นครลำปาง อดีตเมืองประเทศราชของล้านนา
นคร ลำปาง...อดีตเมือง ประเทศราชของล้านนา เมืองลำปาง หรือ เขลางค์นคร ในอดีตมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์เช่นเดียวกับเมือง เชียงใหม่และลำพูนมาโดยตลอด ลูกหลานของเจ้าวงศ์เจ็ดตนในนครลำปางได้มีอำนาจปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ในล้านนาและเป็นต้นสายตระกูล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูนและ ณ ลำปาง ซึ่งได้ร่วมพัฒนาบ้านเมืองและอนุรักษ์สืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามให้ คงอยู่สืบต่อมาจนปัจจุบัน ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา รัฐบาลกลางแห่งสยามได้มีนโยบายปฏิรูปการปกครองประเทศให้ทันสมัย ซึ่งในระยะแรกนั้นไม่ได้มีนโยบายที่จะยกเลิกฐานะเจ้าประเทศราชหรือตำแหน่ง เจ้าผู้ครองนคร เนื่องจากหัวเมืองประเทศราชทางเหนือเคยปกครองบ้านเมืองอย่างค่อนข้างอิสระ และมีสัมพันธ์อันดีต่อรัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯตลอดมา แต่เนื่องจากหัวเมืองประเทศราชทางเหนือมีปัญหาสำคัญ 2 ประการคือ เรื่องการให้สัมปทานป่าไม้ที่ซ้ำซ้อนกันและเรื่องความวุ่นวายในหัวเมืองชาย แดน ซึ่งเป็นปัญหาที่ขัดต่อผลประโยชน์ของอังกฤษที่กำลังแผ่อิทธิพลเข้ามาทางพม่า รัฐบาลกรุงเทพฯจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปการปกครองในหัวเมืองเหนือ โดยดำเนินนโยบายรวมหัวเมืองประเทศราชทางเหนือ อันได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ ปี พ.ศ.2417
สถานกงสุลอังกฤษประจำนครลำปาง ชาวต่างชาติ ณ สถานีรถไฟ การทำธุรกิจเกี่ยวกับป่าไม้ในนครลำปาง
รัฐบาลกลางเริ่มส่งข้าหลวงจากกรุงเทพฯเข้ามาควบคุมดูแลและแก้ไขปัญหาในนคร เชียงใหม่ ลำปางและลำพูน เรียกว่า "ข้าหลวง 3 หัวเมือง" มีหน้าที่ชำระคดีความที่เกี่ยวข้องกับคนในบังคับอังกฤษและประสานงานกับ รัฐบาลกรุงเทพฯ ต่อมาก็ได้ส่งข้าหลวงใหญ่ที่มีอำนาจเต็มเข้าไปปฏิรูปการปกครอง ปี พ.ศ.2427 ได้ปฏิรูปหัวเมืองประเทศราชทางเหนือ เป็นช่วงต้นก่อนการจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ขณะนั้นหัวเมืองทางเหนือเรียกว่า "หัวเมืองลาวเฉียง" พ.ศ.2435 ได้ปฏิรูประบบการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ทำให้นครลำปางที่มีฐานะเป็นเมืองประเทศราชต้องถูกลดบทบาทลงกลายเป็นหัวเมือง หนึ่งในมณฑลลาวเฉียง เช่นเดียวกับ เชียงใหม่ ลำพูน แพร่และน่าน ปี พ.ศ.2442
นครลำปางอยู่ภายใต้การปกครองของมณฑลพายัพ ซึ่งเป็นการยกเลิกหัวเมืองประเทศราชทางเหนือรวมเข้ามาเป็นดินแดนส่วนหนึ่งใน พระราชอาณาจักรล้านนาไทยอย่างแท้จริง ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯให้พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จเยี่ยมหัวเมืองในมณฑลพายัพ เมื่อ พ.ศ.2448 โดยเสด็จทางชลมารคไปขึ้นบกที่จังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วทรงกระบวนม้าและช้างต่อไปยังเมืองแพร่ ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่และลำพูน ปี พ.ศ.2458 เมืองลำปางได้ถูกแยกออกจากมณฑลพายัพไปขึ้นกับมณฑลมหาราษฏร์ ซึ่งประกอบด้วยเมือง ลำปาง แพร่และน่าน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองแพร่ต่อมาจึงได้รวมกับมณฑลพายัพ เป็นมณฑลภาคพายัพ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดให้ประชาชนใช้บริการรถไฟสายเหนือจากกรุงเทพ - ลำปางเป็นขบวนแรกเมื่อวันปีใหม่ของสยามตรงกับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2459
ในสมัยนั้นมีเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง นอกจากนั้นในวันเดียวกันนี้เองยังถือเป็นวันที่มีการนำรถม้ามาให้บริการรับ จ้างบนเส้นทางหลวงของมณฑลพายัพอีกด้วย จึงทำให้กิจการรถม้าและรถไฟมีบทบาทสำคัญต่อเมืองลำปางในการเป็นศูนย์กลาง เศรษฐกิจและการค้าที่สำคัญของภาคเหนือ ปี พ.ศ.2463 ได้เกิดอุทกภัยร้ายแรงน้ำป่าจากอำเภอวังเหนือและอำเภอแจ้ห่มพัดพาเอาท่อนซุง ไม้สักไหลลอยทำลายบ้านเรือนมากองรวมกันอยู่ที่บริเวณสะพานรัษฏาภิเษกและกาด กองจันนับหมื่นท่อน ทำให้เมืองลำปางเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ปี พ.ศ.2469
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พร้อมด้วยพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองต่าง ๆ ในมณฑลพายัพ พระองค์ได้เสด็จประทับที่เมืองลำปางและได้พระราชทาน พระแสงราชศัตราวุธชั้นสูงให้สำหรับชุบทำน้ำพระพิพัฒน์สัตยาและเป็นที่ สักการะแทนพระองค์ หลังจากที่เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ.2465 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงมิได้โปรดเกล้าแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอีกต่อไป เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าผู้นครลำปางได้ชื่อว่าเป็นเจ้าเมืองที่เสียสละพระราชทรัพย์ส่วนตัวเพื่อ ถวายเป็นสาธารณประโยชน์ เช่น ยกคุ้มหลวงพร้อมที่ดินให้เป็นศาลากลางจังหวัดและมอบบ้านอีก 2 หลังให้เป็นที่ว่าการอำเภอเมืองลำปางและกองกำกับการตำรวจภูธร มอบบ้านและที่ดินให้เป็นสถาบันการศึกษาคือโรงเรียนบุญวาทย์ลำปางในปัจจุบัน ปี พ.ศ.2476 ทางราชการได้ประกาศยกเลิกการปกครองแบบมณฑลทั่วราชอาณาจักร นครลำปางจึงมีฐานะเป็นจังหวัดของประเทศไทยดังเช่นปัจจุบัน