"รถอีวี" ประหยัดค่าเชื้อเพลิง แต่เปลือง....เอ๊ะยังไง!!!!
"รถอีวี" ประหยัดค่าเชื้อเพลิง แต่เปลืองทางอ้อม...เอ๊ะยังไง!!!!!!!!!
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้า (EV) นั้นถือเป็นสิ่งที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากเป็นรถที่มีการออกแบบให้ใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน แทนรถยนต์สันดาปที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง อย่างเครื่องยนต์ดีเซล หรือเครื่องยนต์เบนซิน สำหรับรถไฟฟ้านั้นจะทำงานโดยการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ซึ่งรถไฟฟ้าแต่ละรุ่นก็จะมีขนาดของมอเตอร์ที่ต่างกันออกไป
บางรุ่นมีหนึ่งมอเตอร์ แต่บางรุ่นก็มีสองมอเตอร์ เพื่อให้รถสามารถขับขี่ได้อย่างมีประสิทภาพมากขึ้น พลังงานที่ได้ก็จะมาจากการชาร์จไฟ ซึ่งมีทั้งจากไฟบ้าน และสถานีชาร์จ แล้วนำพลังงานไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ เพื่อแปลงพลังงานที่เก็บไว้ไปใช้ให้รถขับเคลื่อนไปได้ ในปัจจุบันนั้นรถไฟฟ้า EV นั้นสามารแบ่งได้ 3 ประเภทคือ 1.รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid electric vehicle : HEV) 2.รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle : PHEV) และ3.รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) ซึ่งการใช้รถ EV ก็จะมีข้อดีข้อเสียรถยนต์ไฟฟ้าดังนี้
ทั้งนี้ ข้อดีของรถ EV หลัก ๆ คือเป็นรถที่ไม่สร้างมลพิษให้กับอากาศ โดยเฉพาะในส่วนของค่าเชื้อเพลิงที่มีราคาที่ถูกกว่าน้ำมัน จึงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงลงไปได้ ไม่ต้องมีการบำรุงรักษาที่ยุ่งยาก และบ่อยเท่ารถแบบสันดาป ช่วยลดมลพิษทางเสียง เพราะเครื่องยนต์มีความเงียบ ไม่เสียดังรบกวนประหยัดเวลาในการต่อคิวเติมน้ำมัน เพราะสามารถชาร์จไฟที่บ้านได้
ทว่าในแง่ข้อเสียของ รถ EV ที่หลายคนยังไม่พูดถึงนั่นคือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรอชาร์ไฟฟ้าของ EV ซึ่งโดยปกติแล้วค่าเฉลี่ยในการชาร์ทไฟฟ้าของ EV จะใช้เวลาอยู่ที่ประมาณ 35-45 นาที (บนพื้นฐานการชาร์ให้แบตรถ EV อยู่ที่ราว 60-80% ขึ้นอยู่กับขนาดความจุแบตและความาสามารถในชาร์ทที่เร็วแตกต่างกันไป)
แต่ในความเป็นจริงแล้วจากประสบการณ์ของผู้เขียนนั้นปัจจุบันแท่นชาร์ทบนเส้นทางหลักส่วนใหญ่ล้วนมีคิวที่ต้องรอ เบาสุด 1 คิว กลางๆ อยู่ที่ 2-3 คิว ซึ่งจำนวนระยะเวลาที่รอชาร์ทที่นานขึ้นเป็น 2-3 ชั่วโมงนั้นทำให้จำเป็นต้องหาร้านนั่งรับประทานอาหารหรือกาแฟ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีก 200-300 บาทต่อราย และหากเดินทาง 4 คน ค่าใช้จ่ายรวมระหว่างรอ 1 ครั้งอาจจะสูงถึง 1,000 บาท กรณีรอนาน อาทิ ค่ากาแฟ, ค่าอาหาร, ฯลฯ เพราะในบางร้านการนั่งแช่นานๆ อาจจะไม่สามารถทำได้
ดังนั้นเมื่อคำนวณระยะทางหากเดินทางระยะไกลประมาณ 400 กม. กรณีเป็นรถน้ำมันอัตราบริโภคอยู่ที่ 4 บาทต่อกิโลเมตรต่อลิตร =ค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงทางประมาณ 1,600 บาท (แวะแค่เข้าห้องน้ำ เพราะน้ำมัน 1 ถังเพียงพอ)
ขณะที่เป็น รถ EV นั้นจำเป็นต้องแวะชาร์ท 1-2 ครั้งเพื่อความชัวร์!! ซึ่งค่าชาร์ทจะอยู่ที่ 500-600 บาท แต่หากมีคิวชาร์ท 2-3 คิว จะมีระยะเวลาเพิ่มประมาณ 1-2 ชั่วโมง (กรณีเดินทาง 4 คน ค่าใช้จ่ายรวมระหว่างรอ 1 ครั้งอาจจะสูงถึง 1,000 บาท กรณีรอนาน อาทิ ค่ากาแฟ, ค่าอาหาร, ฯลฯ เพราะในบางร้านการนั่งแช่นานๆ อาจจะไม่สามารถทำได้) ทำให้ค่าใช้จ่ายรวมแล้วอยู่ที่ 1500-1600 บาท (ใกล้เคียงกับรถน้ำมัน) ดังนั้น ใครชอบแบบไหนก็เลือกตามอัธยาศัยนะ