หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
News บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

รอนานมั้ย!อีก3 ปี ได้ใช้รถไฟฟ้าสายสีส้ม พร้อมภาพล่าตัวสถานีล่าสุด

เนื้อหาโดย LOVE

รถไฟฟ้าสายสีส้ม เราได้แค่เห็นภาพสถานีแต่ไร้กระบวนรถ

 

รัฐบาลเพื่อไทยเริ่มลุยต่อรถไฟฟ้าสายสีส้มหลังจากหยุดชะงักเรื่องฟ้องร้อง..

จนประชาชนที่รอใช้รถไฟฟ้าต้องรอเก้อ...

ทั้งที่การก่อสร้างเสร็จร่วมปีแล้ว...

ตอนนี้หลังจากผ่าน...เรื่องฟ้องร้องลุยกันต่อ..

ทั้งงานระบบ กระบวนรถไฟฟ้า วิ่งจากศูนย์วัฒนธรรมไป มีนบุรี. และก่อสร้างต่อไปบางขุนนนท์

กว่าจะได้ใช้ เฟส แรก อีก 3 ปี คือปี 70 ซึ่งถือว่านาน สำหรับการรอคอย....

เหตุที่นาน เพราะต้องติดตั้งงานระบบ ผลิตรถไฟฟ้า. ทดลองใช้.. กว่าได้ใช้จริง

 

ขณะนี้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)

ได้เริ่มงานในระยะ(เฟส)ที่ 1 ตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ ระหว่าง รฟม. และ BEM แล้วหลังจาก รฟม. มีหนังสือลงวันที่ 19 ก.ค.67 แจ้งให้ BEM เริ่มงาน (NTP) ตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค.67

งานระยะที่ 1 ประกอบด้วย งานติดตั้งระบบรถไฟฟ้าส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 22.5 กม. ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ 100%

และก่อสร้างส่วนตะวันตกช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 13.4 กม. พร้อมติดตั้งระบบรถไฟฟ้าส่วนตะวันตก และจัดหาขบวนรถ

ซึ่งในส่วนของขบวนรถนั้น คาดว่าจะได้ข้อสรุปบริษัทผู้ผลิตรถภายใน 2-3 เดือนนี้ พร้อมเปิดบริการส่วนตะวันออกประมาณปลายปี 70 ขณะที่ตลอดทั้งสายคาดว่าจะเปิดบริการได้ประมาณกลางปี 73

รถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก มี 17

สถานี เป็นใต้ดิน 10 สถานี และยกระดับ 7 สถานี มีการออกแบบและตกแต่งสถานีไว้อย่างสวยงามด้วยลวดลายที่สะท้อนถึงลักษณะสำคัญ ความโดดเด่น หรืออัตลักษณ์แบะเอกลักษณ์ของพื้นที่สถานีนั้นๆ

โดยการตกแต่งจะอยู่ชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสารบริเวณผนังสถานีซึ่งตั้งอยู่ในจุดที่ประชาชนต้องเดินผ่านขึ้นลงจากชั้นจำหน่ายตั๋วไปชั้นชานชาลาเป็นผนังผืนยาวที่สุดในสถานี และไม่มีส่วนใดๆ มาขวางแนวผนัง

ทั้งนี้สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ พิเศษกว่าสถานีอื่นๆ เนื่องจากมีทางรถไฟอยู่ตรงกลาง และมีชานชาลารับ 2 ฝั่ง ทำให้มีผนัง 4 แผงได้นำเสนอภาพศิลปะแบบภาพพิมพ์(Graphic Art) ที่สะท้อนถึงรูปแบบวัฒนธรรมของไทยด้านต่างๆ

แบ่งเป็น 4 หมวดหมู่ ได้แก่ ด้านการแสดงการร่ายรำ การต่อสู้ การแสดงพื้นถิ่นต่างๆ, ด้านดนตรีไทย เครื่องดนตรีไทย, ด้านการละเล่นพื้นบ้านของไทย และด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยก่อน

ส่วนสถานี รฟม. ตั้งอยู่ด้านหน้า รฟม. นำเสนอตัวตนขององค์กร ที่รับผิดชอบงานรถไฟฟ้าของประเทศเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และพัฒนาเมืองผ่านภาพเครือข่ายของรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อการเดินทาง

สถานีวัดพระราม 9 ออกแบบตกแต่งสถานีสื่อสารสัญลักษณ์ต่างๆ ที่อ้างอิงถึงวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก แนวทางตามพระราชดำริ “บวร” และคติธรรมจากพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” แสดงออกผ่านการออกแบบตกแต่งที่เรียบง่าย

