น้ำท่วมลาม 35 จังหวัด ดับแล้ว 49 ราย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานว่า "ในระหว่างวันที่ 16 ส.ค.-25 ก.ย. 2567 เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 35 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองคาย นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ บึงกาฬ หนองบัวลำภู ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง และสตูล"
รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 189 อำเภอ 833 ตำบล 4,283 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 169,548 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตรวม 49 ราย และได้รับบาดเจ็บรวม 28 คน
ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 16 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ลำปาง ลำพูน แพร่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย เลย หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ ปราจีนบุรี และพระนครศรีอยุธยา รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 54 อำเภอ 217 ตำบล 857 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,851 ครัวเรือน ดังนี้
1.เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สาย อ.เมืองฯ และ อ.เวียงป่าเป้า รวม 10 ตำบล 35 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,501 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2.เชียงใหม่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่ริม และ อ.เมืองฯ รวม 7 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,027 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
3.น่าน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.นาน้อย อ.นาหมื่น และ อ.เวียงสา รวม 9 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 96 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
4.ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อ.งาว อ.เมืองฯ อ.เกาะคา อ.ห้างฉัตร อ.แม่พริก อ.สบปราบ อ.เถิน อ.แม่เมาะ อ.วังเหนือ อ.แม่ทะ และ อ.แจ้ห่ม รวม 42 ตำบล 181 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,024 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
5.ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.ป่าซาง อ.บ้านธิ อ.ทุ่งหัวช้าง อ.แม่ทา รวม 18 ตำบล 67 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
6.แพร่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.ลอง และ อ.วังชิ้น รวม 6 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 108 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
7.เพชรบูรณ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.ชนแดน รวม 2 ตำบล 8 หมู่บ้าน ระดับน้ำทรงตัว
8.พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ และ อ.เมืองฯ รวม 7 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 576 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
9.สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.ศรีสำโรง รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ระดับน้ำทรงตัว
10.เลย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.นาด้วง และ อ.ภูเรือ รวม 4 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 136 ครัวเรือน สถานการณคลี่คลายแล้ว
11.หนองคาย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.ศรีเชียงใหม่ อ.ท่าบ่อ อ.เมืองฯ และ อ.โพนพิสัย รวม 26 ตำบล 146 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,717 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
12.อุดรธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สร้างคอม รวม 6 ตำบล 23 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 270 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
13.ขอนแก่น เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.บ้านไผ่ อ.แวงน้อย อ.แวงใหญ่ รวม 4 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 330 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
14.ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.คอนสวรรค์ รวม 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 70 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
15.ปราจีนบุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ประจันตคาม อ.นาดี อ.กบินทร์บุรี รวม 6 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 79 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
16.พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน และ อ.บางไทร รวม 67 ตำบล 287 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,917 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการ และ เครื่องจักรกลสาธารณภัย เช่น เฮลิคอปเตอร์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย KA-32 เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่างขนาด 200 KVA รถบรรทุกเล็ก รถลากเรือเคลื่อนที่เร็ว เรือท้องแบน อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่ พื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในภาคอื่นที่ไม่มีสถานการณ์ภัย เข้าร่วมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ภัย รวมถึงช่วยฟื้นฟูถนนหนทาง อาคารบ้านเรือน ในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด...