ผู้จัดใจเสีย เมื่อเกิดวิกฤตละครไทย ในวันที่พฤติกรรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป
ผศ.ดร.ลลิตา โกศการิกา อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอส กล่าวให้ฟังว่าละครไทย แบ่งได้ 4 ยุค ดังนี้
1.ละครไทย ยุค 1.0 คือ ยุคเริ่มต้นที่สินค้าในตลาดยังมีจำนวนไม่มาก โดยมีสถานีโทรทัศน์เพียงไม่กี่ช่อง ขณะที่ผู้ชมหรือผู้บริโภคละคร มีจำนวนมากหรือเท่ากับจำนวนประชากรของประเทศ เมื่อผลิตละครออกมาโดยมีช่องทางรับชมคือโทรทัศน์ ก็สามารถตอบโจทย์ผู้ชมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ เช่น ทำละครออกมา 5 แบบก็ได้ผู้ชม 5 กลุ่ม กรณีที่ทำละครคล้ายกันก็อาจจะต้องสู้กันเล็กน้อย
2.ละครไทย ยุค 2.0 ยุคนี้ ผู้ผลิตหรือช่อง เริ่มผลิตละครได้มากขึ้น คู่แข่งมากขึ้นจึงเริ่มใช้กระบวนการขาย เพื่อขายให้ลูกค้าและแสดงจุดเด่นออกมาจูงใจผู้ชมมากขึ้น เช่น การซื้อบทละครจากผู้ประพันธ์ที่มีชื่อเสียง นักแสดงแม่เหล็ก
3.ละครไทยยุค 3.0 ยุคนี้ ยุคเริ่มเข้าสู่ทีวีดิจิทัล ผู้ผลิตละครจะเยอะมากขึ้น ขณะที่ฐานผู้ชมเท่าเดิมหรืออาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จึงทำให้ผู้ผลิตละครมีจำนวนมากและช่องทีวีมากขึ้นแต่ละช่องจึงต้องเริ่มมองหากลุ่มผู้ชมของตนเองและผลิตให้ตอบโจทย์บ้างแล้ว
4.ละครไทยยุค 4.0-5.0 ยุคนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และใกล้เคียงกัน เป็นยุคที่สตรีมมิงเริ่มเข้ามา และมีแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่สามารถรับชมความบันเทิงได้หลากหลาย ซึ่งมีข้อดีคือ ผู้ชมมีจำนวนมากขึ้น และหลากหลายมากขึ้น และเข้าถึงผู้ชมได้ทั่วโลก
ในขณะเดียวกันพี่นกหญิง (สินจัย เปล่งพานิช) ภรรยาพี่นกชาย (ฉัตรชัย เปล่งพานิช) เผยว่า "พี่นกกำลังเครียดตอนนี้อยู่ระหว่างปรับตัว ตอนนี้ไม่มีละครให้ทำเหมือนที่ผ่านมาตอนนี้ปิดบริษัทชั่วคราวทีมงานให้เขาออกเพราะดูเเลไม่ไหว ตอนนี้ยังไม่มีละครให้ผลิตน้องๆก็เข้าใจเขาอยู่กับเรามานาน พี่นกชายใจหายซึมก็ยังโอเค ยังมีทิศทางที่ให้ทำ เขายังไม่ถอดใจยังมีเสนอที่อื่นๆ เเค่ใจเสีย"
*** ละครไทยก็ต้องเปลี่ยนแปลงนะ ***
รูปภาพ : เครดิตบนภาพ