ยาวอวกาศนาซาบินเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในประวัติศาสตร์
"พาร์คเกอร์ โซลาร์ โพรบ" เป็นยานสำรวจอวกาศรุ่นบุกเบิกของนาซา ซึ่งได้สร้างประวัติศาสตร์วานนี้ [ตามเวลาท้องถิ่น] หลังจากบินเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่ายานอวกาศลำอื่นๆ โดยที่โล่ป้องกันความร้อนของยาน ได้สัมผัสกับอุณหภูมิที่ร้อนจัดกว่า 930 องศาเซลเซียส
ยานอวกาศลำนี้ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคม 2018 มีภารกิจเป็นเวลา 7 ปี เพื่อเจาะลึกความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับดวงดาวของเรา และ ช่วยคาดการณ์เหตุการณ์ในอวกาศ ที่อาจส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก
การบินผ่านครั้งประวัติศาสตร์ครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อเวลา 6.53 น. [ตามเวลาท้องถิ่น] แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ของภารกิจ จะต้องรอจนถึงวันศุกร์ถึงจะได้รับการยืนยัน เนื่องจากพวกเขาสูญเสียการติดต่อกับยานเป็นเวลาหลายวัน เนื่องจากยานอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากเกินไป...
หากระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เท่ากับความยาวของสนามฟุตบอล ยานอวกาศควรจะอยู่ในกรอบ 6 หลา ในช่วงเวลาที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ซึ่งเรียกว่าจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดนั่นเอง...
นักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สร้างยานดังกล่าว กล่าวว่า "นี่คือตัวอย่างหนึ่งของภารกิจอันกล้าหาญของนาซา ที่ทำสิ่งที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน เพื่อตอบคำถามที่ค้างคาใจมานาน เกี่ยวกับจักรวาลของเรา!!" และ "เราแทบรอไม่ไหวที่จะได้รับการอัปเดตสถานะครั้งแรก จากยานอวกาศและเริ่มรับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า..."
โล่ป้องกันความร้อนมีประสิทธิภาพมาก จนอุปกรณ์ภายในของยานยังคงอยู่ที่ระดับใกล้อุณหภูมิห้อง ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 29 องศาเซลเซียส ในขณะที่ยานสำรวจชั้นบรรยากาศภายนอกของดวงอาทิตย์ ซึ่งเรียกว่า "โคโรนา" โดยตัวยานจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ประมาณ 690,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วพอที่จะบินจากกรุงวอชิงตัน เมืองหลวงของอเมริกา ไปยังกรุงโตเกียวได้ ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งนาที...
ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการภารกิจของห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ "นิค พิงกิน" จากจอห์นส์ฮอปกินส์ เมืองลอเรล รัฐแมริแลนด์ กล่าวว่า "ไม่มีวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นใดเคยบินผ่านใกล้ดวงดาวขนาดนี้" และ "เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ฟังข่าวจากยานอวกาศ เมื่อมันโคจรกลับมาที่ดวงอาทิตย์อีกครั้ง..."