พบไวรัส 1,700 สายพันธุ์ ในธารน้ำแข็งประเทศจีน
ทีมนักวิจัยที่นำโดยมหาวิทยาลัยโอไฮโอ ประเทศอเมริกา ได้ขุดค้นพบเศษดีเอ็นเอ ของไวรัสโบราณเกือบ 1,700 สายพันธุ์ ที่มีอายุกว่า 41,000 ปี และ รอดพ้นจากการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศครั้งใหญ่ ระดับโลกมาถึง 3 ครั้ง...
โดยทีมนักวิจัย พบเศษดีเอ็นเอเหล่านี้ อยู่ใต้ธารน้ำแข็งกลาเซียร์โรส ในเทือกเขาหิมาลัย ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของเขตปกครองตนเองทิเบต ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยพบว่าไวรัส 3 ใน 4 เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่เคยถูกค้นพบมาก่อน
ซึ่งทางนักวิจัยเตรียมศึกษาต่อ เพื่อหาสาเหตุว่าทำไมไวรัสเหล่านี้ จึงสามารถปรับตัว จนมีชีวิตรอดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศมาได้...
ทีมนักวิจัย กล่าวว่า "ก้อนน้ำแข็งที่ได้จากธารน้ำแข็งดังกล่าว เป็นทรัพยากรทางการวิจัยที่มีค่ามาก เพราะมีตัวอย่างน้อยมากในปัจจุบัน สำหรับจะใช้ตรวจสอบและวิจัย เกี่ยวกับเรื่องไวรัสและจุลินทรีย์ ซึ่งจากการตรวจสอบของนักวิจัยพบว่า "ตัวแกนน้ำแข็งที่พบไวรัสดังกล่าว อยู่ลึกลงไปในธารนำแข็งราว 1,000 ฟุต ซึ่งสามารถแบ่งช่วงของน้ำแข็งออก ได้เป็น 9 ช่วง แต่ละช่วงแสดงถึงเวลาที่แตกต่างกัน ตั้งแต่สภาพอากาศเย็น เปลี่ยนไปเป็นอุ่นกว่า 3 รอบ ในช่วงราว 160-41,000 ปีที่ผ่านมา..."
นอกจากนี้ทีมนักวิจัยยังได้สกัดดีเอ็นเอ จากแต่ละส่วนของน้ำแข็ง และ ใช้กระบวนการที่เรียกว่า "การวิเคราะห์เมตาจีโนม" เพื่อระบุสายพันธุ์ไวรัส ซึ่งได้ออกมามากถึง 1,700 สายพันธุ์...