เตือนภัย ! กินลูกเนียงดิบเสี่ยงไตวายเฉียบพลัน
ลูกเนียง (Djenkol bean) เป็นพืชผักพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมในภาคใต้ของประเทศไทยด้วยรสชาติเฉพาะตัวที่มีกลิ่นเฉพาะตัวเมื่อนำไปจิ้มกับน้ำพริกหรือนำไปแกล้มเป็นเหนาะคู่กับแกงส้ม แกงกะทิ น้ำบูดู หรือ แกงพุงปลา เมื่อเคี้ยวลูกเนียงพร้อมกับเมนูอาหารเหล่านี้ด้วยความกรอบ มันของลูกเนียงทำให้เพิ่มรสชาติความอร่อยของมื้ออาหารได้เป็นอย่างดี ลูกเนียงจึงเป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่ใคร ๆหลายคนชื่นชอบแต่ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่ทราบถึงพิษของลูกเนียง การกินลูกเนียงดิบในปริมาณมากอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้
สาเหตุเกิดจากสารพิษที่เรียกว่า กรดเจงโคลิค (Djenkolic acid) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีกรดกำมะถันในปริมาณมาก ความเป็นพิษของกรดชนิดนี้
โดยทั่วไปพบได้น้อย ผู้บริโภคที่มีอาการเกิดการกินลูกเนียงดิบในปริมาณมากร่วมกับการดื่มน้ำในปริมาณน้อย ปริมาณของลูกเนียงที่ทำให้เกิดพิษนั้นเกิดจากการกินตั้งแต่ 1-20 เมล็ด ผู้ป่วยจะพบอาการบริเวณไตมีอาการปวดเอว ปวดบริเวณขาหนีบ ปัสสาวะลำบาก น้ำปัสสาวะขุ่นเป็นสีน้ำนม และอาจปัสสาวะเป็นเลือด บางรายมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ในรายที่รุนแรงอาจปัสสาวะไม่ออก บางรายเกิดอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้โดยเฉพาะในเด็ก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายได้เอง 3-4 วัน บางรายมีไข้ต่ำ ปัสสาวะน้อยและมีความดันโลหิตสูง
วิธีลดพิษในลูกเนียงก่อนกิน
- ต้มให้สุก : การต้มลูกเนียงจนสุกสามารถลดปริมาณกรดเจงโคลิคลง
- หั่นเป็นชิ้นบางแล้วตากแดด : การหั่นลูกเนียงเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วนำไปตากแดดก่อนนำมาปรุงอาหารจะช่วยลดสารพิษในลูกเนียง
ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตหรือมีประวัติเป็นโรคไต ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคลูกเนียงดิบหรือในปริมาณมาก และควรปรึกษาแพทย์ก่อนการบริโภค

