รู้จักเจ้าของวลี"พระเจ้าตายแล้ว"
"พระเจ้าตายแล้ว"
เป็นวลีดังที่ผู้คนต่างวิพากษ์วิจารณ์ถึงความหมายของมันจนถึงทุกวันนี้ วลีนี้กล่าวโดยนักปรัชญาชาวเยอรมันที่มีชื่อว่าฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม นีทเชอ (Friedrich Wilhelm Nietzsche) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปีค.ศ.1844-1900
แนวคิดของเขาเป็นแบบอัตถิภาวนิยม คือ แนวคิดที่พิจารณาว่าด้วยปัจเจก ตัวตน ประสบการณ์ของปัจเจกแต่ละคน
ในมุมมองของนักอัตถิภาวนิยม จุดเริ่มต้นของบุคคลหนึ่งคือ "ความทุกข์ที่มีอยู่" หรือความรู้สึกสับสนมึนงง หรือความวิตกกังวลในการเผชิญหน้ากับโลกที่ไร้ความหมาย
นักปรัชญาอัตถิภาวนิยมไม่เสนอคำสอนเพื่อการยอมรับเป็นสัจธรรมแต่เพื่อปลุกใจให้ผู้อ่านสร้างปรัชญาของตนขึ้นมาเอง มีวิธีการมองเห็นปัญหาของตนและหาคำตอบให้ตนเอง
แล้วคำว่า "พระเจ้าตายแล้ว" นีทเชอต้องการจะสื่ออะไร?
แน่นอนว่าสังคมตะวันตกสมัยก่อนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์และนับถือพระเจ้าเป็นหลัก แต่เมื่อวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมเข้ามาสังคมยุคใหม่ก็ไม่ได้ถูกขับเคลื่อนโดยหลักธรรมคำสอนอีกแล้ว แต่เป็นวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม แม้แต่ศีลธรรมก็เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
การที่เขาออกมากล่าวเช่นนี้ย่อมสะเทือนคนในสังคมเป็นอย่างมาก เนื่องจากความเชื่อในพระเจ้าและหลักคำสอนของพระองค์ถือเป็นหลักศีลธรรมทางสังคมของชาวตะวันตกมาช้านาน นีทเชอต้องการสื่อว่า "ความเชื่อในพระเจ้าของคริสเตียนนั้นเหลือเชื่อ" และ "ทุกสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นและค้ำจุนและเติบโตมาโดยความเชื่อนี้" รวมถึง "ศีลธรรมของชาวยุโรปทั้งหมด" นั้นถูกกำหนดให้ "ล่มสลาย"
คำกล่าวเต็มๆของวลีนี้มีอยู่ว่า
"พระเจ้าตายแล้ว แต่เมื่อพิจารณาจากวิถีทางของมนุษย์อาจยังคงมีถ้ำที่ยังคงอยู่เป็นเวลาหลายพันปีกว่าเงาของพระองค์จะปรากฏ และเรา — เรายังต้องพิชิตเงาของพระองค์ด้วย"
เขาต้องการพิชิตลัทธิทำลายล้าง(nihilism) โดยมีความกังวลว่าหากเราพิชิตและแทนที่ค่านิยมทั้งหมดที่ได้รับจากพระเจ้า วัฒนธรรมของตะวันตกจะก้าวถลำลึกสู่ลัทธิทำลายล้าง
ความตายของพระเจ้าหมายความว่าไม่มีการหวนกลับ นีทเชอมองว่าชาวตะวันตกต้องหาวิธีการใหม่ในการสร้างค่านิยมหรือ"การประเมินค่านิยมใหม่"ไม่เช่นนั้นในที่สุดเราก็จะร่วงลงไปสู่โลกที่ตระหนักว่าค่านิยมของเราไม่มีรากฐานและไร้ความหมายในที่สุดจนกลายเป็นคนสิ้นหวัง เฉยเมยและพูดจาถากถาง
แม้บั้นปลายชีวิตของเขาจะต้องรับการรักษาทางจิตและอยู่ในการดูแลของแม่และพี่สาว แต่เขาก็ได้ทิ้งคำถามไว้ว่า"หากไม่มีอำนาจที่แท้จริงที่ไม่มีใครโต้แย้งมาบอกเราว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร เราจะดำเนินชีวิตอย่างไร เราจะพัฒนาค่านิยมของเราได้อย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงการลื่นไถลลงสู่ความไร้ความหมายและลัทธิทำลายล้าง?"