ราชกิจจานุเบกขา ประกาศใช้พรบ.เท่าเทียมแล้ว
เมื่อวันที่ 24 กันยายน ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2567 หรือกฎหมาย สมรสเท่าเทียม ซึ่งมีเนื้อหารับรองการสมรสระหว่างบุคคล โดยไม่จำกัดเฉพาะชาย-หญิง อีกต่อไป
สมรสเท่าเทียม เป็นกฎหมายซึ่งมีเนื้อหารับรอง การสมรสระหว่าง "บุคคล" โดยไม่จำกัดเพียง "ชาย-หญิง" ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ 120 วัน หลังการประกาศราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะตรงกับวันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไป กฎหมายแพ่งใหม่จึงจะมีผลใช้บังคับ สามารถไปจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งใหม่ที่รับรองสิทธิสมรสเท่าเทียม
นอกจากนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แก้ไขใหม่ สมรสเท่าเทียม ยังได้แก้ไขอายุขั้นต่ำสำหรับการหมั้นและการสมรส จาก 17 ปีบริบูรณ์ เป็น 18 ปีบริบูรณ์ และกำหนดรับรองสิทธิของคู่สมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายใหม่ มีสิทธิตามกฎหมายอื่นๆ ที่รับรองสิทธิของสามี-ภริยา ตามกฎหมายแพ่งเดิม
โดยมีเนื้อหาประกาศออกมาดังนี้
1.กำหนดให้บุคคลสองคนไม่ว่าเพศใดสามารถทำการหมั้นหรือสมรสกันได้
2.แก้ไขคำว่า “ชาย” “หญิง” “สามี” “ภริยา” และ “สามีภริยา” เป็น “บุคคล”
“ผู้หมั้น” “ผู้รับหมั้น” และ “คู่สมรส” เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมคู่หมั้นหรือคู่สมรสไม่ว่าจะมีเพศใด
3.เพิ่มเหตุเรียกค่าทดแทนและเหตุฟ้องหย่าให้ครอบคลุมกรณีที่คู่หมั้นหรือคู่สมรส
ฝ่ายหนึ่งไปมีความสัมพันธ์กับบุคลอื่นไม่ว่าจะเป็นเพศใด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1445 และมาตรา 1516 (1))
4.แก้ไขเงื่อนไขระยะเวลาการสมรสใหม่ตามมาตรา 1453 ให้ใช้เฉพาะกับกรณีที่หญิงที่มีชายเป็นคู่สมรสเดิมจะสมรสใหม่กับชายเท่านั้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1453)
5.กำหนดให้มาตรา 1504 วรรคสอง กรณีหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบตามมาตรา 1448
มีผลใช้บังคับเฉพาะกรณีการสมรสระหว่างชายหญิงเท่านั้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1504)
6.แก้ไขการอ้างอิงเลขมาตราที่บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1508 วรรคสอง)
ตามข่าวสารอื่นๆได้ที่https://page.postjung.com/as0968091729