สัมพันธ์จีน-ตุรกีตึงเครียด
นักท่องเที่ยวชาวจีนในนครอิ
ช่วง 10 วันที่ผ่านมาความรู้สึกต่อต้านจีนมีให้เห็นมากขึ้นในตุรกี ไม่ว่าจะเป็นภาพการเผาธงชาติจีน ข่าวการโจมตีร้านอาหารจีน หรือแม้แต่ข้อกล่าวหาเรื่องการทำร้ายนักท่องเที่ยวโดยเข้าใจผิดว่าเป็นนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งความตึงเครียดระหว่างสองประเทศมีชนวนเหตุมาจากกระแสความไม่พอใจของชาวมุสลิมในตุรกีต่อรายงานข่าวที่ว่า ชนกลุ่มน้อยชาวอุยกูร์ ในเขตปกครองตนเองซินเจียง ของจีนถูกสั่งห้ามไม่ให้ถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอน
ชาวมุสลิมในตุรกีถือว่า ตนและชาวอุยกูร์ มีความเกี่ยวดองกันทางชาติพันธุ์ ศาสนา และมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน ดังนั้นข่าวที่ชาวอุยกูร์ถูกห้ามไม่ให้ถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอนจึงสร้างความขุ่นเคืองใจให้ชาวตุรกีเป็นอย่างมาก แม้แต่กระทรวงต่างประเทศตุรกียังได้ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อกรณีที่เกิดขึ้น ขณะที่ทางการจีนได้แถลงปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และว่าเป็นการพูดขยายความเกินจริงของสื่อตะวันตก พร้อมยืนกรานว่าได้ให้ความเคารพต่อเสรีภาพในการนับถือศาสนาอิสลามอย่างเต็มที่
ร้านอาหารจีน แฮปปี้ ไชน่า ในนครอิสตันบูลที่ถูกกลุ่มผ
ขณะเดียวกันมีรายงานว่า ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นทำให้มีการโจมตีร้านอาหารจีนและพลเมืองจีนในตุรกี แต่กลุ่ม “เกรย์ วูล์ฟส์” ซึ่งเป็นแกนนำการเดินขบวนประท้วงจีนในนครอิสตันบูลเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว พร้อมรับประกันว่าจะไม่ทำร้ายนักท่องเที่ยวอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ ชาวอุยกูร์เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เติร์กที่นับถือศานาอิสลาม และมีสัดส่วนคิดเป็น 45% ของประชากรในเขตปกครองตนเองซินเจียง โดยจีนได้ผนวกดินแดนแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของจีนเมื่อปี 2492 ซึ่งนับแต่นั้นมาทำให้มีชาวจีนเชื้อสายฮั่นอพยพเข้าไปอยู่เป็นจำนวนมาก จนทำให้ชาวอุยกูร์เกรงว่า วัฒนธรรมดั้งเดิมของตนจะถูกกลืนหรือถูกทำลายไป
ปัจจุบันตุรกีเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของชาวอุยกูร์ที่หลบหนีออกจากจีน โดยข้อมูลเมื่อปี 2552 ของทางการตุรกีระบุว่า มีชาวอุยกูร์กว่า 300,000 คนอาศัยในตุรกี ซึ่งนายเมห์เหม็ด ซอยเลเมซ นักวิชาการชาวตุรกีที่อาศัยในจีนระบุว่า การอพยพของชาวอุยกูร์เพิ่มขึ้นมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เพราะชาวอุยกูร์ไม่ได้มีชีวิตที่สุขสบายในจีน เนื่องจากมีข้อห้ามในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ อีกทั้งยังถูกเลือกปฏิบัติในสังคมด้วย
การประท้วงจีนของชาวตุรกีซึ
ชายมุสลิมชาวอุยกูร์ในมณฑลซ