สถานีรามคำแหง 12 ออกแบบในธีม “สีสันแห่งวิถีชีวิต” เพราะบริเวณรอบๆ ที่ตั้งสถานีเป็นย่านการค้า มีร้านค้า ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า และที่อยู่อาศัยหนาแน่น มีวิถีชีวิตแบบคนรุ่นใหม่ในเมือง กระตือรือร้น มีสีสัน สนุกสนาน มีชีวิตชีวาตลอดเวลา

สถานี ม.รามคำแหง ออกแบบสื่อถึงมหาวิทยาลัยรามคำแหงโดยตรง ใช้อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมาประกอบในลวดลาย อาทิ ภาพองค์พ่อขุนรามคำแหง, ภาพศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง และลายสือไท, ต้นและดอกสุพรรณิการ์ ภาพอาคารศาลาไทย และเรือสุพรรณหงส์

สถานี กกท. ตั้งอยู่หน้าการกีฬาแห่งประเทศไทย ใช้ท่าทางลักษณะของนักกีฬา และกีฬาประเภทต่างๆ เน้นความเคลื่อนไหวของเส้นสาย และลวดลาย รวมทั้งใช้สีสันเพิ่มความโดดเด่นของผนังทั้งผืนให้เป็นที่สะดุดตาต่อผู้โดยสาร

สถานีรามคำแหง 40 เน้นความสำคัญของสายน้ำที่ผูกพันกับคนในท้องที่ นำเสนอเป็นงานกราฟฟิคสะท้อนผ่านการเคลื่อนไหวของสายน้ำ และวิถีชีวิตของผู้คนในยุคสมัยต่างๆ ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

สถานีแยกลำสาลี จุดนี้เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญทั้งทางน้ำ บก และราง จึงแสดงออกถึงความเชื่อมโยงผ่านการออกแบบกราฟฟิค

ส่วนสถานีศรีบูรพา ให้ชุมชนโดยรอบสถานีมีส่วนร่วมออกแบบ ได้รับความร่วมมือจากนักเรียนในโรงเรียนบริเวณสถานีสร้างสรรค์งานศิลปะ และนำมาจัดทำเป็นผนังตกแต่งพิเศษ ทำให้เกิดความร่วมมือ และความภาคภูมิใจของชุมชนเมื่อเข้าใช้บริการ

และสถานีคลองบ้านม้า เนื่องจากที่ตั้งสถานีคือเขตสะพานสูง สื่อถึงการคมนาคมทางน้ำ สะพานที่ยกสูงขณะเดียวกันพรายน้ำที่เกิดขึ้นในคลองแสนแสบ

มีรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน คล้ายกับตราสัญลักษณ์ รฟม. จึงได้นำรูปทรงของทั้งสองมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อสื่อถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของการคมนาคมทางน้ำ และทางราง.

ใครรอใช้บ้าง!

หนึ่งในผลงานลุงตู่

ขอบคุณข้อมูลภาพ

เนื้อหาโดย: LOVE
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
LOVE's profile


โพสท์โดย: LOVE
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: LOVE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
รัฐจ่าย เช็คสิทธิผ่านเว็บ เงินดิจิทัล 10000 บาท เข้าวันไหน ทำง่ายมากนาทีระทึก! น้ำป่าซัด "บ้านห้วยหินลาด" เวียงป่าเป้า จ.เชียงรายหนอนฟัน : ตำนานพื้นบ้านและความเชื่อ เรื่องอาการปวดฟันในยุคก่อนทันตกรรมสมัยใหม่คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม Computer vision syndrome โรคยอดฮิต ของคนติดจอน้ำท่วมญี่ปุ่นสาหัส!100ชุมชนถูกตัดขาด!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
‘หมอเกศ’ สมใจ นั่ง 2 กมธ.49 นี่เล็กมั้ยครับ l8+"บุ๋ม ปนัดดา" แจงหลังดราม่า หลังกลุ่มเชียงรายถาม เงินบริจาคไปไหนหมด ยันมูลนิธิโปร่งใส ตรวจสอบได้5 วิธี สยบความหิวตอนดึก
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
แฟนคลับให้ Iphone16 Pro Max แก่ Ishowspeed แบบฟรีๆชาวเน็ตพบสาวก้มเป่าปี่แฟนกลางโรงอาหารมหาลัยผู้นำมะกันขวาง อิสราเอลและฮิซบอลเลาะห์ ทำสงครามเต็มรูปแบบเริ่มแล้ว! นิทรรศการ “ หุ่นเปรต ” งานบุญสาทรเดือนสิบ เมืองคอน
ตั้งกระทู้ใหม่