เทคนิคใหม่ของไต้หวัน ช่วยเพิ่มผลผลิตดอกลำไยได้
สาขาการทดลองการเกษตรเจียอี้ ของสถาบันวิจัยการเกษตร ของไต้หวัน ได้พัฒนาเทคนิคการชักนำดอกขั้นสูง โดยใช้โพแทสเซียมคลอเรต เพื่อกระตุ้นการผลิตลำไยในช่วงฤดูหนาวที่อบอุ่น
ลำไยจัดอยู่ในกลุ่มพืชผลไม้ 5 อันดับแรกของไต้หวัน เมื่อพิจารณาจากพื้นที่เพาะปลูก โดยมีพื้นที่เพาะปลูก 10,437 เฮกตาร์ และ มีผลผลิตรวม 70,384 ตันในปี 2024 โดยทางสถาบันสถาบันวิจัยการเกษตร กล่าวว่า "โดยทั่วไปแล้วลำไยเป็นพืช ที่ไม่ต้องดูแลมากนัก เนื่องจากมีอัตราการเจริญเติบโตและผลผลิตสูง อีกทั้งยังทนทานต่อแมลงและโรคต่างๆ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การออกดอกกลับลดลงอย่างมาก เนื่องจากรูปแบบสภาพอากาศที่ผิดปกติ และ ภาวะโลกร้อน ส่งผลให้การเก็บเกี่ยวและรายได้ของเกษตรกรลดลง เนื่องจากดอกลำไย เป็นแหล่งน้ำหวานหลักของผึ้งในช่วงฤดูใบไม้ผลิ การออกดอกที่ไม่ดีนัก จึงส่งผลให้ผลผลิตน้ำผึ้งลดลงด้วย"
สถาบันสถาบันวิจัยการเกษตร กล่าวอีกว่า "การใช้โพแทสเซียมคลอเรต เพื่อกระตุ้นการออกดอก จะช่วยเพิ่มอัตราการสร้างช่อดอก ในช่วงฤดูหนาวที่มีอากาศอบอุ่นได้ 68-80 เปอร์เซ็นต์"
เทคนิคการชักนำให้ออกดอก ได้รับการพัฒนาครั้งแรกในปี 1998 โดยนักวิจัยจากแผนกอุตสาหกรรมพืช "หยาง เจิง จั๋ว" จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติผิงตง ซึ่งเขาสังเกตว่า "ต้นลำไยใกล้วัดให้ผลมากกว่า" และ เขายังพบว่า "โพแทสเซียมคลอเรต ซึ่งเป็นสารเคมีที่พบในประทัด มีคุณสมบัติในการทำให้ดอกไม้บาน" แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในขณะนั้น วิธีการดังกล่าวไม่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในไต้หวัน เนื่องจากโพแทสเซียมคลอเรต ถูกจัดให้เป็นสารควบคุม ซึ่งจำกัดการเข้าถึงนั่นเอง...
นอกจากนี้ การประยุกต์ใช้เทคนิคดังกล่าว ในช่วงแรกให้ผลลัพธ์ที่จำกัด เนื่องจากเมื่อฉีดสารเคมีลงไปในดิน ระบบรากที่ฝังลึกของต้นลำไย จะไม่สามารถดูดซึมสารเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ เพื่อปรับปรุงความน่าเชื่อถือ ของการออกดอกของลำไยในช่วงฤดูหนาว ที่อากาศอบอุ่นมากขึ้น สถาบันได้ปรับปรุงเทคนิคของ "หยาง เจิง จั๋ว" โดยลดปริมาณโพแทสเซียมคลอเรต ที่ให้กับต้นลำไยแต่ละต้นอย่างมีนัยสำคัญ และ ใช้สารเคมีโดยตรงกับใบของต้นไม้ แทนที่จะใช้กับดิน...
"โพแทสเซียมคลอเรต" มีผลคล้ายกับผลกระทบ ของสภาพอากาศหนาวเย็น โดยไปกระตุ้นกลไกการออกดอกในต้นลำไย ซึ่งช่วยให้ผลผลิตมีเสถียรภาพมากขึ้น
การพ่นสารเคมีในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ
โดยทั่วไปแล้ว คือ ช่วงครึ่งแรกของเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งจะช่วยให้ดอกไม้บานตรงเวลา และ ให้ผลผลิตสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากฤดูหนาวที่อบอุ่น วิธีดังกล่าวยังช่วยให้ออกดอกและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้นในปีถัดไป ซึ่งช่วยให้เกษตรกรหลีกเลี่ยงภาวะล้นตลาด ในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก และ อาจช่วยเพิ่มรายได้ของพวกเขาได้
การใช้โพแทสเซียมคลอเรต เพื่อเหนี่ยวนำให้ดอกลำไย ไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อผู้ปลูกผลไม้เท่านั้น แต่ยังสนับสนุนอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งอีกด้วย เนื่องจากดอกลำไยเป็นแหล่งน้ำหวานที่สำคัญ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และ ด้วยการประยุกต์ใช้เพิ่มเติม เทคนิคนี้สามารถมีบทบาทสำคัญ ในการช่วยให้ภาคเกษตรกรรมของประเทศ ปรับตัวให้เข้ากับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้...















