อัตราการเกิดของปลาโลมาในแม่น้ำโขงพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์
กัมพูชาแสดงความเชื่อมั่นว่า ความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะช่วยให้ประชากรปลาโลมา ในแม่น้ำโขง สามารถอยู่รอดและเติบโตได้ในระยะยาว...
โดยแถลงการณ์ดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ จำนวนลูกโลมาแรกเกิดเพิ่มขึ้นเป็น 9 ตัว ภายใน 11 เดือนแรก ของปี 2024 ซึ่งถือเป็นอัตราการเกิดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2021
กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง กล่าวว่า "ลูกโลกมาตัวแรกเกิด ถูกค้นพบโดยทีมนักวิจัยจากสำนักงานการประมง ของกัมพูชา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2024 ที่สระกำพี ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านชรอยบันทาย หมู่ที่ 3 ตำบลซัมบก อำเภอเชตโบเร จังหวัดกระแจะ" และ "เรารู้สึกยินดีกับการเกิดของลูกโลมา" และ "ลูกโลมาแรกเกิดมีสุขภาพแข็งแรงดี และ เป็นส่วนหนึ่งของฝูงโลมาขนาดใหญ่ 2 ตัว นี่เป็นลูกโลมาตัวที่ 9 ที่เกิดในปี 2024 ซึ่งถือเป็นอัตราการเกิดสูงสุด นับตั้งแต่ปี 2021"
กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง กล่าวอีกว่า "รายงานในปี 2021 มีการบันทึกการเกิดของโลมา 6 ตัว แต่มีโลมาตาย 9 ตัว ในปี 2022 มีการเกิดของโลมา 6 ตัวเช่นกัน แต่มี 11 ตัวตาย ในปี 2023 มีการเกิดของโลมา 8 ตัว และ 5 ตัวตาย ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2024 มีการเกิดของโลมา 9 ตัว ในขณะที่จนถึงขณะนี้ มีการบันทึกการเสียชีวิตเพียง 3 ตัวเท่านั้น..."
นายกรัฐมนตรี "ฮุน มาเนต" แสดงความยินดีกับการพัฒนาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้จำนวนโลมาน้ำจืดของกัมพูชา เพิ่มขึ้นเป็น 105 ตัว ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2024" และ "นี่คือผลจากความพยายามทุ่มเท ของหน่วยงานและประชาชน ในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และ การปกป้องทรัพยากรน้ำ อันทรงคุณค่าของชาติ!!"