเชียบ้านเรา
------------------------------------------------------------------------------
........18. โตเกียว ญี่ปุ่น ประชากรประมาณ 34,749,000 คน
........19. นางาซากิ ญี่ปุ่น ประชากรประมาณ 21,746,450 คน
........20. โซล เกาหลีใต้ ประชากรประมาณ 9,255,000 คน
........21. ไทเป ใต้หวัน ประชากรประมาณ 18,792,000 คน
........22. เซี่ยงไฮ้ จีน ประชากรประมาณ 16,482,900 คน
........23. ฮ่องกง จีน ประชากรประมาณ 17,784,000 คน
........24. ฮานอย เวียดนาม ประชากรประมาณ 15,644,200 คน
........25. กรุงเทพมหานคร ไทย ประชากรประมาณ 11,584,700 คน
........26. สิงคโปร์ซิตี้ สิงคโปร์ ประชากรประมาณ 3,257,000 คน
........27, ย่างกุ้ง พม่า ประชากรประมาณ 4,922,000 คน
------------------------------------------------------------------------------
ออสเตรเลีย
------------------------------------------------------------------------------
........28. ซิดนี่ย์ ออสเตรเลีย ประชากรประมาณ 18,351,400 คน
........29. วิกตรอเรีย ออสเตรเลีย 8,445,000 คน
........30. เวงลิงตัน นิวซีแลนด์ ประชากรประมาณ 4,799,520 คน
-----------------------------------------------------------------------------
อีก 10 ปีกรุงเทพอยู่ใต้บาดาล "รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์"
สถาบันเวิลด์วอทช์ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ศึกษาวิจัยด้านสภาพแวดล้อมทั่วโลกระบุว่า จากการศึกษาของสหประชาชาติ (UN) และอีกหลายสถาบัน พบว่า เมืองที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั่วโลกกำลังเผชิญกับอันตรายจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและพิบัติภัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยพบว่า เมืองชายฝั่ง 21 แห่ง จากทั้งหมด 33 แห่งที่ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนประชากรสูงถึง 8 ล้านคนภายในปี 2558 มีความเปราะบางสูงมากที่จะถูกน้ำท่วม ซึ่ง 1 ในเมืองที่มีความเสี่ยงต่อภัยนี้ คือ "กรุงเทพมหานคร"
สอดคล้องกับโครงการวิจัยร่วมไทย-ยุโรป GEO2TECDI (Geodetic Earth Observation Technologies for Thailand : Environmental Change Detection and Investigation) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยร่วมระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุ โรปที่ได้รับการสนับ สนุนเงินทุนจากสหภาพยุโรป ในโครงการตรวจวัดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินและระดับน้ำ ทะเลโดยใช้เทคโนโลยี Space Geodetic ออกมาเปิดเผยผลวิจัย ว่า ประเทศไทยโดยรวมจะมีการทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยกลับเพิ่มขึ้น ส่วนแผ่นดินกรุงเทพฯ จะทรุดลงปีละ 15 มม.
"รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์" กรรมการภูมิศาสตร์โลก และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่เพิ่งศึกษาวิจัยประเด็นนี้เสร็จหมาดๆ แล้วส่งเปเปอร์ให้กับธนาคารโลก (World Bank) ในฐานะเจ้าของเงินทุนการวิจัย เล่าความเป็นมาว่า ได้ใช้เวลาในการศึกษาเรื่องนี้ 2 ปี โดยศึกษาเฉพาะกรณีของประเทศไทย
เหตุเพราะว่าธนาคารโลกสนใจเรื่องนี้มาก และศึกษามาอย่างต่อเนื่องจนได้ข้อมูลว่า 4 เมืองหลักในทวีปเอเชีย ได้แก่ เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย, เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม, เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และกรุงเทพฯ ประเทศไทย
ดังนั้น จึงให้ทุนมาศึกษาวิจัยว่าความเสี่ยงมีมากขนาดไหน ประชาชนจะได้รับผลกระทบกี่ครอบครัว และความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจะเป็นมูลค่าเท่าไหร่
"วิธีการศึกษาผมได้ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ เป็นคอมพิวเตอร์ทั้งหมด สร้างเมืองกรุงเทพฯจำลองขึ้นมา ซึ่งกรุงเทพฯ ประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองต่างๆ ระดับความสูงของพื้นดิน ระดับน้ำทะเลบริเวณเขตบางขุนเทียน จากนั้นใส่ปริมาณน้ำเหนือ น้ำหนุน และปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา ใส่ข้อมูลต่างๆ ลงไปให้ครบ และใช้เหตุการณ์น้ำท่วมปี 2538 เป็นฐาน.."
