หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
News บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สมรสเท่าเทียม มิติใหม่ของโครงสร้างครอบครัวไทย

เนื้อหาโดย songintheclouds

 

        สภาผู้แทนราษฎรมีวาระผ่าน พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 1448 หรือ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว กฎหมายสมรสเท่าเทียม มีหลักการคือ การขยายสิทธิการสมรสหรือแต่งงานให้ครอบคลุมบุคคลทุกเพศ โดยแก้ไขกฎหมายแต่งงานเดิม ซึ่งก็คือประมวลกฎหมายแพ่งฯ (ป.พ.พ.) มาตรา 1448 ที่อนุญาตให้แต่เฉพาะบุคคล "เพศชาย" กับ
"เพศหญิง" จดทะเบียนสมรสได้เท่านั้น เป็นการสมรสระหว่างบุคคลกับบุคคล ตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักบุคคลจะได้รับความเท่าเทียม และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย ตามหลักความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

          สมรสเท่าเทียมคืออะไร?....สมรสเท่าเทียม คือ การสมรสของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่จำกัดเฉพาะชายและหญิงเท่านั้นแต่จะครอบคลุมทุกเพศสภาพ ทั้งเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศเพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามหลักความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยจะก่อให้เกิดสิทธิในการหมั้น การจดทะเบียนสมรส การจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส การเป็นผู้จัดการแทนในทางอาญาเช่นเดียวกับคู่สมรส การรับมรดกเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิต การรับบุตรบุญธรรม การรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม รวมทั้งได้รับสิทธิประโยชน์การเบิกจ่ายสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส เช่น การรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม และการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล
รวมถึงสิทธิอื่น ๆ ทางกฎหมายที่รับรองสิทธิของคู่สมรส

          ในระบบกฎหมายไทยนั้นได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ‘กฎหมายครอบครัว’ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อกำเนิดขึ้นของสถาบันครอบครัวโดยการสมรส ตลอดจนความสัมพันธ์ทางแพ่งระหว่างคู่สมรสและบุตร ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการสมรสเพื่อให้ทันสมัยกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา มาจากผลของกระแสการเรียกร้องให้ยุติการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เพราะเหตุแห่งเพศของคู่สมรสที่ในอดีตการสมรสเป็นเรื่องของชายกับหญิงเท่านั้น และเปิดกว้างให้การสมรสสามารถทำได้โดยบุคคลทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน การสมรสจะไม่ใช่การเข้ามารวมกันระหว่างชายกับหญิงเป็นครอบครัว และให้กำเนิดบุตรสืบเผ่าพันธุ์มนุษย์อีกต่อไป แต่เป็นการมองการสมรสในมิติใหม่ว่า หมายถึงการเข้ามารวมกันระหว่างบุคคลสองคน เพื่ออุปการะเลี้ยงดูช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน อันเป็นสภาวะของความสัมพันธ์ในการใช้ชีวิตคู่ที่อยู่เหนือปัจจัยด้านเพศของคู่สมรส ถือเป็นมิติใหม่ของครอบครัวไทยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัว

          ประเด็นการรับบุตรบุญธรรมของคู่สมรสเท่าเทียมก็มีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรครอบครัวไทย กล่าวคือ คู่สมรสตามกฎหมายสมรสเท่าเทียมก็สามารถตั้งครอบครัวและรับบุตรบุญธรรมได้ตามกฎหมายการรับบุตรบุญธรรมที่มีอยู่ การรับบุตรบุญธรรมในทางกฎหมายเป็นการที่บุคคลหนึ่งไปรับอีกบุคคลมาอุปการะเลี้ยงดูเหมือนลูกตนเอง บุคคลอีกคนจึงไม่ใช่ลูกโดยกำเนิด ผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรม จะเป็นเครือญาติกันหรือไม่ก็ได้ หรือบุตรบุญธรรมจะเป็นผู้เยาว์หรือผู้บรรลุนิติภาวะแล้วก็ได้ และอาจไม่ต้องมีสัญชาติเดียวกันกับคู่สมรสผู้รับบุญธรรมก็ได้ แต่ต้องมีสิ่งที่รับรองความเป็นบุตรบุญธรรมคือ การจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงจะมีสิทธิและหน้าที่ระหว่างกันอย่างถูกต้อง

