รีบ...เช็คและเข้าใจสิทธิ์ประกันสังคม ของพวกเราคนทำงาน เดี๋ยวนี้
EP.1 ความสำคัญของสิทธิ์ประกันสังคม ในมาตราต่างๆ
ผู้เขียน ยอมรับว่า อยู่ในกลุ่มยุค90 ผ่านร้อน ผ่านหนาวมาก็มากมาย สังคมที่เอารัดเอาเปรียบ แก่งแย่งกัน ก็เคยเจอ ผู้เขียนไม่สนใจเท่าไหร่ รู้แต่ว่า ทำตัวเองให้ดีดูแลปุพการีอย่าได้ขาด เท่านี้ก็น่าจะพอ
นี่สินะ จึงเป็นสาเหตุที่ให้ผู้เขียนพลาดโอกาสดีๆ สิทธิ์ที่ควรได้ ไป
จน มาพบกับแรงกระตุ้นที่ปลุกความต้องการให้เรียกร้องสิทธิ์ของตนที่พึงจะได้รับ
เพราะพวกเขา...
คนเรา มีทั้ง ดี-ไม่ดี อยู่ในตัวด้วยกันทั้งนั้น ฉนั้น เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้.... กรุณาอย่าดราม่ากันเด้อ
ไม่ได้อวย จนออกนอกหน้า เค้าทำดี ก็ว่าดี จ้า
สิทธิ์นั้นคือ สิทธิ์ประกันสังคม เอาเป็นว่าเป็นประเด็นไม่แพ้ คดีผู้กำกับรายหนึ่งราย ผู้เขียนติดตามทั้ง 2 เรื่อง
แต่จะให้ความสำคัญ กับสิทธิ์ของตัวเองที่ควรจะได้รับ
อันนี้ฝากแชร์ ไปยังผู้ร่วมอุดมการณ์เดียวกันกับผู้เขียนทุกๆท่าน นะคร้าบ ว่าความหมายในแต่ละสิทธิ์ เป็นอย่างไร มาดูกันเล้ย
1. สิทธิรักษาพยาบาล (มาตรา 33, 39, 40)
- เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่เลือกไว้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าผ่าตัด
- กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้ที่สุดได้ก่อน
ผู้เขียน ตอนนี้ใช้สิทธิมาตรา 33 จ้า
2. สิทธิเงินทดแทนกรณีเจ็บป่วย
- หากป่วยและต้องหยุดงาน มีสิทธิ์รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย นานสูงสุด 90 วัน/ปี
ผู้เขียน ยังไม่เคยใช้จ้า
3. สิทธิกรณีคลอดบุตร
ผู้เขียนได้สร้อยคอทองคำ หนัก 1 บาท ไว้เป็นสมบัติของลูกจ้า
4. สิทธิกรณีสงเคราะห์บุตร
5. สิทธิกรณีว่างงาน (เฉพาะมาตรา 33) อันนี้ผู้เขียนเคยใช้บริการแล้วจ้า ลาออกไปนอนเล่น 2-3 เดือน
6. สิทธิกรณีทุพพลภาพ- เสียชีวิต7. สิทธิกรณีบำนาญชราภาพ
- หากจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงิน บำนาญรายเดือน เย้ เย้ ผู้เขียน จ่ายมา 220 งวด แล้ว
- หากจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นก้อนซึ่งจะได้คืนเฉพาะเงินที่ผู้ประกันตนจ่ายไป + ดอกผล
📌 สรุปง่ายๆ
- จ่าย ครบ 180 เดือน → ได้บำนาญตลอดชีวิต
- จ่าย เกิน 180 เดือน → ได้เพิ่ม 1.5% ต่อปี
- จ่าย ไม่ถึง 180 เดือน → ได้คืนเป็นเงินก้อน
💡 แนะนำ: ถ้าจ่ายใกล้ครบ 180 เดือน ควรจ่ายให้ครบเพื่อรับบำนาญตลอดชีวิต 😊
📌 กรณีที่ทำให้สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
1️⃣ ลาออกจากงาน หรือถูกเลิกจ้าง
- เมื่อลูกจ้างลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง นายจ้างจะต้องแจ้งสำนักงานประกันสังคมภายใน 15 วัน
