มองอีกมุม จากจิตแพทย์กับเหตุการณ์ไม่มีใครลุกให้เด็กนั่ง
ครั้งหนึ่งระหว่างนั่งรถไฟในประเทศญี่ปุ่น แม่ลูกคู่หนึ่งก้าวขึ้นมา ไม่มีใครสละที่นั่งให้ แต่ดูเหมือนว่าทั้งสองคนไม่ได้เดือดร้อน
ผู้ใหญ่มีหน้าที่ ป้องกัน เด็กจากอันตราย ที่เขาไม่รู้จัก เช่น เด็กเล็กห้ามจับมีด (เมื่อโตพอที่จะใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้ดี จึงค่อยใช้อย่างรู้จักระวัง) สอน ให้เด็กสามารถทำสิ่งที่เด็กวัยนั้นๆทำได้ เช่น 1ขวบเดินได้ 2ขวบวิ่งได้ สอน ให้เด็กรู้ว่าเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร เช่น เมื่อซื้อของต้องต่อคิว , พูดคำว่าขอบคุณและขอโทษ
เช่น เด็ก2ขวบสามารถวิ่งได้คล่องแล้ว เขาจึงไม่จำเป็นต้องถูกอุ้มไว้บ่อยเกินไป และหากขึ้นรถไฟแล้วไม่มีที่นั่ง การยืนก็เป็นเรื่องปกติ เพียงแต่ต้องจับมือพ่อแม่เอาไว้ ถ้ามีใครลุกให้ ให้กล่าวขอบคุณไม่ว่าเราจะรับน้ำใจนั้นหรือไม่ก็ตาม
อย่าทำให้เด็กเข้าใจว่า การได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น เป็น "สิ่งที่พึงได้" อายุน้อยไม่ใช่ "สิทธิพิเศษ" ในการไม่ทำตามของกติกาของสังคม (เช่น ขอเข้าห้องน้ำสาธารณะที่คิวยาวเหยียดก่อนเพราะเขายังเด็กแล้วแม่ก็ได้เข้าก่อนด้วย) ลูกจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เอาตัวรอด รู้จักเอื้อเฟื้อ รู้สึกขอบคุณไมตรีที่ผู้อื่นมีให้ หรือ เป็นผู้ใหญ่ที่ช่างเรียกร้อง มักรอคอยความช่วยเหลือจากคนอื่น ไม่พอใจเมื่อไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเขาถูกเลี้ยงมาอย่างไร และพ่อแม่ทำพฤติกรรมแบบไหนให้เขาเห็นบ่อยๆ