          เมื่อจดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว อำนาจปกครองบุตรนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะอาจทำให้เกิดการฟ้องร้องกัน เมื่อมีเหตุพิพาทได้ เช่น เมื่อมีการหย่าร้างระหว่างคู่สมรส ใครจะมีอำนาจปกครอง เพราะอำนาจปกครองมีความหมายรวมหลายเรื่อง ได้แก่ การอยู่อาศัย ดูแลการศึกษา อบรมสั่งสอน หรือทำโทษตามสมควร ใช้ทำงานตามสมควร รวมถึงการจัดการทรัพย์สินของบุตร ทำให้กฎหมายต้องเข้ามารับรอง ซึ่งพ่อแม่โดยชอบด้วยกฎหมาย หมายความรวมถึงผู้รับบุตรบุญธรรมและคู่สมรสเท่านั้นมีสิทธิมีอำนาจปกครอง บุตรบุญธรรมจะมีฐานะเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม และบิดามารดาโดยกำเนิดจะไม่มีอำนาจปกครองนับแต่เวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ เมื่อเป็นเช่นนี้ บุตรบุญธรรมจึงมีสิทธิในมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม และถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย แต่พ่อหรือแม่บุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม

          ข้อสังเกตประการหนึ่งคือ โครงร้างครอบครัวในสังคมไทยจะให้ความสำคัญกับเครือญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตมากกว่าบุคคลที่ไม่ใช่สายเลือดเดียวกัน โดยการสมรสนั้นเป็นความสัมพันธ์จากการแต่งงานซึ่งเกิดจากความรักของคน 2 คน แต่ว่าความรักของคู่ชีวิตนั้นไม่ได้จีรังยั่งยืนทุกคู่ การเป็นบุตรบุญธรรมก็เช่นกัน บุตรบุญธรรมไม่ใช่บุตรในอุทร เป็นเพียงความสัมพันธ์ทางกฎหมาย สายโลหิตคือสิ่งที่เป็น
วิทยาศาตร์ DNA คือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ บุตรและทรัพย์สินจึงเป็นภาระหน้าที่สำคัญอันแท้จริงที่อาจก่อให้เกิดปัญหาทางความสัมพันธ์ในระยะยาว ดังนั้นแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าประเด็นสำคัญที่สุดของการสมรสเท่าเทียม คือ การกำหนดภาระ หน้าที่ และสิทธิตามกฎหมาย อย่างชัดเจน ที่คู่สมรสพึงมีต่อกันและกัน และพึงมีต่อบุตรโดยชอบธรรมในปกครอง

+++____________________________________________+++

เนื้อหาโดย: songintheclouds
รูปภาพ : เครดิตบนภาพ
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
songintheclouds's profile


โพสท์โดย: songintheclouds
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สาวเจ้าของสวนทุเรียนร้องสื่อ! มือมืดบุกวางยาต้นทุเรียนเสียหายทั้งสวน กว่าล้านบาทผู้บัญชาหน่วยขีปนาวุธ ของฮิซบอลเลาะห์เสียชีวิตแล้ว เมื่อเช้าวันนี้เพจดังแฉ "ตั๊ก กรกนก" แอบย้ายรถหรูกลางดึก..หลังมีข่าวโด่งดังย้อนร้อยเหตุการณ์ปอมเปอี (pompeii)ชินนารา มาดินกูโลวา: ผู้พิชิตข้อจำกัดทางกายภาพ โดยการยิงธนูด้วยเท้าปิดตำนาน นักร้องอกลูกมะพร้าว ผู้สร้างตำนานเพลงจุดเทียนเวียนวน และเพลงจดหมายรักจากเมียเช่า อันลือลั่นรถม้าที่ขุดค้นพบบริเวณ สุสานจิ๋นซี​ฮ่องเต้นักแสดงดัง แมกกี สมิธ จากเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ เสียชีวิตแล้วเปิดรายได้ แม่ตั๊ก-สามี 4 ปี 1000 ล้าน!ไมค์ ชิโนดะ Linkin park แต่งเพลงให้ลูกสาวข่าวลือเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง Jennie แห่ง BLACKPINK และ BamBam แห่ง GOT7Impostor Syndrome ภาวะด้อยค่าตนเอง คิดว่าตัวเองไม่เก่ง ด้อยประสิทธิภาพ ไร้ค่า
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เปิดรายได้ แม่ตั๊ก-สามี 4 ปี 1000 ล้าน!ปิดตำนาน นักร้องอกลูกมะพร้าว ผู้สร้างตำนานเพลงจุดเทียนเวียนวน และเพลงจดหมายรักจากเมียเช่า อันลือลั่นคลังเตรียมเปิดลงทะเบียน บัตรคนจนรอบใหม่ปีหน้า!!9 คารมจีบสาวแบบคลาสสิคหรือว่าน้ำเน่าหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
อิสราเอลถล่มเมืองหลวงเลบานอน!อาคารพินาศราบ!ท่อขี้ระเบิดในจีน พุ่งสูง 10 เมตร สาดกระจายทั่วถนนคลังเตรียมเปิดลงทะเบียน บัตรคนจนรอบใหม่ปีหน้า!!นักแสดงดัง แมกกี สมิธ จากเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ เสียชีวิตแล้ว
ตั้งกระทู้ใหม่