สิงคโปร์เปลี่ยนนายกฯ ลีเซียนลุงประกาศลงจากตำแหน่ง สิ้นสุดตระกูลลีครองอำนาจ
วันที่ 15 เม.ย. 67 สำนักนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์เปิดมีแถลงการณ์ว่า นายลี เซียนลุง (Lee Hsien Loong) นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์มายาวนานกว่า 20 ปี นับแต่ปี พ.ศ. 2547 นายกฯลีประกาศจะลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 15 พ.ค. 67 นี้
โดยลีเซียนลุงจะส่งมอบตำแหน่งนายกฯให้แก่นายลอว์เรนซ์ หว่อง (Lawrence Wong)รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ซึ่งนายหว่องจะกลายเป็นนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 4 ของประเทศ มีอำนาจบริหารประเทศสิงคโปร์ต่อไป
(ซ้าย : ลีเซียนลุง) (ขวา:ลอเรนซ์หว่อง)
ลีเซียนลุง เป็นบุตรชายของ ลีกวนยู (Lee Kuan Yew) อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ ทุกคนทราบดีว่าตระกูลลีครองประเทศสิงคโปร์มายาวนานกว่า 50 ปี
(ซ้าย : ลีเซียนลุง) (ขวา:ลีกวนยู)
ถึงแม้จะมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไป แต่ทุกครั้งสมากชิกตระกูลลีก็จะได้ครองเก้าอี้ในรัฐสภาเป็นเสียงข้างมากเสมอ พรรคฝ่ายค้านจะได้ที่นั่งน้อยมาก แสดงให้เห็นถึงอำนาจบารมีของตระกูลลี
แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสิงคโปร์ภายใต้การนำของตระกูลลี บริหารจนทำให้ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศพัฒนาแล้วอันดับ 1 ของอาเซียน
ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจการศึกษา สาธารณสุข คมนาคม เทคโนโลยี และการท่องเที่ยว
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสิงคโปร์ สมัยรัฐบาลนายกฯลีเซียนลุง มีความสัมพันธ์อันดีกันมาอย่างยาวนาน ทั้งระดับประมุข รัฐบาลและภาคประชาชน โดยเฉพาะ ด้านเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ดำเนินไปในลักษณะทวิภาคี
(ซ้าย : ลีเซียนลุง) (ขวา:ในหลวงรัชกาลที่ 9)
ลีเซียนลุง สักการะพระบรมศพในหลวงร.9
(ซ้าย : สมเด็จพระเทพฯ) (กลาง : เชฟฮุน) (ขวา:ลีเซียนลุง)
(ซ้าย :พระองค์ภา) (ขวา:ลีเซียนลุง)
(ซ้าย :พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯไทย คนที่ 29) (ขวา:ลีเซียนลุง)
(ซ้าย :นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯไทย คนที่ 30) (ขวา:ลีเซียนลุง)
ลีเซียนลุงแสดงความยินดีความสำเร็จภารกิจกู้ภัยถ้ำหลวง
นายหว่องได้รับเสียงสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคกิจประชาชน (People's Action Party)
สำหรับประเทศไทยแล้ว ก็ต้องติดตามต่อไปว่าทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสิงคโปร์ จะดำเนินต่อไปในลักษณะใด การเป็นผู้นำของนายหว่อง จะมีผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างต่อประเทศไทยและสากลโลก
รูปภาพ : เครดิตบนภาพ