- เมื่อแจ้งแล้ว สถานะ ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะสิ้นสุดทันที
2️⃣ นายจ้างปิดกิจการ หรือเลิกจ้างงานทั้งหมด
- หากบริษัทปิดตัวลง หรือมีการเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดโดยไม่มีการส่งเงินสมทบต่อ
- ผู้ประกันตนจะสิ้นสุดสถานะ ม.33 อัตโนมัติ
3️⃣ ถึงแก่ความตาย
- หากผู้ประกันตนเสียชีวิต สถานะ ม.33 จะสิ้นสุดลงทันที
- ทายาทสามารถยื่นขอรับเงินชราภาพหรือเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตได้
4️⃣ อายุครบ 55 ปี และขอรับเงินบำนาญชราภาพ
- หากอายุครบ 55 ปี และไม่ได้ทำงานต่อ สถานะผู้ประกันตน ม.33 จะสิ้นสุดลง
- หากยังทำงานอยู่ต่อไปแม้จะอายุเกิน 55 ปี ยังสามารถเป็นผู้ประกันตน ม.33 ได้จนกว่าจะลาออก
📌 ผลกระทบเมื่อสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
✅ ไม่มีสิทธิ์ใช้สิทธิประกันสังคม ม.33 ต่อ เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชยว่างงาน ฯลฯ
✅ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ ภายใน 6 เดือน หลังจากสิ้นสุด ม.33 (หากเคยส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน)
✅ หากไม่สมัครมาตรา 39 ยังสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้📌 สรุปง่ายๆ
- ถ้าลาออกจากงาน หรือถูกเลิกจ้าง → สิ้นสุดสถานะ ม.33
- ถ้าต้องการรักษาสิทธิ์ต่อ → สมัครเป็น ม.39 ภายใน 6 เดือน
- ถ้าไม่สมัคร ม.39 → สามารถเลือกเป็น ม.40 ได้
🔹 กรณีที่ : ส่งมาตรา 33 จนอายุครบ 50 ปี แล้วลาออก ไม่สมัคร มาตรา 33 คิดเงินบำนาญได้ดังนี้ แต่ต้องรอให้อายุครบ 55 ปี เสียก่อนจึงจะใช้บำนาญ ได้
- ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายตอนอยู่ ม.33 → สูงสุดที่ 15,000 บาท
- จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 25 ปี (300 เดือน) → เกิน 180 เดือนมา 10 ปี จะคิด+เพิ่ม 1.5 %
สูตรคำนวณบำนาญ บำนาญ=20%ของค่าจ้างเฉลี่ย+(1.5% x ปีที่จ่ายเกิน 180 เดือน)
บำนาญ = 20 % หารด้วยของค่าจ้างเฉลี่ย + (1.5% x ปีที่จ่ายเกิน 180 เดือน)จ่ายเกิน180เดือน)
=(20% × 15,000) = 3,000 +(1.5%×10×15,000) =2,250
=3,000 +2,250
= 5,250
✅ เงินบำนาญชราภาพที่ได้รับ = 5,250 บาท/เดือน
เพื่อน ๆ งงมั๊ย ค่อยๆ คิดตามน้า ไม่ยากเลยจ้า
ชอบ ม๊า ชอบ ม๊า ถ้าชอบ รออ่าน EP ต่อไป น้า วันนี้ บะ บาย ละ จ้า - ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายตอนอยู่ ม.33 → สูงสุดที่ 15,000 บาท
อ้างอิงจาก: https://www.thaipbs.or.th/news/content/350073
https://www.hfocus.org/content/2025/03/33388