ผล.. เราพบว่าถ้าเหตุการณ์อย่างปี 2538 เกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง อนาคตเราหนีไม่พ้นแน่ กรุงเทพฯรับไม่ได้กับเหตุการณ์นี้ ต้องโดนน้ำท่วมหนัก"
คำว่า "กรุงเทพฯรับไม่ได้กับเหตุการณ์นี้" ของอาจารย์เสรีมีความหมายว่าผืนดินบริเวณริมทะเลทั้งหมด โดยวัดจากริมชายทะเลเข้าไปในแผ่นดินประมาณ 10 กิโลเมตร จะถูกน้ำท่วม "โดยมีระดับความสูงของน้ำ 1.8-2.00 เมตร" !! ดังนั้นลักษณะของบ้านอนาคตประเทศไทยต้องมีใต้ถุนสูง ส่วนบ้านแพลอยน้ำเป็นของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ขณะนี้ได้ออกแบบเตรียมรับมือน้ำท่วมไว้แล้ว
""เราพบว่าพื้นที่กรุงเทพฯ จะถูกน้ำท่วมรุนแรง แน่นอนว่าขึ้นอยู่กับว่าจะติดกับชายฝั่งขนาดไหน ถ้าอยู่ติดชายฝั่งระดับน้ำจะท่วมสูง 1.8-2.00 เมตร ถ้าลึกเข้าไปก็ลดหลั่นกันไป แต่ริมชายฝั่งอย่าง จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร บริเวณปากแม่น้ำจมแน่ๆ""
เขาอธิบายว่า กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ชั้นหินอ่อนจะเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมภายใน 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป โดยสถานการณ์จะรุนแรงกว่าปี 2538 เพราะจากการคำนวณพบว่า ทุกๆ 25 ปี กรุงเทพฯ มีโอกาสจะเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง (ภายในปี 2563) ทั้งนี้หากคำนวณจากปัจจัยแผ่นดินทรุดเพียงกรณีเดียว พบว่าจะเกิดปัญหาน้ำท่วมภายใน 25 ปี แต่ในความเป็นจริงปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วม ไม่ได้มีเพียงแค่กรณี เดียว
แต่ ประกอบด้วย 4 ปัจจัยดังต่อไปนี้ 1.ปริมาณฝนที่ตกลงมา ขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 5-10% ต่อปี 2.การทรุดตัวของแผ่นดิน ซึ่งในอดีตแผ่นดินกรุงเทพฯ จะทรุดตัวต่ำลงประมาณปีละ 100 มม.แต่ในปัจจุบันหลังมีมาตรการห้ามขุดเจาะน้ำบาดาล อัตราการทรุดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ10-20 มม. 3.ระดับ น้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีอัตราน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 3 มม.4.ผังเมืองและความแออัดของชุมชนเมือง ทำให้พื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ชุ่มน้ำของกรุงเทพฯ ลดลงกว่า 50% เมื่อมีน้ำเหนือไหลมาหรือมีปริมาณฝนมากขึ้นจึงไม่มีพ ื้นที่รองรับน้ำ
"สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือเหตุการณ์ปี 2538 น้ำเหนือมาหนักมาก มันไหลมา 4,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะที่กรุงเทพฯรับน้ำได้ 3,000 ลูกบาศก์เมตร เพราะฉะนั้นหากเกิดเหตุการณ์เช่นปี 2538 อีกครั้งเมื่อน้ำมาสี่พันกว่าลูกบาศก์เมตรเขาจำเป็นต้องผลักน้ำออกไปทางซ้ายและทางขวา ก่อนเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งหมายความว่าน้ำจะท่วมชนบทอย่างมโหฬาร พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม จะโดนหนักมาก แล้วมาทาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เขตหนองแขม และเขตลาดกระบัง กทม. ก็ไม่รอด"
สำหรับสาเหตุที่น้ำท่วมกรุงเทพฯในปี 2563 จะหนักหนาสาหัสมาก ดร.เสรีบอกว่า ตัวการสำคัญ คือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะผังเมือง โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ว่างเปล่า ลดลงไปจากเดิมถึงครึ่งหนึ่ง
"แต่ก่อนผมจำได้ว่ามีพื้นที่ว่างเปล่าหรือพื้นที่ชุ่มน้ำของ กทม. 1,500 ตร.กม. เป็นพื้นที่สีเขียวประมาณ 40% ปัจจุบันเหลือเพียง 20% เท่านั้น และขณะนี้เรากำลังสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ รุกล้ำไปในพื้นที่ชุ่มน้ำมาก เช่น สร้างหมู่บ้านจัดสรรขวางทางระบายน้ำ ซึ่งเป็นทางน้ำไหลลงทะเลไปทางทุ่งตะวันออก บริเวณหนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง บริเวณนี้หมู่บ้านเกิดขึ้นเยอะมาก รวมทั้งสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะฉะนั้นจึงเป็นปัญหา"
อาจารย์เสรีบอกว่า ภายในปี 2563 หากเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นและถ้ารัฐบาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ได้ดำเนินการอะไร ไม่ได้สร้างคันดินที่จะกั้นน้ำไม่ให้ทะลุเข้ามา หรือการขุดลอกคลองระบายน้ำ ทำพื้นที่แก้มลิง หรือหาพื้นที่แก้มลิงเพิ่มเติมน้ำจะท่วมกรุงเทพฯแน่นอน
โดยล่าสุด อาจารย์ คนดังกล่าวได้โพสต์สเตตัสfacebook อีกครั้งหลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่ พัทยา ระบุว่า
ตามข้อมูลที่ผมศึกษาและมีอยู่ ผมเชื่อว่าเหตุการณ์เมื่อวานที่พัทยาจะเกิดอีก
และพื้นที่อื่นๆ ก็มีโอกาสเกิดได้มากถึงปลายเดือนพฤศจิกายน
แต่ก็ควรระวังจนจบฤดูหนาวนี้ด้วยความชื้นจะมากเช่นกันนะครับ
เตรียมตัวป้องกันไว้ในแต่ละบ้านนะครับ
ไม่เกิดก็ดีมากๆครับ แต่หากเกิด
ทรัพย์สินส่วนตัวท่านที่จะเสียหาย ไม่ใช่ทรัพย์สินผมนะครับ
ที่มาจาก